"ไอเป็นเลือด" อาจเสี่ยงเกิดโรคร้ายแรง แบบไหนควรพบแพทย์?

"ไอเป็นเลือด" อาจเสี่ยงเกิดโรคร้ายแรง แบบไหนควรพบแพทย์?

"ไอเป็นเลือด" อาจเสี่ยงเกิดโรคร้ายแรง แบบไหนควรพบแพทย์?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เตือนหากมีอาการไอเป็นเลือด เลือดออกปริมาณมากเกิน 2 แก้วครึ่งต่อวันไอออกมาเป็นฟองมีเลือดเป็นลิ่มๆ ผสมกับเสมหะ ไอออกมามีเลือดสีคล้ำและมีเศษอาหารผสมคล้ายกากกาแฟ หรือไอเรื้อรังติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ทำไมเราถึงไอเป็นเลือด?

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ไอเลือดออก คือภาวะที่เกิดจากการไอแรงๆ หรือขากแรงๆ จนทำให้เส้นเลือดฝอยที่ผนังคอหอย รวมทั้งเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล ปริแตก จึงทำให้มีเลือดปนออกมากับเสมหะ ซึ่งอาการดังกล่าวไม่มีอันตรายหากหยุดไอแรงๆ หรือหยุดขากแรงๆ แต่ถ้ามีอาการไอแล้วเลือดที่ออกมาเป็นสีคล้ำดำหรือสีคล้ายเลือดหมูเก่าๆ และมักจะออกมาเป็นก้อนปนกับเสมหะหรือเป็นสีช้ำเลือดช้ำหนอง อาจเกิดจากโรคหลอดลมโป่งพอง ฝีในปอด มะเร็งปอด วัณโรค หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ และรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะทำให้รักษาหายได้เร็วยิ่งขึ้น


ไอเป็นเลือดแบบไหน ควรรีบหาหมอ?

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการไอเลือดออก ที่บ่งชี้ว่าควรรีบไปพบแพทย์ คือ

  • ไอเลือดออกปริมาณมาก เช่น ไอครั้งเดียวแล้วมีเลือดสดๆ ออกมาเกิน 1 แก้วน้ำ (ประมาณ 200 ซีซี) หรือ ใน 1 วัน ไอมีเลือดออกเกิน 2 แก้วครึ่ง (ประมาณ 600 ซีซี) และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด

  • ไอออกมาเป็นฟอง มีเลือดเป็นลิ่มๆ และมีเสมหะผสม

  • ไอเลือดออกมามีสีคล้ำ และมีเศษอาหารผสมคล้ายกากกาแฟ อาจเป็นเลือดที่มาจากทางเดินอาหารที่กำลังมีปัญหา

  • มีอาการปวดท้อง ช่วงตอนบน เหนือระดับสะดือ

  • คลื่นไส้

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

  • ถ่ายอุจจาระดำเหมือนยางมะตอยร่วมด้วย

  • ไอเรื้อรังติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป

  • เจ็บหน้าอก

  • มักมีไข้ตอนบ่าย

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

  • ผิวหนังซีดเหลือง

  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

อาการเหล่านี้ สันนิษฐานได้ว่ามีความเสี่ยงอาจจะเป็นวัณโรคปอด ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุและ รับการรักษาได้อย่างถูกต้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook