เตือนภัย! “แผลเรื้อรัง” อย่าวางใจ อาจเป็นสัญญาณอันตรายโรคร้าย

เตือนภัย! “แผลเรื้อรัง” อย่าวางใจ อาจเป็นสัญญาณอันตรายโรคร้าย

เตือนภัย! “แผลเรื้อรัง” อย่าวางใจ อาจเป็นสัญญาณอันตรายโรคร้าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แผลเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคที่คุณเป็นอยู่ หรือคุณอาจจะเป็นโดยไม่รู้ตัว

อ. นพ.พสุ พรหมนิยม แพทย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า แผลเรื้อรัง คือ แผลที่อยู่ในภาวะอักเสบไม่หายภายในระยะเวลาปกติ โดยส่วนใหญ่มักเป็นนาน 6 สัปดาห์

สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง

  • โรคเบาหวาน
  • แผลกดทับในผู้ป่วยนอนติดเตียง
  • อุบัติเหตุที่ไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลให้ดี
  • โรคบางอย่างที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน
  • โรคมะเร็งผิวหนัง
  • ความผิดปกติของหลอดเลือดดำ

อันตรายจากแผลเรื้อรัง

  • ผู้ป่วยเจ็บและทรมานจากบาดแผล
  • เกิดติดเชื้อซ้ำ
  • เนื้อเยื่อตาย อาจร้ายแรงจนจำเป็นต้องตัดอวัยวะ
  • แผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด อาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

วิธีดูแลรักษาแผลเรื้อรัง

ข้อมูลจาก คลินิกศัลยกรรมอาคาร 2 โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ระบุวิธีดูแลแผลเรื้อรังเอาไว้ดังนี้

  1. หมั่นทำความสะอาดแผลให้ปราศจากเชื้อโรคด้วยการล้างแผลด้วยสบู่ น้ำอุ่นหรือน้ำเกลือ ทำความสะอาดแผลวันละ 2-4 ครั้ง หลังจากนั้นต้องเช็ดให้แห้งทุกครั้ง และควรเบามือในการทำความสะอาดแต่ละครั้งให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้แผลได้รับการกระทบกระเทือน
  2. ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาด เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายกับแผลได้
  3. หลังจากทำความสะอาดแผลแล้ว ควรเช็ดให้แห้งสนิทและใส่ยาฆ่าเชื้อ เพื่อทำลายเชื้อที่อันตรายกับเซลล์ ที่เป็นต้นเหตุให้แผลหายช้า ปิดแผลให้แห้งด้วยผ้าปิดแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
  4. ระวังอย่าให้แผลโดนน้ำ
  5. หมั่นสังเกตความผิดปกติของแผลอยู่เสมอ ถ้ามีอาการปวด บวมแดง มีน้ำเหลือง ก็ไม่ควรรีรอที่จะไปพบแพทย์โดยด่วน เผื่อเกิดการติดเชื้อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที
  6. อย่าปล่อยให้แผลถูกกดทับนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง และหากมีแผลกดทับบริเวณไหนก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และควรเช็ดทำความสะอาดแผลกดทับด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำเกลือ นอร์มัลซาไลน์ และปิดแผลให้แห้งสนิทด้วยผ้าปิดแผลที่ฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น ไม่ใช้พลาสเตอร์ปิดที่แผลโดยตรง
  7. คอยระวังทำความสะอาดแผลมีหนองให้ดี เพราะแผลมีหนองแบบนี้จะมีโอกาสติดเชื้อสูง หากพบแผลมีหนองให้ใช้ผ้าก๊อซอุดแผลเพื่อซับหนองออกจากแผลให้หมด เพื่อไม่ให้แผลลุกลามมากขึ้น หรือแนะนำให้ไปทำแผลที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานจะดีที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook