แพทย์สหรัฐฯ สั่ง "ยาแก้ไอ-ยาแก้ไข้หวัด" น้อยลง

แพทย์สหรัฐฯ สั่ง "ยาแก้ไอ-ยาแก้ไข้หวัด" น้อยลง

แพทย์สหรัฐฯ สั่ง "ยาแก้ไอ-ยาแก้ไข้หวัด" น้อยลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การศึกษาครั้งใหม่ระบุว่า แพทย์อเมริกันแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาแก้ไอ หรือยาแก้ไข้หวัดน้อยลงกว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา


ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก็ชี้ว่าการรักษาด้วยการรับประทานยาเหล่านี้อาจไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

คำเตือนต่างๆ ที่ระบุว่าไม่ควรให้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดแก่เด็กเล็กกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นมากขึ้นในสหรัฐตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สำนักงานอาหารและยาออกคำเตือนว่าไม่ควรให้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แก่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ยาที่ขายตามเคาน์เตอร์เหล่านี้ จะถูกขายให้แก่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลคนป่วยโดยตรงโดยที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

หลังจากนั้นไม่นานบรรดาบริษัทผู้ผลิตยาได้ออกคำเตือนว่าไม่ควรให้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดแก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ขวบ ส่วนสถาบันกุมารแพทย์อเมริกันก็มีคำเตือนว่าไม่ควรให้ยาเหล่านี้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ

ทั้งนี้นักวิจัยศึกษาว่าคำเตือนเหล่านี้จะมีผลต่อการสั่งยาให้แก่ผู้ป่วยของแพทย์หรือไม่ โดยการตรวจสอบประวัติการพบแพทย์ของเด็ก ๆ และทารกจำนวน 3,100 ล้านคนในปีพ.ศ. 2545-2558

นักวิจัยพิจารณาใบสั่งยารักษาอาการไอและไข้หวัด ทั้งที่มี และไม่มี opioids และ antihistamines เป็นส่วนประกอบ และเปรียบเทียบข้อมูลของก่อนและหลังปีพ.ศ. 2551

นักวิจัยพบว่าใบสั่งยาแก้ไอและยาแก้หวัดสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบที่ไม่มีส่วนผสมของ opioid ลดลง 70% นอกจากนี้คำแนะนำการใช้ยาแก้ไอและยาแก้หวัดที่มี opioids เป็นส่วนผสมลดลง 90% ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบอีกด้วย

นายแพทย์ Daniel Horton ผู้เขียนรายงานการศึกษานี้ ซึ่งเป็นนักวิจัยที่สถาบัน Robert Rutgers Robert Wood Johnson Medical School ในรัฐ New Jersey กล่าวว่าจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแพทย์ได้ปฏิบัติตามคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการสั่งยาแก้ไอและยาแก้หวัดสำหรับเด็กเล็ก โดยสั่งยาที่มีส่วนผสมของ antihistamine แทน ซึ่งผู้ปกครองหลายๆ คนอาจพอคาดเดาได้ว่าการที่แพทย์บางคนเริ่มแนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนผสมของ antihistamines บ่อยขึ้นนั้น เพราะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดอื่นๆ แม้ว่าจะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยว่ายาเหล่านี้สามารถรักษาอาการหวัดในเด็ก ๆ ได้จริง

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัด กล่าวคือการที่นักวิจัยไม่มีข้อมูลว่าผู้ปกครองปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้หรือหลีกเลี่ยงยาเฉพาะอย่างหรือไม่ หรือการที่ไม่มีข้อมูลว่าผู้ปกครองอาจให้ยาบุตรหลานโดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือไม่

นายแพทย์ Horton กล่าวส่งท้ายว่าโดยทั่วไปแล้วโรคหวัดในเด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา เพราะเด็ก ๆ จะดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง และว่าเด็กๆ ควรไปพบแพทย์เมื่อ มีเสมหะและน้ำมูกมากเกินกว่าจะรับไหว เกิดสภาวะร่างกายขาดน้ำ มีอาการเซื่องซึม หายใจลำบาก มีไข้ติดต่อกันหลายวัน หรือมีอาการที่น่าวิตกกังวลอื่น ๆ


ผลการศึกษาวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์อยู่ในวารสาร JAMA Pediatrics

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook