10 วิธีหนีทุกข์น้ำท่วม

10 วิธีหนีทุกข์น้ำท่วม

10 วิธีหนีทุกข์น้ำท่วม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อสุขภาวะสังคมไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างและกินเวลานาน ผู้ประสบภัยหลายคนจึงต้องออกไปอาศัยในศูนย์พักพิง หรือบ้านญาติ ส่งผลให้เกิดความเครียด ต้องเข้าใจและจัดการตามสาเหตุ ควรทำใจยอมรับ อดทน

และมองว่า 'ปัญหาจะผ่านไป' โดยวิธีดูแลจิตใจ 10 ขั้นตอน คือ

1.ตั้งสติมองทุกปัญหาว่ามีทางแก้ไข

2.หากท้อใจให้ค้นหาแหล่งสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง ได้แก่ ความผูกพันกับครอบครัว ความศรัทธาทางศาสนา

3.ฝึกหายใจคลายเครียด 4.พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง/วัน

5.แปลงปัญหาเป็นโอกาสในการสร้างความผูกพันใกล้ชิดต่อกัน

6.บริหารร่างกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที วันเว้นวัน

7.ศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา

8.มองหาโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่น เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน

9.คิดทบทวนสิ่งดีๆ ในชีวิตเป็นประจำทุกวัน และ

10.จัดการปัญหาทีละขั้นทีละตอน ไม่จมไปกับปัญหาที่ยังแก้ไขอะไรไม่ได้ หลีกเลี่ยงการใช้สุราหรือสารเสพติดในการจัดการความเครียดความทุกข์ใจ

"สำหรับผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงผู้บริหารศูนย์ควรจัดพื้นที่ให้ ผู้ที่มาจากชุมชนเดียวกันได้อยู่ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกันเอง จัดระบบให้มีผู้แทนร่วมกันดูแลพื้นที่ในศูนย์พักพิง จัดแบ่งความรับผิดชอบใครถนัดอะไรให้ช่วยกันทำสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร ดูแลเด็กๆ ดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุ ซ่อมแซมของใช้ เป็นผู้นำกิจกรรมผ่อนคลายและสันทนาการต่างๆ ช่วยดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ประสบภัย เมื่อได้พักผ่อนร่างกายเพียงพอแล้ว ควรเริ่มมองหาโอกาสในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ โดยไม่ต้องรอคอยคำร้องขอ แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยเพียงใด จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น เชื่อมั่นตนเองมากขึ้น จะก่อให้เกิดกำลังใจที่เข้มแข็งขึ้น" นพ.ประเวชกล่าว

ที่มา : สุนันทา สุขสุมิตร Team content www.thaihealth.or.th

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook