การบ้านเลขเด็ก ป.2 วิธีการถูก นิยามผิด

การบ้านเลขเด็ก ป.2 วิธีการถูก นิยามผิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในทุกวันตอนเช้าหลายคนเป็นต้องตื่นมาแต่เช้าเพื่อเปิดทีวีรับฟังข่าวสดต่างๆ ในรอบวันใหม่ โดยรายการข่าวยามเช้าจากทุกสื่อเป็นต้องหยิบยกเอาข่าวใหม่ๆ มาบอกเล่านำเสนออยู่แล้ว และนี่ก็เช่นเดียวกัน นับว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าปวดหัวไม่น้อยสำหรับข่าวที่ออกมาโด่งดังเกี่ยวกับการบ้านเลขเด็ก ป.2 ทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้จึงไม่พลาดที่จะหยิบยกเอาประเด็นข่าวนี้มาถกเถียง วิเคราะห์เพื่อให้ประชาชนทุกท่านได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกันค่ะ 

เรื่องเล่า2การบ้านเลขเด็ก ป.2 วิธีการถูก นิยามผิด
การบ้านเลขเด็ก ป.2 วิธีการถูก นิยามผิด

สำหรับข่าวนี้เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายในโลกอินเตอร์เน็ตขณะนี้ ในเรื่องของการบ้านเลขเด็ก ป.2 เมื่อมีผู้ปกครองท่านหนึ่ง ได้โพสต์การบ้านวิชาคณิตศาสตร์ของบุตรหลาน โดยระบุไม่เข้าใจสิ่งที่คุณครูกระทำ เนื่องจากว่าเด็กได้เขียนคำตอบที่ถูกต้องลงไปแล้ว แต่คุณครูกลับบอกว่าผิด โดยคุณครูให้เหตุผลว่า "วิธีการถูก แต่นิยมผิด"

ตัวอย่างเช่น
คำถาม จงเขียนให้อยู่ในรูปการคูณหรือบวก
4+4+4 =?
หลานตอบ 4x3 ครูให้ผิด เพราะต้องเป็น 3x4

ซึ่งหลังจากมีการโพสต์เรื่องราวนี้ไป ก็มีการนำไปวิเคราะห์ความผิดถูกมากมาย โดยทางหนึ่งก็เห็นด้วยกับวิธีการตรวจของครูผู้สอน และอีกทางหนึ่งก็กังขาในการตรวจคำตอบดังกล่าว เพราะคำตอบที่ได้จะเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น 4x3 หรือ 3x4 จะได้คำตอบก็คือ 12 เช่นเดียวกัน แต่นิยามที่ได้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแผนให้นักเรียนเข้าใจเหมือนกันและไปในแนวทางเดียวกันจะออกมาในรูปของ

4+4+4 = 3x4 = 12
3+3+3+3 = 4x3 = 12

แต่ความใจของผู้ปกครองก็คือความคิดนี้ถือเป็นความคิดนอกกรอบ ซึ่งในปัจจุบันนี้วิธีการคิดแบบนี้น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้แล้ว ทางรายการจึงได้ทำการตรวจสอบแบบแผนได้ออกมาว่า

โจทย์ถามเรื่อง "รูปแบบ" การคูณหรือบวก
จำนวนแรก (จำนวนกลุ่ม)   x    จำนวนหลัง (สิ่งของแต่ละกลุ่ม)

เรื่องเล่า3การบ้านเลขเด็ก ป.2 วิธีการถูก นิยามผิด
การบ้านเลขเด็ก ป.2 วิธีการถูก นิยามผิด

โดยต้องนับจำนวนแรกก่อนในกรณีนี้มี 4 อยู่ 3 ตัวเรียกว่าจำนวนแรก จึงได้เป็น 3 และคูณจำนวนสิ่งของที่อยู่ในกลุ่มก็คือ 4 จึงได้เป็น 3x4  ดังนั้นการตอบ 4x3 จึงเป็นการตอบที่ผิดแบบแผน คำตอบที่ถูกตามแบบแผนจึงได้เป็น 3x4 และมีการระบุว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์คำถามได้ง่ายยิ่งขึ้น

อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการบ้านเด็กประถมแบบนี้ ชวนให้วิเคราะห์ได้ว่าคนเราทุกวันนี้มองโลกได้หลากหลายมุมมากขึ้น การจำกัดวิถีการคิดเพียงในกรอบเดียวอาจจะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ในขณะที่คำตอบเดียวกัน แต่ต่างคนก็มีรูปแบบการคิดที่ต่างกันออกไป แต่หากท้ายที่สุดคำตอบมันไม่ผิดก็น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว กฏเกณฑ์แบบนี้อาจจะทำให้เด็กๆ รุ่นใหม่ใช้ชีวิตอยู่แต่ในกรอบในเส้นที่ขีดเอาไว้ อาจจะเป็นการจำกัดจินตนาการโลกแห่งการคิดก็เป็นได้นะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook