ต้นทุนประชาธิปไตย เริ่มบนโต๊ะอาหารที่บ้าน

ต้นทุนประชาธิปไตย เริ่มบนโต๊ะอาหารที่บ้าน

ต้นทุนประชาธิปไตย เริ่มบนโต๊ะอาหารที่บ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

 

มีคำกล่าวว่า สังคมใดจะเป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ สังคมนั้นจักต้องปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนทั้งในแง่ความคิด อุดมการณ์ และวิถีการดำเนินชีวิตตั้งแต่เด็กเป็นต้นไป

"มีข้อระวังอยู่นิดหนึ่ง ตรงที่การแสดงออกซึ่งความแตกต่างทางความคิดจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน พ่อแม่ต้องไม่สร้างสองมาตรฐาน ก็จะทำให้เด็กในครอบครัวนั้นอยู่ท่ามกลางความรัก ความอบอุ่น"

จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กระทั่งนำไปสู่ความรุนแรงของสังคมไทย ถ้าไม่มีคำอธิบายจากผู้เป็นพ่อแม่ เด็กๆ อาจจะไม่เข้าใจ หรือ ขาดต้นทุนชีวิตในเรื่องดังกล่าวได้

 

ดังนั้นการสร้างความเข้าใจวิถีประชาธิปไตยอย่างสมดุลให้แก่ลูกจึงควรหยิบยกมาพูดถึง ซึ่งการสอนเรื่องต้นทุนชีวิตทางด้านประชาธิปไตย มี 3 ข้อ ได้แก่ การสอนให้ลูกกล้าคิด กล้าปฏิเสธ, ความเท่าเทียมในสังคม และการสามารถปรับตัวได้กับสังคมที่หลากหลาย 3 ข้อนี้เป็นการสร้างต้นทุนชีวิตในเรื่องประชาธิปไตยตั้งแต่เล็กๆ

 

สำหรับสังคมไทย พ่อแม่มีเทคนิคการเลี้ยงลูกในเรื่องดังกล่าวอยู่ 3 แบบ ประเภทแรก การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ คือ ลูกต้องเชื่อฟังพ่อแม่เท่านั้น พ่อแม่คิดเห็นหรือเชื่ออย่างไร ลูกก็ต้องเดินตามพ่อแม่ แบบที่สอง พ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลย ไม่มีกฎกติกา ประเภทที่สาม พ่อแม่ที่สร้างครอบครัวประชาธิปไตย โดยให้สมาชิกในครอบครัวสามารถแสดงความคิดเห็นการเลี้ยงลูกแบบใช้อำนาจเบ็ดเสร็จใช่ว่าจะไม่ดี แต่การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเหมาะสมและชอบธรรม

 

สำหรับเด็กในช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี ซึ่งต้องการการดูแลจากพ่อแม่ 100% พอเข้าขวบปีที่สอง เด็กจะเริ่มเล่นกับพ่อแม่ พฤติกรรมของเด็กในวัยดังกล่าว จะคิดว่าเขาเป็นเจ้าของพ่อแม่ ซึ่งนี่เองทำให้พ่อแม่จำเป็นต้องเริ่มตั้งกฎ กติกา เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกในบ้าน ยกตัวอย่างของการสร้างกฎกติกา เมื่อลูกกำลังหัดคลาน พ่อแม่ต้องหาอะไรมาป้องกันไม่ให้มาแหย่ปลั๊กไฟ หรือการสร้างรั้วกั้นไม่ให้ลูกเดินออกไปข้างนอก จนเด็กอายุเข้าปีที่ 3-6 ปี บางครอบครัวจำเป็นต้องฝากลูกไว้กับศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก ซึ่งเด็กจะเริ่มมีอิสระทางความคิดมากขึ้น อำนาจเบ็ดเสร็จของพ่อแม่จะหายไป 1 ใน 3 โดยที่เหลือจากนั้น เด็กจะเริ่มไปเรียนรู้ในสังคมของศูนย์เด็กเล็ก

 

เมื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 อำนาจเบ็ดเสร็จของพ่อแม่จะเหลือเพียง 50% ซึ่งเด็กจะเริ่มแสดงความคิดเห็นบนโต๊ะอาหาร แสดงเหตุผลร่วมกับพ่อแม่ มีการเริ่มวางกฎกติกากับพ่อแม่เช่นกัน บนโต๊ะอาหารของบ้าน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการปลูกฝังต้นทุนประชาธิปไตยแก่ลูก

 

จากปัจจัยข้างต้น ก่อนที่เด็กจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่น อำนาจเบ็ดเสร็จของพ่อแม่จาก 100% แทบจะหายไปครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่สร้างกฎกติการ่วมกันในครอบครัว ก็อาจจะสายเกินไปที่จะปลูกฝังต้นทุนประชาธิปไตย กฎ กติกา จะนำไปสู่การรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนในบ้าน ทำให้คนในครอบครัวสามารถอยู่ร่วมกันได้ และเป็นการสร้างการปรับตัวให้เข้ากับสังคมเล็กๆ โดยไม่ไปรุกล้ำคนอื่น และเข้ากับขนบธรรมเนียมของสังคมใหญ่ได้

 

การมีกฎ กติกา ในครอบครัว จะทำให้การสร้างวิถีสังคมประชาธิปไตยมีความสมดุล เพราะต่างคนต่างรู้ในหน้าที่ของตนเอง การพูดคุยกัน เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นกันในครอบครัว จึงเป็นการย่อโลกแห่งวิถีประชาธิปไตยบนโต๊ะอาหารมีข้อระวังอยู่นิดหนึ่ง ตรงที่การแสดงออกซึ่งความแตกต่างทางความคิดจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน พ่อแม่ต้องไม่สร้างสองมาตรฐาน ก็จะทำให้เด็กในครอบครัวนั้นอยู่ท่ามกลางความรัก ความอบอุ่น

 

เด็กที่ถูกเลี้ยงมาในแบบฉบับวิถีประชาธิปไตย มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีความเป็นประชาธิปไตย เมื่อไปนอกบ้านจะรู้จักควบคุมอารมณ์ แก้ปัญหา และสามารถไกล่เกลี่ยได้ดี  ข้อดีของการซึมซับวิถีประชาธิปไตยตั้งแต่ในบ้าน จะทำให้ประชาธิปไตยสมดุลขยายวงกว้าง และจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติในอนาคต

 

แม้ว่าวันนี้ ประชาธิปไตยของประเทศชาติอาจจะมีข้อบกพร่องไปบ้าง แต่ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า จุดอ่อนดังกล่าว เกิดจากการที่ครอบครัวปลูกฝังประชาธิปไตยไม่พอ เพราะวิถีสังคมบ้านเรายังให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวน้อยอยู่แต่ก็ไม่สายเกินไป หากครอบครัวไทยจะเริ่มรณรงค์ "วิถีประชาธิปไตย" บนโต๊ะอาหาร เพื่อปลูกฝังต้นทุนชีวิตในเรื่องประชาธิปไตยให้กับเด็กๆ ให้อยู่ในวิถีประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิ

 


เรื่องโดย : นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สสส.

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook