แผลแบบไหน ควร-ไม่ควร ปิดด้วย "พลาสเตอร์"

แผลแบบไหน ควร-ไม่ควร ปิดด้วย "พลาสเตอร์"

แผลแบบไหน ควร-ไม่ควร ปิดด้วย "พลาสเตอร์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“พลาสเตอร์” มีไว้ใช้ปิดบาดแผลไม่ให้โดนสิ่งสกปรกด้านนอกที่จะทำให้แผลติดเชื้อได้ และเอาไว้ปฐมพยาบาลบาดแผลบางประเภทอย่างเร่งด่วน เช่น ของมีคมบาด หรือแผลถลอกต่างๆ

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่แผลทุกประเภทที่ควรจะใช้พลาสเตอร์ปิดแผล

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า พลาสเตอร์ปิดแผล คือ แผ่นปิดแผลที่ทำจากผ้าก๊อซที่มีแถบกาวอยู่ด้านหลัง ช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผล ทำให้แผลแห้งและสมานตัวเร็วขึ้น ช่วยกดแผลทำให้อาการปวดลดลง และช่วยป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อตามมาได้

ทำไมเป็นแผลแล้วต้องปิดพลาสเตอร์

เวลาที่เป็นแผล สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดก็คือ การติดเชื้อ การที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่รอยเปิดที่ผิวหนัง แล้วลามลงไปสู่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับแผล ทำให้แผลติดเชื้อรุนแรง มีอาการบวม มีกลิ่นเหม็น มีหนอง ดังนั้นเมื่อเป็นแผล ควรทำความสะอาดแผลให้ถูกวิธี ไม่ควรปล่อยปละละเลย 

หลังจากทำแผลเรียบร้อยแล้ว การปิดพลาสเตอร์จะช่วยป้องกันแผลจากการติดเชื้อ และช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผลได้ ควรระวังไม่ให้พลาสเตอร์ปิดแผลเปียก ถ้าพลาสเตอร์เปียก ควรรีบเปลี่ยนพลาสเตอร์ทันที และควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกวัน จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น

แผลแบบไหน ควรปิดพลาสเตอร์

แผลมีขนาดใหญ่ ควรจะเลือกใช้พลาสเตอร์ชนิดปิดแน่น หรือกึ่งปิดแน่น เพื่อคงความชุ่มชื้น

แผลขนาดกลาง หรือเป็นแผลบนฝ่ามือ หัวเข่า และบริเวณอื่นที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย ก็ควรเลือกใช้พลาสเตอร์แบบแถบกาว ซึ่งควรจะสามารถกันน้ำได้ พร้อมกับมีรูระบายอากาศด้วย เพื่อทำให้เมื่อปิดแผลแล้ว แผลจะได้สะอาด ไม่อับชื้น ไม่มีการติดเชื้อโรคที่อาจจะมากับน้ำ

แผลมีขนาดเล็ก และไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย ควรเลือกใช้พลาสเตอร์ขนาดเล็กหรือเลือกรูปแบบพลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล

เนื่องจากพลาสเตอร์มีหลายประเภทที่แตกต่างกันทั้งรูปร่างและขนาด การเลือกใช้พลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล และการศึกษาขั้นตอนการปิดพลาสเตอร์อย่างถูกต้องจะช่วยดูแลให้แผลหายเร็วขึ้นได้

แผลแบบไหน ไม่ควรปิดพลาสเตอร์

แผลมีขนาดเล็ก และไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย อาจไม่จำเป็นต้องใช้ต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลก็ได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำก่อนในช่วงแรกๆ รวมถึงแผลปิด (ไม่มีเลือดไหล แผลฟกช้ำดำเขียวทั่วไป) ก็ไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์เช่นกัน

วิธีทำแผลที่ถูกต้อง

ในกรณีที่มีแผลสดขนาดเล็ก สามารถทำแผลได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. ห้ามเลือด โดยกดแผลเพื่อห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาดนาน 5-10 นาที
  2. เมื่อเลือดหยุดไหล ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ซับแผลให้แห้งด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าก๊อซสะอาด
  3. เช็ดรอบแผลด้วยน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน, แอลกอฮอล์ หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด ระวังอย่าเช็ดที่แผล
  4. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือพลาสเตอร์ปิดแผล ระวังอย่าให้โดนน้ำ เปลี่ยนผ้าก๊อซ/พลาสเตอร์ทุกครั้งที่เปียกน้ำ หรือแผลเปียก

นอกจากการใช้พลาสเตอร์ปิดแผล การทำความสะอาดแผลและการทายาฆ่าเชื้อก่อนที่จะปิดแผลก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยการเลือกซื้อยาฆ่าเชื้อนั้นควรเลือกที่มีเลขทะเบียนตำรับยา และก่อนใช้ควรดูวันหมดอายุของยาก่อนใช้ทุกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook