แพทย์แนะ 5 วิธี ผู้สูงอายุรับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

แพทย์แนะ 5 วิธี ผู้สูงอายุรับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

แพทย์แนะ 5 วิธี ผู้สูงอายุรับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงปลายปีแบบนี้ อุณหภูมิที่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวเปลี่ยนแปลงบ่อย ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จึงส่งผล ให้ป่วยง่าย โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจอย่างโรคไข้หวัด และโรคไข้หวัดใหญ่ ยิ่งในผู้สูงอายุ ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย จึงอาจเสี่ยงเป็นโรคปอดบวม ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต 

โรคปอดบวมในผู้สูงอายุรุนแรงและน่ากลัวกว่าใน วัยอื่นๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคระบบทางเดิน หายใจเรื้อรัง หากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จะทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างยากลำบาก และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเลยก็ได้ จากสถิติพบว่า ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มีสูงถึง 50% เลยทีเดียว

โรคปอดบวม เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อราก็ได้ มักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมีเสมหะ คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยหอบ แต่ในผู้สูงอายุอาจจะแสดงอาการไม่ชัดเจน อาจมีไข้ และมีอาการซึมลงเท่านั้น จึงจำเป็นต้อง สังเกตอาการของผู้สูงอายุเป็นพิเศษ เพราะหากไม่รีบรักษาหรือร่างกายไม่แข็งแรงอาจติดเชื้อแทรกซ้อน จนเป็นอันตรายได้ หากสังเกตพบอาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ 

แม้ว่าการรักษาโรคปอดบวมจะสามารถหายได้ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อ แต่ปัจจุบันเชื้อมีการดื้อยามากขึ้น ทำให้การรักษายากและซับซ้อนขึ้น อาจไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร การดูแลตัวเองให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน เพื่อเป็นการป้องกันก่อนป่วยจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงขอแนะนำ 5 วิธี ผู้สูงอายุรับมืออากาศ เปลี่ยนแปลงบ่อย ไว้ดังนี้  

  1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง

    สร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ร่างกายอ่อนแอ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามที่ร่างกายต้องการ และดื่มน้ำให้ พอเพียง

  2. วมใส่เสื้อผ้าที่หนาเพียงพอ 

    โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนที่มีอากาศหนาวเย็น เพื่อให้ร่างกาย อบอุ่นอยู่เสมอ ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัดต้องระวังอาจเกิดภาวะอุณหภูมิของร่างกายลดลง มากผิดปกติ เนื่องจากผิวหนังของผู้สูงอายุมีความไวของประสาทรับรู้อากาศที่หนาวเย็นลดลง ร่างกายจึงไม่สามารถตอบสนองด้วยการหนาวสั่น หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เกิดความอบอุ่น ได้ดีเหมือนคนหนุ่มสาว

  3. ล้างมือเป็นประจำให้ติดเป็นนิสัย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นหวัด ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ บริเวณจมูก ปาก ตา เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่อาจปนเปื้อนอยู่ จะเป็นการแพร่กระจายเชื้อ

  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในฝูงชนที่มีการระบายอากาศไม่ดี

    เพราะอาจรับเชื้อไวรัสไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่จากผู้อื่นได้ง่าย
                                                                                                                                                                                                                                                                               
  5. ฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ในโรคที่มีวัคซีนป้องกัน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนปอดอักเสบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook