"กระดาษทิชชู่" ใน "ห้องน้ำ" ใส่ผิดวิธีอาจเสี่ยงเชื้อโรค

"กระดาษทิชชู่" ใน "ห้องน้ำ" ใส่ผิดวิธีอาจเสี่ยงเชื้อโรค

"กระดาษทิชชู่" ใน "ห้องน้ำ" ใส่ผิดวิธีอาจเสี่ยงเชื้อโรค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่า กระดาษชำระในห้องน้ำควรใส่แบบไหนกันแน่? เชื่อว่าคำถามนี้น่าจะติดอยู่ในใจใครหลายคน และน่าจะมีการถกเถียงกันมาบ้างว่าแบบไหนถูกต้องและเหมาะกับการใช้งานมากกว่ากัน

ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว วิธีการที่ถูกต้องคือการใส่ทิชชู่โดยที่สามารถดึงกระดาษจากด้านบนได้เลย แทนที่จะใส่ทิชชู่โดยที่กระดาษอยู่ด้านล่าง หรือเป็นส่วนที่อยู่ติดกับผนังห้องน้ำ

ใส่ถูกวิธี ช่วยเรื่องสุขอนามัย

เหตุผลสำคัญที่ควรใส่ทิชชู่แบบคว่ำเพื่อให้ดึงกระดาษจากด้านบนได้เลยนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขอนามัยโดยตรง เพราะการใส่ทิชชู่โดยที่กระดาษอยู่ฝั่งเดียวกับผนังห้องน้ำ จะเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียจากในห้องน้ำไปยังที่ต่างๆ ได้

โดยจากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย University of Colorado พบว่าในห้องน้ำสาธารณะทั้งชายและหญิง มีแบคทีเรียถึง 19 กลุ่ม อยู่ตามพื้น มือจับก๊อกน้ำ อุปกรณ์ที่ใส่สบู่ล้างมือ และในห้องน้ำ ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปตามที่ต่างๆ ได้ จากการสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน  

“เชื้ออีโคไล” ตัวการ “อาหารเป็นพิษ

สำหรับแบคทีเรียที่พบได้มากในห้องน้ำสาธารณะ คือ “เชื้ออีโคไล” ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้ของทั้งคนและสัตว์ ซึ่งปนเปื้อนออกมากับอุจจาระ เมื่อมือไม่สะอาดไปสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว และไปหยิบจับอาหารเข้าปาก จึงทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้

กระดาษทิชชู่ก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้เช่นกัน เนื่องจากเวลาใช้งานต้องใช้นิ้วมือสัมผัสด้วย ดังนั้น หากใส่ทิชชู่ให้ถูกวิธีโดยให้กระดาษอยู่ด้านบน ก็จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะในระหว่างที่เราดึงทิชชู่เพื่อใช้งานนั้น จะมีเพียงนิ้วมือเท่านั้นที่สัมผัสกับกระดาษชำระ ก่อนจะทิ้งลงถังขยะ หรือทิ้งลงโถชักโครก (ในกรณีที่เป็นกระดาษที่ย่อยสลายได้ง่าย)

ในทางกลับกัน หากใส่ทิชชู่แบบหงาย ซึ่งกระดาษจะอยู่ด้านที่ติดกับผนังห้องน้ำ โอกาสที่นิ้วมือจะไปสัมผัสหรือไปโดนผนังมีความเป็นไปได้สูง นั่นหมายความว่า เราอาจทิ้งเชื้อโรคที่เป็นแบคทีเรียไว้ตามผนังได้ เมื่อมีคนมาใช้ห้องน้ำต่อ และใช้กระดาษชำระด้วย จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามผนังก่อนจะไปกับสัมผัสที่กดชักโครก ฝานั่งชักโครก และส่วนอื่นๆ ในห้องน้ำไปด้วยนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook