โรค “สะเก็ดเงิน” มีอาหารแสลงหรือไม่?

โรค “สะเก็ดเงิน” มีอาหารแสลงหรือไม่?

โรค “สะเก็ดเงิน” มีอาหารแสลงหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราอาจจะเคยเห็นอาการของโรคสะเก็ดเงินกันมาบ้างแล้วตามอินเตอร์เน็ต หรือบางคนอาจจะเคยพบเห็นผู้ป่วยโรคนี้ในชีวิตประจำวัน มากที่สุดก็มีคนในครอบครัวเป็น หรือคุณอาจจะเป็นโรคนี้เอง แม้ว่าหลายคนจะรู้จักชื่อของโรคนี้ และอาการที่พบอย่าง “ผื่นแดงหนาตกสะเก็ดเต็มตัว” กันเป็นอย่างดี แต่น่าจะมีอีกหลายอย่างเกี่ยวกับโรคนี้ที่คุณอาจไม่มีความรู้มากเพียงพอ Sanook! Health จึงนำข้อมูลจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย มาให้เราได้ทความรู้จักกับโรคสะเก็ดเงินกันมากขึ้น

>> “โรคสะเก็ดเงิน” ไม่ใช่โรคติดต่อ-ไม่หายขาดแต่ลดอาการกำเริบได้

โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร?

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบได้ทุกเพศ ทุกวัย เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน  ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของผิวหนังจึงไม่สมบูรณ์

 

โรคสะเก็ดเงิน มีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จะมีผื่นแดงหนาขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดเงินปกคลุม เมื่อขูดลอกสะเก็ดออกจะพบจุดเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนัง มักเป็นบริเวณข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ผื่นอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่กระจายทั่วร่างกาย ศีรษะจะมีผื่นแดงลอกเป็นขุยขาวคล้ายรังแค เล็บอาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เล็บหนา เนื้อเล็บผุกร่อน ลอกเป็นขุยขาวหรือมีหลุมเล็กๆ บริเวณผิวเล็บ และอาจมีอาการปวดข้อ

 

โรคสะเก็ดเงิน มีโอกาสหายขาดหรือไม่?

อย่างที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปว่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรค เรื้อรังและยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่ในปัจจุบันแม้จะยังรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ก็มียาที่ดีมากๆ ซึ่งทำให้ร่องรอยของโรคเกลี้ยงได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็ยังต้องใช้ยาหรือการรักษาต่อเนื่อง

 

สมุนไพร และแพทย์ทางเลือกเพื่อการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

แพทย์หลายคนเตือนในเรื่องของการซื้อยาตรงทางออนไลน์ทั้งหลาย เพราะในบางครั้งได้ยาหรือสิ่งที่อ้างว่ารักษาหายขาดได้ แต่กลายเป็นยาหรือสิ่งที่ไม่ปลอดภัยกับสุขภาพ และไม่มีการรับรองมาตรฐานเลย ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือการเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรงจะปลอดภัย และเห็นผลดีที่สุด

 

อาหารแสลงของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน

เมื่อดูจากการศึกษาหรืองานวิจัยทั่วโลกจะพบว่า สำหรับสะเก็ดเงินนั้นไม่มีอาหารแสลงตรงๆ ที่ทำให้เกิดโรค แต่ในผู้ป่วยแต่ละท่านอาจจะมีอาหารบางชนิดที่เมื่อรับประทานแล้วเกิดมีอาการคันหรือในบางท่านก็เล่าว่าผื่นเห่อขึ้น ซึ่งจะเป็นกรณีๆ ไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่แพทย์ทุกคนขอ คืออยากให้ผู้ป่วยสะเก็ดเงินรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกิน ค่าดัชนีมวลกาย (ค่ามาตรฐาน BMI) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ อย่าอ้วน เพราะเมื่อน้ำหนักตัวเกินการรักษาโรคสะเก็ดเงินจะยากขึ้น ควบคุมโรคได้ยาก อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือแอลกอฮอล์เมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากๆ จะทำให้โรคกำเริบมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

>> 7 พฤติกรรมกระตุ้นอาการ “สะเก็ดเงิน”

 

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน

  1. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน หรือมีอาการปวดข้อร่วมด้วย สามารถเดินเพื่อเป็นการออกกำลังกายเป็นประจำได้ง่ายๆ ทุกวัน

  2. อยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นครั้งคราวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรับประทานยาบางตัว ควรจะต้องมีการติดตามดูแลเช่นการเจาะเลือด มีการเอ็กซเรย์ปอดเป็นระยะๆ

  3. ให้กำลังใจกันและกันไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินด้วยกันเอง แพทย์กับผู้ที่เป็นสะเก็ดเงิน รวมทั้งผู้ที่อยู่รอบข้าง ขอให้เป็นกำลังใจในการรักษา และการดูแลตัวเองกับผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินด้วย ทุกคนก็จะอยู่กับสะเก็ดเงินได้อย่างมีความสุขและผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินก็จะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและของสังคมตลอดไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook