“สารระเหย” จากน้ำมัน-ทินเนอร์-แลคเกอร์-ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ เสี่ยง “สมองฝ่อถาวร”

“สารระเหย” จากน้ำมัน-ทินเนอร์-แลคเกอร์-ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ เสี่ยง “สมองฝ่อถาวร”

“สารระเหย” จากน้ำมัน-ทินเนอร์-แลคเกอร์-ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ เสี่ยง “สมองฝ่อถาวร”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลิ่นเหม็นๆ จากของเหลวอย่างน้ำมันปิโตรเลียม ทินเนอร์ แลคเกอร์ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงกาวอินทรีย์สังเคราะห์ที่มียางนิโอปรีนหรือสารกลุ่มไวนิลเป็นตัวประสาน กาวอินทรีย์ธรรมชาติที่มียางสน หรือชันสน ยางธรรมชาติหรือสารเซลลูโลส เป็นตัวประสาน ของเหลวเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเหลวที่มี “สารระเหย” เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

 

อันตรายของสารระเหย

สารระเหย คือ สารที่ได้มาจากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอ ละลายได้ดีในไขมัน ระเหยได้รวดเร็วในอากาศ

นพ.ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เมื่อสูดดมสารระเหยเข้าสู่ร่างกายจะได้รับพิษระยะเฉียบพลันทำให้ตื่นเต้น ร่าเริง มีอาการคล้ายคนเมา ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ตาไวต่อแสง หูแว่ว นอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และพิษเรื้อรัง หากเสพต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะถูกทำลาย ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น

    • โรคระบบทางเดินหายใจ

    • หลอดลมอักเสบ

    • ปอดอักเสบ

    • มะเร็งปอด

    • ไตอักเสบ

    • การทำงานของหัวใจผิดปกติ

    • มะเร็งในเม็ดเลือดขาว

    • ระบบกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันกล้ามเนื้อลีบมือสั่น การทรงตัวไม่ดี เดินเซ อาจเป็นอัมพาตที่แขนหรือขา

    • ทำลายเซลล์ประสาท ระบบประสาทและสมอง ทำให้สมองเสื่อม อาจถึงขั้นพิการทางสมอง กลายเป็นโรค“สมองฝ่อถาวร”

 

 

 

สารระเหย เสี่ยง “สมองฝ่อ” ที่ยังไม่มีวิธีรักษา

นพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า สารระเหยเป็นสิ่งเสพติดที่มีความร้ายแรงมาก เพราะเสพติดง่ายและก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะโรค “สมองฝ่อถาวร” ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์พบว่ายังไม่มียาหรือวิธีการใดๆ ที่จะสามารถรักษาโรคสมองฝ่อถาวรให้หายเป็นปกติ

 

อาการของคนเสพติดสารระเหย

ผู้ที่ติดสารระเหยเมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยาดังนี้

  • หงุดหงิด

  • ง่วงเหงาหาวนอน

  • ปวดท้อง

  • เหงื่อออกมาก

  • ปวดตามกล้ามเนื้อ

  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว

  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย คิดฟุ้งซ่าน

  • เจ็บหน้าอก

  • คลื่นไส้ และอาเจียน

 

หากผู้ที่ได้รับสารระเหยเป็นประจำมีอาการดังกล่าว ควรได้รับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูอย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการ โดยแพทย์ และทีมสหวิชาชีพด้วยการบำบัดรักษาอาการขาดยา รวมถึงภาวะแทรกซ้อนทางกายและทางจิตจนมีสุขภาพดีขึ้น และให้การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

หากประสบปัญหาเกี่ยวยาและสารเสพติดสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่นอุดรธานี สงขลา และปัตตานี รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook