“ไข้ไทฟอยด์” หรือ “ไข้รากสาดน้อย” คืออะไร อันตรายแค่ไหน ?

“ไข้ไทฟอยด์” หรือ “ไข้รากสาดน้อย” คืออะไร อันตรายแค่ไหน ?

“ไข้ไทฟอยด์” หรือ “ไข้รากสาดน้อย” คืออะไร อันตรายแค่ไหน ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ที่ปนเปื้อนมากับน้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด ทำให้เกิดอาการไข้เฉียบพลัน ท้องเสียหรือท้องผูก กลุ่มเสี่ยงคือนักท่องเที่ยวในพื้นที่ระบาด หากมีไข้สูง ปวดหัว ท้องเสียหลังกลับจากท่องเที่ยวหรือไปทำงานต่างถิ่น ควรรีบพบแพทย์


ไข้ไทฟอยด์ คืออะไร ?

โรคไข้ไทฟอยด์ หรือโรคไข้รากสาดน้อย เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ที่ปนเปื้อนมากับน้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด เชื้อปนเปื้อนมากับน้ำดื่ม และอาหาร มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รับประทานอาหารในพื้นที่ที่กำลังมีเชื้อแพร่ระบาด หรือมีเชื้อโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น เช่น อินเดีย และพื้นที่ใกล้เคียง


อาการของโรคไข้ไทฟอยด์

  • มีไข้ต่ำ ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน อาจพุ่งสูงถึง 40.5 องศาเซลเซียสได้

  • ปวดศีรษะ

  • ไอแห้ง ๆ

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

  • อ่อนเพลีย เซื่องซึม

  • เหงื่อออก

  • ผื่นขึ้นท้อง หรือหน้าอก

  • ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก


อันตรายของโรคไข้ไทฟอยด์

ตามปกติแล้วผู้ป่วยโรคไข้ไทฟอยด์สามารถหายได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะจากแพทย์ แต่หากมีอาการรุนแรง หรือถึงมือแพทย์ช้า อาจเสี่ยงอาการแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร หรือลำไส้ทะลุ ไข้สูงจนเป็นพิษ จนช็อกและอาจเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ยังมีโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย เช่น

  • ปอดบวม

  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ

  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

  • ตับอ่อนอักเสบ

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • เกิดการติดเชื้อในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ

  • เกิดปัญหาทางจิต เช่น อาการเพ้อคลั่ง อาการประสาทหลอน และโรคจิตหวาดระแวง


การรักษาโรคไข้ไทฟอยด์

หากพบแพทย์แล้ว ผู้ป่วยที่อาการไม่หนักจะได้รับยาไปรับประทานที่บ้าน รายที่มีอาการหนัก เช่น ไข้สูงมาก อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียหนักมาก ฯลฯ ก็จะแนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 


การป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์

  1. หากจำเป็นต้องไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ก่อนเดินทาง

  2. ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนรับประทานอาหาร ก่อนเตรียมอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ

  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่ดูไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย

  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ดิบที่อาจสงสัยว่าล้างไม่สะอาด

  5. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

  6. ผู้ป่วยควรรีบรักษาตัวเองให้หาย รับประทานยา และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง และระมัดระวังไม่แพร่เชื้อด้วยการสัมผัส หรือเตรียมอาหารให้ผู้อื่น จนกว่าจะได้รับคำยืนยันจากแพทย์ว่าหยุดแพร่เชื้อแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook