อายุเท่าไรก็เก็บได้ กับมาตรฐานการเก็บสเต็มเซลล์ระดับโลก จาก Medeze

อายุเท่าไรก็เก็บได้ กับมาตรฐานการเก็บสเต็มเซลล์ระดับโลก จาก Medeze

อายุเท่าไรก็เก็บได้ กับมาตรฐานการเก็บสเต็มเซลล์ระดับโลก จาก Medeze
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การนำสเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในปัจจุบันนั้นมีข้อบ่งใช้มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากในกลุ่มโรคเลือด, มะเร็งบางชนิด หรือกลุ่มโรคทางเมตาบอลิกตั้งแต่กำเนิดแล้วนั้น ยังมีการขยายขอบเขตการรักษาไปยังโรคกลุ่มเบาหวานตั้งแต่กำเนิด, ฟื้นฟูการบาดเจ็บของสมอง, โรคทางภูมิคุ้มกันหรือแม้กระทั่งโรคหัวใจ [อ้างอิง 1] ซึ่งสเต็มเซลล์ที่ใช้สำหรับเซลล์บำบัดนั้นมีที่มาได้จากหลายแหล่ง แต่ที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ, เนื้อเยื่อสายสะดือ, จากเลือดและไขกระดูก และจากเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือและเนื้อเยื่อสายสะดือนั้นมีข้อดีที่การเก็บนั้นไม่ได้มีการรบกวนทารกแรกเกิดและมารดาเนื่องจากเก็บจากรกและสายสะดือที่แยกตัวออกมาแล้ว และสภาพของเซลล์ที่เก็บนั้นอยู่ในสภาพที่อ่อนเยาว์ที่สุดที่ยังคงความสามารถในการแบ่งตัวไว้อย่างสมบูรณ์ โดยมีรายงานการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการแบ่งตัวของสเต็มเซลล์ที่ลดลงตามอายุสเต็มเซลล์ตอนที่ทำการเก็บ [อ้างอิง 2]

ธนาคารสเต็มเซลล์ในประเทศไทย

ห้องปฏิบัติการที่สามารถเก็บรักษาสเต็มเซลล์ได้นั้นมีทั้งของรัฐบาลเช่นสภากาชาดไทย [อ้างอิง 3] และของเอกชน โดยสถาบันของรัฐนั้นอาจจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน รวมถึงความเข้ากันของผู้บริจาคกับผู้รับบริจาค ซึ่งการเก็บรักษาสเต็มเซลล์ในห้องปฎิบัติการของเอกชนจะทำให้เราสามารถเข้าถึงการใช้งานได้สะดวกกว่าอีกทั้งยังเป็นการเก็บและนำสเต็มเซลล์ของผู้ฝากเองมาใช้ จึงลดความเสี่ยงเรื่องการที่ร่างกายจะไม่รับสเต็มเซลล์ที่ปลูกถ่ายเข้าไปและลดความเสี่ยงเรื่องการปนเปื้อนเชื้อต่างๆ

ปัจจัยหลัก 2 อย่างที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเก็บสเต็มเซลล์

สำหรับห้องปฏิบัติการเอกชนที่เปิดให้บริการรับฝากสเต็มเซลล์หรือธนาคารสเต็มเซลล์ (Stem Cell Banking) ในปัจจุบันนั้น จำเป็นจะต้องได้รับมาตรฐานการในการดำเนินการห้องปฏิบัติการในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและดูแลรักษาสเต็มเซลล์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์เม็ดเลือดหรือสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อ ผู้รับบริการจำเป็นจะต้องมองหาห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานในสองขั้นตอนหลักต่อไปนี้

1.ขั้นตอนการคัดแยกเซลล์

สำหรับสเต็มเซลล์เม็ดโลหิต วิธีการที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับที่สุดในโลกได้แก่การคัดแยกด้วยเครื่อง AXP (AutoXpress Platform) โดยเป็นเครื่องคัดแยกอัตโนมัติที่จะลดความผิดพลาดจากมนุษย์และยังทำงานในระบบปิดที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเซลล์และลดการปนเปื้อนจากภายนอกได้ ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีเพียงห้องปฏิบัติการของ MEDEZE เท่านั้นที่ใช้เครื่อง AXP ในการคัดแยกเซลล์ โดยเป็นเทคโนโลยีเดียวกับห้องปฏิบัติการระดับโลก เช่นคลังเลือดที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา The New York Blood Center [อ้างอิง 4] เลือกใช้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับวิธีการคัดแยกเซลล์แบบอื่นๆเช่น Hespan, Prepacyte หรือ Sepax นั้นล้วนให้อัตราการคืนสภาพเซลล์เมื่อต้องการนำมาใช้งานที่ต่ำกว่า AXP [อ้างอิง 1,5,6] ทั้งสิ้น โดยอัตราการคืนสภาพของเซลล์จากเครื่อง AXP อยู่ที่มากกว่า 95% เหนือกว่าวิธีอื่นๆ ที่อัตราการคืนสภาพของเซลล์อยู่ที่ไม่เกิน 80%

สำหรับสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อ ที่ MEDEZE นั้นจะคัดแยกสเต็มเซลล์ออกมาทันทีที่ได้รับเนื้อเยื่อด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการคัดแยกเซลล์ และทำการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนด้วยเครื่องอัตโนมัติ Quantum ที่สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ในระยะเวลาอันสั้นโดยคงความอ่อนเยาว์ของสเต็มเซลล์ไว้ได้และตรวจคุณภาพเซลล์ในระดับโครโมโซมก่อนทำการจัดเก็บ

2.ขั้นตอนการจัดเก็บ

เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากผู้รับบริการย่อมต้องการความมั่นใจจากห้องปฏิบัติการที่สามารถคงสภาพสเต็มเซลล์ได้ยาวนานและปราศจากเชื้อตลอดการจัดเก็บ โดยห้องปฏิบัติการของ MEDEZE นั้นได้มาตรฐานความสะอาดปลอดเชื้อในระดับ CleanRoom Class 100 ที่สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อระดับที่ใช้งานจริงได้ ในส่วนของการจัดเก็บนั้นใช้ระบบการแช่แข็งแบบไอระเหยไนโตรเจนอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ที่คงคุณภาพตลอดการฝากเก็บ 60 ปี ภายในห้องนิรภัยกันไฟ

ด้วยมาตรฐานต่างๆที่กล่าวมา ทำให้ MEDEZE นั้นได้รับมาตรฐานในเรื่องการคัดแยก การเก็บรักษาระยะยาว และการจัดส่งสเต็มเซลล์เม็ดเลือดจากสายสะดือในการนำไปรักษาผู้ป่วยจาก American Association of Blood Banks (AABB) รวมทั้งมาตรฐานห้องปฏิบัติการคุณภาพ National Environmental Balancing Bureau (NEBB) ของประเทศเยอรมันอีกด้วย

ทั้งนี้ใครที่สนใจก็ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ดีก่อนตัดสินใจทุกครั้งนะคะ เพราะความปลอดภัยสำคัญที่สุด

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.medezegroup.com/th/news/stem-cell-bank-standard

อ้างอิง

  1. Willert J, Purdon T, Harris D. Umbilical cord blood—Biology, banking, and therapeutic use. US Obstetrics and Gynecology. 2008;3(1):68-72.
  2. Harris DT. Stem cell banking for regenerative and personalized medicine. Biomedicines. 2014 Mar;2(1):50-79.
  3. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. การบริจาคสเต็มเซลล์. [Online]. Available at: https://blooddonationthai.com/?page_id=784. [August 2021]
  4. Cord Blood Registry. Cord Blood Registry Achieves Industry-Leading Stem Cell Recovery With New Automation Technology. [Online]. 2007. Available at: https://www.biospace.com/article/releases/-b-cord-blood-registry-b-achieves-industry-leading-stem-cell-recovery-with-new-automation-technology-/. [July 2021]
  1. Rubinstein P. Cord blood banking for clinical transplantation. Bone marrow transplantation. 2009 Nov;44(10):635-42.
  2. Basford C, Forraz N, Habibollah S, Hanger K, McGuckin CP. Umbilical cord blood processing using Prepacyte‐CB increases haematopoietic progenitor cell availability over conventional Hetastarch separation. Cell proliferation. 2009 Dec;42(6):751-61.

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook