ทำอย่างไร เมื่อแม่ให้นมลูก เกิดอาการเจ็บหัวนม

ทำอย่างไร เมื่อแม่ให้นมลูก เกิดอาการเจ็บหัวนม

ทำอย่างไร เมื่อแม่ให้นมลูก เกิดอาการเจ็บหัวนม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับคุณแม่แล้ว การให้นมลูกก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการเลี้ยงลูกน้อย แต่ปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ ก็คือ คุณแม่มักจะมีอาการเจ็บหัวนม หรือเจ็บเต้านมเกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดของคุณแม่ให้ลดน้อยลงได้ หากได้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

1.ลดการดูดลงบ้างก็ได้

หากรู้สึกเจ็บเมื่อให้ลูกดูดเต้า ก็ให้ลูกลดการดูดลงบ้างก็ได้ หรือไม่ก็สลับข้างให้ดูดข้างที่ไม่เจ็บแทน เมื่อไหร่ที่มีอาการดีขึ้นค่อยให้ลูกดูดใหม่ก็ได้

2.ให้ลูกได้ดูดจนน้ำนมไหล

เวลาที่คุณแม่รู้สึกปวดเต้านมหรือหัวนม คุณแม่มักจะไม่ค่อยอยากให้ลูกได้ดูดนมเท่าใดนัก เพราะคุณแม่กลัวว่าจะปวด       แต่อาการปวดเหล่านี้จะลดน้อยลงได้ หากลูกได้ดูดนมแม่จนน้ำนมไหล ยิ่งนมแม่ไหลดีเท่าไหร่ อาการปวดก็จะค่อย ๆ ลดลงมากขึ้น

3.ก่อนให้นมลูก ควรกระตุ้นเต้านมหรือบีบหน้าอกก่อน

แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกปวดหรือไม่ปวดเต้านมก่อนให้นมลูกก็ตาม ก็ควรที่จะบีบนวดหรือคลึงเต้านมก่อนเสมอ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และจะทำให้น้ำนมคุณแม่ไหลได้ดี ช่วยให้อาการปวดเต้านมลดน้อยลง

4.ให้ลูกได้ดูดนมแม่บ่อย ๆ

หากลูกได้ดูดนมแม่บ่อย ๆ จะช่วยให้เต้านมคุณแม่หย่อนยานน้อยลง และช่วยลดอาการปวดคัดเต้านม เนื่องจากน้ำนมคุณแม่จะไหลอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งถ้าทำได้ก็ควรให้ลูกได้ดูดนมเป็นประจำทุก 2 ชั่วโมง หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้

5.ระหว่างให้นมพยายามอย่าปล่อยให้หัวนมแห้ง

คุณแม่ไม่ควรเช็ดหัวนมให้แห้งหลังจากที่ให้นมลูกแล้ว แต่ควรปล่อยให้มีน้ำนมชุ่มหัวนมไว้สัก 1-2 หยด เพราะจะช่วยให้อาการหัวนมแตกลดน้อยลงได้ เนื่องจากน้ำนมจะช่วยให้แผลที่หัวนมหายเร็วขึ้นนั่นเอง

6.ใช้ผลิตภัณฑ์ลดอาการแห้งตึงของหัวนมช่วยบ้าง

ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้หัวนมคุณแม่ และเมื่อจะให้นมลูกก็ควรเช็ดออกก่อนทุกครั้งและทาใหม่หลังจากที่คุณแม่ให้นมเสร็จ จะช่วยให้มีอาการเจ็บตึงลดน้อยลง

7.สวมเสื้อชั้นในที่ให้ความรู้สึกเบาสบาย

เพื่อให้อาการเจ็บปวดหัวนมลดน้อยลง เสื้อชั้นในที่คุณแม่สวมควรเป็นชนิดผ้าฝ้าย และพยายามหลีกเลี่ยงชั้นในที่ต้องยกทรงสูง เพราะจะทำให้เกิดการกดทับและการเบียดกันของเต้านม

อาการเจ็บหัวนมของคุณแม่ ส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจากการที่คุณแม่ถูกลูกน้อยกัดที่หัวนม ซึ่งก็เนื่องมาจากการที่ฟันของลูกน้อยกำลังจะขึ้นจึงทำให้รู้สึกคันเหงือก การเลี้ยงลูกน้อยที่อยู่ในวัยที่ฟันเริ่มขึ้น จึงควรที่จะป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกกัดหัวนมคุณแม่จนหัวนมแตก ซึ่งอาการเจ็บหัวนมของคุณแม่จะเกิดขึ้นค่อนข้างนาน และก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่อยากให้นมลูก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook