"ลิ้นหัวใจเสื่อม" ในผู้สูงวัย รักษาได้ด้วยเทคนิค TAVI ผ่าตัดแผลเล็ก

"ลิ้นหัวใจเสื่อม" ในผู้สูงวัย รักษาได้ด้วยเทคนิค TAVI ผ่าตัดแผลเล็ก

"ลิ้นหัวใจเสื่อม" ในผู้สูงวัย รักษาได้ด้วยเทคนิค TAVI ผ่าตัดแผลเล็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความผิดปกติของลิ้นหัวใจเอออร์ติคมักพบในผู้สูงอายุ ที่มีความเสื่อมตามวัย เช่น ลิ้นหัวใจแข็งไม่ยืดหยุ่น มีไขมัน หินปูนเกาะทำให้หัวใจเปิดหรือปิดไม่สนิท ส่งผลให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบ เกิดอาการเหนื่อยง่าย  หน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ เจ็บหน้าอก อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์

โรคลิ้นหัวใจเสื่อม เกิดจากอะไร?

นพ. อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมตามวัย เมื่ออายุมากขึ้นลิ้นหัวใจจะเริ่มแข็งตัวเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือด ผนังหัวใจหนาตัวซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้

 

ผู้สูงอายุ รักษาด้วยวิธีผ่าตัด TAVI

โดยเฉลี่ยประมาณ 3% ของคนไข้ที่มีอายุ 80ปี จะเริ่มมีลิ้นหัวใจผิดปกติทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ตามสถิติผู้ชายมักจะเป็นมากกว่า 60% ผู้หญิง 40% หากคนไข้มีอายุ 80 ปีขึ้นไป และสภาพร่างกายไม่แข็งแรงพอที่ใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอกเพราะฟื้นตัวช้า แพทย์จะใช้เทคนิค TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implanation) ซึ่งเริ่มจากประเทศฝรั่งเศส หรือเรียกอีกแบบว่า TAVR (Transcatheter Aortic  Valve Replacement) จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยสายสวน โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่เหมาะกับคนไข้ที่มีลิ้นหัวใจกั้นระหว่างหัวใจช่องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่หรือที่เรียกว่า ลิ้นหัวใจเอออติก (Aortic Valve)

 

ข้อดีของการผ่าตัดแบบ TAVI

ข้อดีของการใช้เทคนิค TAVI&TAVR  เพื่อซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ด้วยสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด คือ คนไข้เสียเลือดน้อย สามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้รวดเร็วส่วนใหญ่ 2-3 วันสามารถกลับบ้านได้ ขณะที่คนไข้ผ่าตัดแบบเปิดหน้าอกต้องพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 7-10 วัน ข้อดีคือเสียเลือดน้อย ระหว่างที่ผ่าตัดคนไข้จะอยู่ในอาการสะลึมสะลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น เพราะไม่ต้องดมยาสลบแค่ใช้ยาชา ทำให้ฟื้นเร็ว ลดความเสี่ยงจากการดมยาโดยไม่จำเป็น ต้องใช้ใจปอดกับหัวใจเทียมเหมือนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบเปิดหน้าอก

นพ. ระพินทร์ กุกเรยา อายุรแพทย์หัวใจ และมัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพกล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการของ TAVI เป็นการใช้ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อยึดติดอยู่กับขดลวดพิเศษซึ่งสามารถม้วนให้เล็กเพื่อเข้าไปอยู่ในท่อเล็กประมาณ 8-10 มิลลิเมตรของระบบนำส่ง จากนั้นก็สอดระบบนำส่งไปตามหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปยอดของหัวใจห้องล่างซ้าย ไปจนถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออติก จากนั้นจึงทำการปล่อยตัวลิ้นหัวใจที่ม้วนอยู่ออกมาจากระบบนำส่ง ซึ่งจะทำให้ลิ้นหัวใจกางออก กลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่ โดยที่คนไข้จะมีแผลเล็กๆ บริเวณขาหนีบ หรือบริเวณหน้าอกด้านซ้ายหรือด้านบนของหน้าอกข้างขวา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใส่ขดลวดพิเศษ

การใส่ขดลวดพิเศษสามารถใส่ได้หลายทาง

  1. ส่วนใหญ่ใส่จากทางขาหนีบ 80%

  2. ทางไหล่สามารถใส่ทางเส้นเลือดใหญ่ที่ต้นแขน

  3. ใส่ทางขวาของหน้าอกผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่ออกมา จากหัวใจและสี่ใส่ทางแผลเล็ก บริเวณยอดหัวใจ 

เหตุผลที่ส่วนใหญ่เลือกใส่ขาหนีบ เพราะเส้นเลือดมีขนาดใหญ่ ยกเว้นว่า เส้นเลือดที่ขาหนีบของคนไข้มีขนาดเล็กหรือเส้นเลือดอุดตันเข้าไม่ได้ถึงจะเลือกไปทำที่ตำแหน่งอื่นแทน โดยใช้ระยะเวลาการทำ 2 ชั่วโมง แต่ถ้าผ่าตัดเปิดต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยสายสวน โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ต้องใช้ทีมแพทย์ผ่าตัดหัวใจ แพทย์สวนหลอดเลือด วิสัญญีแพทย์ แพทย์ทางอัลตราซาวด์ และบุคลากรทางห้องสวนหัวใจ ประมาณ 6-7คน  และใช้ห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid OR) ซึ่งเป็นการนำศักยภาพของห้องสวนหัวใจ และห้องผ่าตัดหัวใจและเส้นเลือดมารวมกันไว้ในห้องเดียวเพื่อใช้ในการผ่าตัดร่วมกับการสวนหัวใจ  โดยใช้เครื่องเอกซเรย์ที่สามารถปรับมุมและเคลื่อนตัวได้ 360 องศา พร้อมระบบการนำภาพเอกซเรย์แบบ Flex move Heart Navigator และ Software Heart Navigator ซึ่งสามารถถ่ายภาพหัวใจได้ทุกมุมอย่างละเอียด เพื่อให้แพทย์กำหนดและชี้จุดในการผ่าตัดหรือทำหัตถการปลอดภัยมากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นจากการสวนหัวใจ หรือระหว่างใส่ขดลวดเข้าไปในเส้นเลือดใหญ่ ก็สามารถทำการผ่าตัดได้ทันที โดยไม่ต้องย้ายเตียงหรือย้ายห้อง

 

ข้อจำกัดในการผ่าตัดแบบ TAVI

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการทำ TAVI&TAVR  คือ กลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อหรือมีแบคทีเรียอยู่ในกระแสเลือด คนไข้ที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คนไข้ที่มีลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจคนไข้ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วมากๆ คนไข้ที่เพิ่งเป็นอัมพาตมาใหม่ๆ เพราะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด คนไข้ที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ และเมื่อผ่าตัดเสร็จหลังพักฟื้นประมาณ 3 เดือนคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาการเหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอกหายไป มีแค่ช่วง 3 เดือนแรกที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ไม่ออกกำลังกายหรือทำอะไรที่หักโหมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook