กันไว้ดีกว่าแก้! กรมวิทย์ฯ แนะบริโภคอาหารอย่างระวังแม้เสี่ยงสารชีวพิษต่ำ

กันไว้ดีกว่าแก้! กรมวิทย์ฯ แนะบริโภคอาหารอย่างระวังแม้เสี่ยงสารชีวพิษต่ำ

กันไว้ดีกว่าแก้! กรมวิทย์ฯ แนะบริโภคอาหารอย่างระวังแม้เสี่ยงสารชีวพิษต่ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

         นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สารชีวพิษ (Biotoxin) คือสารพิษที่เกิดในสิ่งมีชีวิต อาทิ สัตว์ พืช จุลินทรีย์ ที่คุกคามต่อสุขภาพของคนและสัตว์ เช่น สารเทโทรโดท็อกซินในปลาปักเป้าหรือคางคก สารไรซินจากเมล็ดละหุ่ง หรือสารอฟลาท็อกซินจากเชื้อรากลุ่มแอสเพอร์จิลลัสที่พบในถั่ว
         การออกฤทธิ์มีทั้งที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ระบบเลือด หรือแม้แต่ระดับเซล สามารถรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายหลายทาง เช่น การกิน การสูดดม ถูกสัตว์มีพิษต่อยหรือได้รับสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เฝ้าระวังอันตรายจากสารชีวพิษในอาหารมา อย่างต่อเนื่องด้วยการตรวจเชื้อโรคอาหารเป็นพิษและตรวจสารชีวพิษในอาหารและ เครื่องดื่ม พบว่าผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากสารชีวพิษต่ำ

          อย่างไรก็ ตาม ผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ไม่มีเชื้อรา ไม่ซื้ออาหารมาเก็บไว้เป็นเวลานาน เก็บอาหารไว้ในตู้เย็นหรือในสภาพที่มีความชื้นต่ำ และไม่ควรบริโภคอาหารชนิดเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดี  หากเกิดอาการผิดปกติหลังจากรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มควรไปพบแพทย์และ แจ้งให้แพทย์ทราบว่ารับประทานอะไรมา โดยเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทานไปด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook