ทางออกการศึกษาไทย (2)

ทางออกการศึกษาไทย (2)

ทางออกการศึกษาไทย (2)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ Education Ideas โดย วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความคิดสร้าวสรรค์ ศธ.

1.2 เด็กที่ออกจากระบบก่อน ม.6 ประมาณ 60% เด็กกลุ่มนี้กลายเป็นเด็กที่ไร้การศึกษา เพราะการศึกษาแบบหลักสูตรสําเร็จรูป การสอบแบบท่องจําเนื้อหาหรือวิธีคํานวณ เป็นการเรียนเพื่อสอบและการเรียนเพื่อเรียนต่อ การศึกษาอย่างนี้กลายเป็นเครื่องมือแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีโอกาสและกลุ่มไร้โอกาส ระบบแบบนี้ทําให้เด็ก 60% กลายเป็นคนขาดโอกาสที่จะพัฒนาชีวิตด้วยการศึกษา

ส่วนอีก 40% ที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ก็เรียนจบมาเจอสภาพตกงานปีละ 100,000 กว่าคน เพราะปัญหาคุณภาพอุดมศึกษา

1.3 เด็กที่เสียเปรียบจากความยากจน ถึงแม้จะได้เรียนฟรี แต่เป็นการเรียนฟรีที่ไร้คุณภาพ การจะสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ (ที่รัฐจ่ายงบประมาณมาก ๆ) จึงเป็นไปได้ยากมาก นักเรียนในชนบท รวมทั้งที่เรียนในเมือง แต่ไม่มีเงินกวดวิชา แทบหมดโอกาสที่จะเข้าเรียนต่อในคณะและสาขาที่มีการแข่งขันสูง เพราะการคัดเลือกเข้าเรียนต่อที่วัดผลด้านเดียว คือด้านการทําข้อสอบ

เด็กกลุ่มนี้จึงต้องกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันต่ำ ความหวังแค่ให้เรียนจบ เพราะคิดว่าปริญญาจะเป็นใบเบิกทางสู่อาชีพการงานที่ดี

แต่ในสภาพจริง บัณฑิตจํานวนมากที่มีแค่ปริญญา แต่ขาดทักษะอนาคต (21stCentury Skills) จะหางานทําได้ยากมากส่วนมากต้องไปทํางานอื่น ๆ ซึ่งไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ความต้องการคนทํางานเปลี่ยนไป แต่มหาวิทยาลัยยังคงสอนแบบเดิม ๆ เปิดคณะสาขาแบบเดิม โดยไม่ใส่ใจกับโอกาสได้งานของบัณฑิต

บัณฑิตเหล่านี้เมื่อจบออกมาไม่มีงานทํา ไม่มีเงินใช้หนี้ ครบ 3 ปี โดนหน่วยงานรัฐอย่าง กยศ.ฟ้อง กลายเป็นจําเลย เป็นความเสียเปรียบซ้ำซ้อนของเด็กยากจน

1.4 เด็กที่ออกจากระบบโรงเรียน เมื่อไปทํางานขาดโอกาสในการพัฒนาชีวิตและอาชีพของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่มีหน่วยงานและงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการที่สามารถนําวิชาความรู้ไปช่วยเขาได้ แต่ขาดแนวคิดและวิธีการจากหน่วยงานทางการศึกษาเหล่านั้น การแก้ปัญหาเรื่องโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ควรทํา เพราะเมื่อทําแล้วจะมีครู ผู้ปกครองนักเรียนได้รับประโยชน์มาก เป็นการทําเพื่อคนส่วนใหญ่ในประเทศ

แนวทางในการแก้ปัญหานี้ คือ

1. เปลี่ยนแปลงการจัดงบประมาณให้เป็นไปตามความจําเป็น (ไม่ใช่งบฯต่อรายหัว) โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่มีครบ ควรใช้งบประมาณจากรัฐน้อยลง อีกทั้งยังมีหลายโรงเรียนที่น่าจะเลี้ยงตัวเองได้ เพื่อให้รัฐได้ใช้งบประมาณส่งไปให้โรงเรียน มหาวิทยาลัยห่างไกลที่ยังต้องการงบฯลงทุนอีกมาก

2.พัฒนาส่งเสริมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) กรอ.จะเป็นตัวช่วยให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เรียนในระดับอุดมศึกษา เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาคนจริง ๆ ผู้กู้ในโครงการ กรอ.นี้ต่างจากผู้กู้จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) คือเด็กที่กู้ กรอ.ถ้าเรียนจบปริญญาแล้วไม่มีงานทํา ไม่ต้องใช้หนี้คืน และถ้ามีงานทําก็แค่เสียภาษีเพิ่มกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อทยอยใช้หนี้

นอกจากนั้น กรอ.ยังช่วยกดดันมหาวิทยาลัยให้พัฒนาคุณภาพอีกด้วย เพราะงบประมาณที่แต่เดิมจ่ายลงไปที่มหาวิทยาลัยจะถูกแบ่งมาจ่ายตรงที่ตัวเด็กเหมือนเด็กถือคูปองเข้าไปเลือกซื้อ สาขาไหนที่ไม่พัฒนา มหาวิทยาลัยที่ไม่ดูความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ยังสอนด้วยวิธีที่ล้าหลังจะไม่มีเด็กสนใจไปเรียน เมื่อไม่มีเด็กเรียนจะถูกกดดันให้พัฒนาคุณภาพ กรอ.จึงเป็นแรงผลักให้คณะสาขานั้น ๆ ตื่นตัว เราลงทุนด้านวัตถุมามากแล้ว เราควรจะลงทุนเรื่องการพัฒนาคนด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook