เรียนฟรี 15 ปีกระทบ "เอกชน" ลดเฉพาะค่าใช้จ่ายพ่อแม่

เรียนฟรี 15 ปีกระทบ "เอกชน" ลดเฉพาะค่าใช้จ่ายพ่อแม่

เรียนฟรี 15 ปีกระทบ "เอกชน" ลดเฉพาะค่าใช้จ่ายพ่อแม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม แหล่งข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ศึกษาประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ที่ สช.ได้ดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2552-2553 ซึ่งเป็นผลการศึกษาล่าสุด พบว่าการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวให้นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุนสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ปกครองนักเรียนได้อาทินักเรียนชั้นอนุบาล 1 ลดภาระค่าใช้จ่ายคนละ 8,112 บาทต่อปี จำแนกเป็นค่าธรรมเนียม 6,982 บาท หนังสือเรียน 200 บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน 200 บาท ค่าเครื่องแบบ 300 บาท ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 430 บาท นักเรียนชั้น ป.1-6 ลดภาระค่าใช้จ่าย 2,633.20-3,109 บาทต่อปี จำแนกเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษา 1,056 บาท ค่าหนังสือเรียน 347.20-823 บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน 390 บาท ค่าเครื่องแบบนักเรียน 360 บาท และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 480 บาท นักเรียนชั้น ม.1-3 ลดภาระค่าใช้จ่าย 3,575-3,939 บาทต่อปี จำแนกเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษา 1,265 บาท ค่าหนังสือเรียน 560-924 บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน 420 บาท ค่าเครื่องแบบนักเรียน 450 บาท ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 880 บาท ชั้น ม.4-6 ลดภาระค่าใช้จ่าย 3,968.20-4,656 บาทต่อปี จำแนกเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษา 1,295 บาท ค่าหนังสือเรียน 763.20-1,451 บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน 460 บาท ค่าเครื่องแบบนักเรียน 500 บาท ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 950 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ปกครองและนักเรียนมีความเห็นว่านโยบายเรียนฟรี 15 ปี มีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ในระดับมาก

แหล่งข่าวจาก ศธ.กล่าวว่า ส่วนประเด็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พบว่า ร้อยละของโรงเรียนที่มีนักเรียนเข้าเรียนใหม่เพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2552 มีโรงเรียนเอกชน ร้อยละ 61.93 มีจำนวนนักเรียนใหม่ที่เพิ่มขึ้น และปีการศึกษา 2553 มีโรงเรียนเอกชน ร้อยละ 60.40 มีจำนวนนักเรียนใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนการประเมินประสิทธิภาพคุณภาพผู้เรียนนั้น พบว่า ร้อยละของโรงเรียนที่มีผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสองระดับดีขึ้นไป มีโรงเรียนประเภทสามัญระดับก่อนประถมศึกษา ร้อยละ 95.51 และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 94.96 ส่วนโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษา ร้อยละ 86.36

"ผลการประเมินพบปัญหาอุปสรรคในส่วนของการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนล่าช้า เงินอุดหนุนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้ปกครองเข้าใจว่าเมื่อรัฐให้การอุดหนุนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีแล้ว ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ทำให้โรงเรียนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากผู้ปกครองได้ยาก ฉะนั้น ควรเข้าแก้ไขปัญหา เช่น การเพิ่มเงินอุดหนุน การเพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่าย" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook