ดูแล "ดวงตา" อย่างไรให้ห่างไกล "โควิด-19"

ดูแล "ดวงตา" อย่างไรให้ห่างไกล "โควิด-19"

ดูแล "ดวงตา" อย่างไรให้ห่างไกล "โควิด-19"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตาแดงหรือเยื่อบุตาอักเสบ เป็นอีกอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อติดเชื้อโควิด-19 เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ จากทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม ทำให้มีเชื้อโรคกระจายมายังเยื่อบุตา ซึ่งการรักษาทำได้โดยการประคับประคองตามอาการ การดูแลดวงตาในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย 

พญ.ธารินี เสงี่ยมพรพาณิชย์ จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตาโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้เกิดอาการทางตาได้ จากข้อมูลล่าสุดราวกลางปี 2021 พบว่ามีรายงานอาการทางตาตั้งแต่ 2-32% ของผู้ป่วย โดยพบอาการเยื่อบุตาอักเสบได้บ่อยในผู้ป่วยเด็กมากกว่าในกลุ่มผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่มีอาการที่ไม่รุนแรง มักเป็นเพียงเยื่อบุตาอักเสบคล้ายกับจากไวรัสชนิดอื่นๆ รักษาโดยการให้ยาลดอาการและประคับประคองก็จะดีขึ้น ในต่างประเทศมีบางรายงานพบผู้ป่วยที่มีการอักเสบที่ชั้นเหนือตาขาวอักเสบ ความผิดปกติที่จอตาและเส้นประสาทตาอักเสบ แต่เป็นจำนวนน้อยมากๆเมื่อเทียบส่วนใหญ่ที่มีเพียงอาการตาแดงจากเยื่อบุตาอักเสบ ซึ่งไม่มีผลรุนแรงในระยะยาว 

ดูแล "ดวงตา" อย่างไรให้ห่างไกล "โควิด-19" 

การดูแลรักษาดวงตาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ โดยสามารถลดการติดเชื้อที่ดวงตาได้ ดังนี้

  1. ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดสัมผัสดวงตา เพราะจะทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบได้
  2. ควรล้างมือบ่อยๆ เนื่องจากไวรัสสามารถติดต่อผ่านทางเดินหายใจ ทางปาก และทางตาได้
  3. การใส่แว่นสายตาแทนการใส่คอนแทคเลนส์ก็สามารถช่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนดวงตาได้อีกทางหนึ่ง แต่การใส่แว่นสายตาแบบปกติ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ ควรมีเครื่องป้องกันอื่นร่วมด้วย ควรใช้แว่นตาหรือหน้ากากพลาสติกเพื่อป้องการโดนสารคัดหลั่งต่างๆ เข้าสู่ดวงตา ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ควรเลือกให้กระชับ มีความใส คุณภาพดี ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน วัสดุที่ใช้ในการทำแว่นป้องกันหรือ Face Shield มีให้เลือกหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็น Polycarbonate แบบที่ใช้ในแว่นนิรภัย แต่อาจมีความหนาแตกต่างกันออกไป ควรพิจารณาอย่างละเอียดและเลือกใช้งานให้เหมาะสม
  4. สำหรับผู้ที่ต้องใส่คอนแทคเลนส์ในช่วงนี้ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าผู้ที่ใส่แว่นตา โดยคนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ตามปกติ แต่ควรดูแลการใส่อย่างถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการติดต่อของโรคที่ติดต่อได้จากการใส่คอนแทคเลนส์ โดยก่อนใส่คอนแทคเลนส์ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีและเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือที่สะอาดอีกครั้ง ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ให้ถูกวิธี
  5. หากป่วยเป็นไข้ มีน้ำมูก ไอ จาม ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ ในน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์กลุ่ม Hydrogen Peroxide-Based Systems ชึ่งไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยนัก
  6. สามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อโรคโควิด-19 ได้ แต่จะต้องระมัดระวังในการใช้ โดยห้ามใช้น้ำยากับดวงตาโดยตรง เนื่องจาก Hydrogen Peroxide จะทำให้เกิดการระคายเคืองตามมา จะต้องแช่ในตลับชนิดพิเศษให้ครบชั่วโมงตามคำแนะนำจึงสามารถนำคอนแทคเลนส์มาใช้ได้
  7. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด สำหรับน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์กลุ่ม Multipurpose Solution ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย และการทำความสะอาดโดย Ultrasonic Cleaners  ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ถึงความสามารถในการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 แนะนำให้ดูแลรักษาความสะอาดในการใส่คอนแทคเลนส์อย่างเคร่งครัด 

ทั้งนี้การใช้ยารักษามาลาเรีย Chloroquine, Hydroxychloroquine ที่มีรายงานการนำมารักษาโควิด-19 ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีผลกับจุดรับภาพแบบรุนแรง โดยรายงานเบื้องต้นพบว่า การใช้ยานี้ในผู้ป่วยแม้จะให้ในปริมาณมากกว่าปกติแต่ในช่วงเวลาไม่นาน เพียง 1-2 สัปดาห์ ยังไม่มีความเสี่ยง แต่ต้องติดตามผลในระยะยาว แต่ในปัจจุบันใช้น้อยลงเนื่องจากแนวทางการรักษาโควิด-19 เปลี่ยนไปตามการศึกษาใหม่ๆ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook