เราเลือกตายได้ไหม!!

เราเลือกตายได้ไหม!!

เราเลือกตายได้ไหม!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บทความนี้มาจาก คอลัมน์มาเป็นหมอกันเถิด โดย น.พ. สันต์ หัตถีรัตน์ นิตยสารหมอชาวบ้าน

ตัวอยางผูป่วยรายที่ 114 

เป็นหญิงไทยม่าย อายุ ๗๐ ปี เป็นคุณแม่ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน เหมะจุฆา ซึ่งท่านเล่าการเจ็บป่วย ของคุณแม่ไว้ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ต่อจากเรื่องการป่วยของคุณพ่อไว้ดังนี้ จากพ่อป่วย มาถงแม่ซึ่งสูบบุหรี่ตั้งแต่สาว สมัยนั้นคงจัดได้ว่าเปรี้ยว แม่หยุดสูบเมื่ออายุ ๖๐ ปี โดยสูบแต่ละวันประมาณ ๓-๕ มวน อาการมาโผล่ก็ เมื่อ ๑๐ ปีต่อมา โดยเริ่มปรากฎอาการของโรคปอด เรื้อรัง ถุงลมโป่ง หลอดลมตีบ จากกระฉับกระเฉงก็มีอาการเหนื่อยเวลาเดินไกล ต้องพักเป็นระยะ จนต้องมาอยู่เฉยๆ ก็ยังแย่ เปนมากขึ้นจนต้องมีออกซิเจนประจำาบ้าน โชคดีที่มีบริษัททำาเครื่องอัตโนมัติเสียบปลั๊กแล้วปล่อยออกซิเจนได้ ไม่ต้องมีแท็งก์เหล็กกองอยู่ที่บ้าน อาการเลวลงจนในที่สุดหายใจไม่ได้เหมือนจมน้ำ

แม่ยืนยันเป็น ๑๐ ครั้งว่าไม่ต้องการใส่เครื่อง นอนแช่อยูบนเตียงเหมือนพอที่ดูแลมา ๙ ป แตถึงเวลานั้น ที่ยืนดูแมตนเอง และถามแมวาจะตองการใหสบายโดยใหยานอนหลับไหม แมตอบวาทำอยางไรก็ไดใหหายใจได และโดยที่ครั้งนี้เปนครั้งแรกจึงไดสอดทอและใสเครื่องชวยหายใจ แมติดอยูกับเครื่องเปนเวลานาน จนตองเจาะคอในที่สุด และลงเอยกลับมาที่บาน แตก็เขา ออกโรงพยาบาล เพราะติดเชื้อในปอดบาง ระบบอื่น บาง แตก็ยังคงพอมีความสุขเจอลูกหลานได เลยมาไดอีก ๒-๓ ป มีอาการหอบเหนื่อย หายใจไมได เลยเปนสัญญาณสุดทาย และเปนสิ่งที่แมยืนยันและตกลงแลวเมื่อถึงไอซียู แมหอบตลอดเวลา หมอที่ดูแลแมประจำมองหนากัน รวมทั้งหมอ ภรรยา และลูกหมออีก ๒ คน ตกลงจะใหมอฟีนหรือยานอนหลับ ใหทานสบาย ไมทรมาน ตามที่แมตองการหรือตามที่แมย้้ำ แตแมบอกวาแมอยากอยู และคงอยูในไอซียูอีกเกือบ ๕ ปี ด้วยเครื่องช่วยหายใจตลอด ๒๔ ชั่วโมงได้อาหารทางสายยาง แต่รู้ตัวดีตลอด

หมอไม่กล้าขอให้แม่ไปอยู่ รพ.จุฬาฯ เพราะรู้อยู่เต็มอกว่าจะไปกินที่คนอื่นที่มีโอกาสหายและไม่เป็นโรคเรื้อรังแบบแม่ ค่าใช้จ่ายแม่ถึงจะเบิกจ่ายราชการได้ ก็ยังต้องเสียเพิ่มในจํานวนมากกว่าเงินเดือนที่หมอได้จากราชการ และเปนสิ่งที่หมอภาคภูมิใจว่าทําไมต้องมีคลินิกส่วนตัว ถ้าเปนประชาชนทั่วไปล่ะครับเราทุกคนคงคุ้นกับสิ่งที่ได้ยินว่า ต้องขายบ้าน กู้หนี้ยืมสิน เพื่อระยะสุดท้ายของชีวิตจากตัวอย่างข้างต้น

จะเห็นได้ว่า มีเรื่องต้องตัดสินใจมากมายในช่วงเวลาวิกฤตพริบตาขณะนั้น ขณะที่คนไข้หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ หรือมีแขนขาอัมพาต อ่อนแรง ไม่รู้ตัว จะมีช่วงเวลาแคบๆ น้อยนิดที่แพทย์อาจจะทำาการช่วยเหลือให้กลับคืนมาได้ส่วนหนึ่งคนไข้ฟนคืนชีวิต หรือไม่เป็นอัมพาต แต่มีอีกส่วนที่ทำาไม่สำเร็จ และตกเป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้ว่าเป็น“ภาระ” ของครอบครัวและสังคมในช่วงเวลานั้น อาจจะเป็นการยากที่จะอธิบายให้ญาติรับรู้และเข้าใจถึงกระบวนการและผลในขั้นสุดท้าย แต่ต้องให้การรักษาไปเลย และกลับเป็นคำาถามคาใจในกรณีที่ทำไม่สำเร็จว่า ทำไมต้องทำจนกลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงนิทราไปได้...”

ในกรณีของคุณแม่อาจารย์หมอธีระวัฒน์ ผู้เขียนเห็นว่า ผู้ป่วยได้เลือก “วิธีตาย” ของตนโดยตลอด แม้การเลือกนั้นจะกลับไปกลับมา โดยในช่วงแรก แม้จะยืนยันเป็น ๑๐ ครั้งว่า ว่าไม่ต้องการใส่เครื่อง ไม่ต้องการนอนแช่อยู่บนเตียงเหมือนพ่อ แต่ขณะที่หายใจไม่ได้ดี และลูกถามว่าจะให้ยานอนหลับให้สบายจะเอาไหม กลับเปลี่ยนใจขอให้ช่วยให้หายใจได้จึงได้รับการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งนำไปสู่การเจาะคอและอื่นๆจนในที่สุดต้องอยู่ในไอซียู ใน ๕ ปีสุดท้ายของชีวิต และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา เพราะผู้ป่วยอยากมีชีวิตอยู่ แม้จะต้องทนทุกข์ทรมานเพียงใดก็ตาม ลูกหลานและแพทย์ผู้ดูแลจึง “ยื้อ” ไว้ตามความประสงค์ของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม การ “ยื้อ” การตายของผู้ป่วยที่ไม่อาจจะเยียวยารักษาให้มีคุณภาพชีวิตพอสมควรแก่อัตภาพได้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วย ผู้ดูแล (ยกเว้นผู้ที่ได้รับสินจ้างรางวัลจากการดูแลนั้น) และสังคมแล้ว ยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำากัดของประเทศ ทั้งทรัพยากรบุคคล เวชภัณฑ์และอื่นๆ ไปอย่างไม่คุ้มค่าอีกด้วย

แพทย์ ผู้ที่จะเป็นแพทย์ บุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ และประชาชนทั่วไป จะต้องตระหนักถึงความจริงดังกล่าว และร่วมกันพิจารณาหาวิธีการที่จะ “ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น” เพื่อให้สามารถลดช่องว่างในการดูแลรักษาคนรวยกับคนจน คนมีอำนาจวาสนากับคนไม่มีอำนาจวาสนา ลงได้บ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook