เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 1

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 1

เมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 1
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ลักษณะลูก
ในระยะครึ่งเดือนแรก ลูกจะนอนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังไม่สามารถกำหนดเวลาต่างๆของลูกได้แน่นอน เช่น บางคนอาจจะปัสสาวะวันละ 5- 6 ครั้ง บางคนอาจเป็น 10 ครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกอะไร แต่พอครึ่งเดือนหลัง คุณแม่อาจจะเริ่มจับลักษณะลูกได้แล้วว่า เด็กบางคนอาจนอนนาน ไม่ค่อยร้องกวน ดูดนมแต่ละทีดูดได้เยอะ พออิ่มก็หลับ เด็กลักษณะนี้คุณแม่จะกะเวลาการให้นมง่าย แต่เด็กบางคนก็อาจตื่นบ่อย หลับยาก เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องค่อยเรียนรู้ลักษณะนิสัยของลูกกันไปทีละนิดค่ะ  เด็กที่กินนมแม่ จะอึนิ่ม และบ่อย....


ลูกเรากินนมอิ่มไหมหนอ?
คุณแม่อาจสงสัยว่าลุกน้อยได้รับนมเพียงพอหรือเปล่าจะดูอย่างไร? วิธีสังเกตก็ไม่ยากค่ะ แค่ชั่งน้ำหนักดูก็รู้ถ้าลูกน้ำหนักขึ้นดีคือทุก 5 วัน ลูกมีน้ำหนักขึ้น 150 กรัมขึ้นไป ก็ถือว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ แต่ถ้าน้ำหนักเด็กขึ้นน้อยกว่า 100 กรัม แบบนี้ต้องปรึกษาคุณหมอค่ะ (เด็กที่กินอิ่มจะนอนหลับสบาย ไม่ร้องกวน)

อาการที่อาจเกิดขึ้น
• แหวะนม

หลังจากกินนมเสร็จแล้วสักพัก 10-20 นาที ลูกน้อยอาจจะแหวะนมออกมา มีลักษณะเหมือนเต้าหู้เละๆ บางคนเป็นหลังจากกินนมเกือบทุกครั้ง ออกมามากน้อยไม่เท่ากัน จะแหวะมากขึ้นเมื่ออายุครึ่งเดือน ถ้าลูกน้อยยังดูดนมได้ดี น้ำหนักขึ้นปกติ ร่างเริงอารมณ์ดี คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวล พออายุ 2- 3 เดือน ก็จะค่อยๆหายไปเอง สาเหตุอาจเกิดมาจากหูรูดกระเพาะของลูกน้อยยังไม่แข็งแรง เมื่อกินนมอิ่ม ก็จะมีนมล้นออกมา
ดังนั้นหลังจากที่อุ้มลูกน้อยดูดนมเสร็จแล้ว ไม่ควรให้ลูกนอนทันที ต้องฝห้ลุกเรอสักก่อน ด้วยการอุ้มพาดไหล่ แล้วลูบหลัง สัก 10-20 นาที และให้ลูกนอนตะแคง เพื่อป้องกันอาหการสำลักนม

ข้อสังเกต
**ถ้านมออกมานั้นมีสีเหลือง หรือเลือดปน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ลูกน้อยร้องไห้แบบเจ็บปวด น้ำหนักลด ต้องรีบพาไปหาหมอ เพราะอาจมีโรคที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ เช่น ปลายกระเพาะตีบ ลำไส้กลืนกัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก็เป็นได้

• ฝ้าขาวในปาก
หลังคลอดประมาณ 1 สัปดาห์ อาจเกิดฝ้าขาวบริเวณเหงือกหรือกระพุ้งแก้ม อาจจะเกิดจากคราบน้ำนม ให้คุณแม่ใช่ผ้าก๊อช หรือผ้าอ้อมบางๆ ชุบน้ำแล้วเช็ด หลังลูกดูดนมหรือดูดน้ำตาม แต่ถ้ายังไม่หายแสดงว่าอาจเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่อยู่ในช่องคลอดแม่ คุณแม่สามารถใช้เจนเชียลไวโอเลต ทาในปากบางๆ เช้า-เย็นให้ลูก แต่ไม่ทาก็ได้เช่นกันฝ้านี้จะหายไปเอง เพียงแต่คุณแม่ต้องหมั่นเช็ดปากบ่อยๆหลังดื่ทนม และทำความสะอาดหัวนมให้ดี

• หายใจเสียงดัง
เด็กแรกเกิดบางคน ขณะที่หายใจจะมีเสียงฟี้ๆในลำคอ คุณแม่ก็นึกว่าลูกมีการหวัดหรือลำคอมีอาการผิดปกติ ถ้าลุกยังดูดนมตามปกติ น้ำหนักดีขึ้น เสียงหายใจดังฟี้ๆ เกิดจากล่องเสียงเด็กทารกยังนิ่มอยู่ เมื่อหายใจเข้าไป กล่องเสียงแคบลงจึงทำให้เสียง เมื่อโตขึ้นกล่องเสียงก็จะแข็งขึ้นเอง

• พัฒนาการของหนู
การร้องไห้เป็นวิธีเดียวของเด็กวัยนี้ที่จะสื่อสารให้คุณแม่รู้ว่าตัวเข้าต้องการอะไรเริ่มตั่งแต่หิว เปียก อยากให้อุ้ม เจ็บปวด วิธีที่ดีที่สุดคือ การตอบสนองให้ถูกกับความต้องการ ซึ่งต้องใช้ความคุ้นเคย ความใกล้ชิดและการสังเกตของคุณแม่ ว่าการร้องของลูกแต่ละครั้งต้องการอะไร มีบางครั้งที่ลูกอาจจะร้องโดยที่คุณแม่อาจจะไม่ทราบสาเหตุก็เป็นได้ ให้คุณแม่อุ้มอย่างปลอบโยน หรือเปลี่ยนท่าอุ้ม ท่าให้นม อาจจะทำให้ลูกสงบลงได้

• ร่างกาย
ถ้าแสงในห้องไม่จ้าจนเกินไป ลูกจะลืมตาขึ้นมองเป็นบางครั้ง และจะมองเห็นได้ดีที่สุดประมาร 1 ฟุต ฉะนั้นระหว่างที่ลูกดูดนมแม่อยู่นั้น หน้าแม่จะอยู่ในระยะสายตาของลุกได้ดีที่สุด

การทำงานของหูจะสมบูรณ์ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว ดังนั้นเวลาลูกน้อยได้ยินอะไรเสียงดัง จึงมีอาการสะดุ้ง ตกใจ ในช่วงเดือนแรกลูกน้อยจะมีรีเฟลกซ์(Reflex)เกิดขึ้นหลายอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุด คือเมื่อร้องไห้ ตกใจ เด็กมักจะทำท่าผวา มือเท้าสั่น หรือบางครั้งนอนเฉยๆ ก็ยิ้มขึ้นมา (ผู้ใหญ่บ้านเรามักจะบอกว่า "ยิ้มกับแม่ซื้อ" เป็นอาการรีเฟลกซ์ อย่างหนึ่งที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ)

สังคม
• เมื่อตาได้จ้องหน้าแม่จะสงบขึ้น
• จำเสียง พ่อแม่ได้
• ยังไม่ค่อยมีปฏิกิริยา โต้ตอบ

เล่นกับหนูหน่อย
การโอบกอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ให้นมลูก การกล่อมนอน ร้องเพลง ให้ลูกฟัง ล้วนเข้าไปช่วยกระตุ้นเซลล์สมองของลูกน้อยให้ทำงาน พร้อมที่จะพัฒนาต่อไป


"หลังจากที่ลุกน้อยดูดนมเสร็จแล้ว ไม่ควรให้ลุกนอนทันที ต้องอุ้มลูกให้เรอก่อนด้วยการอุ้มพาดไหล่แล้วลูกหลังสัก 10-20 นาที ค่อยให้ลูกตะแคงเพื่อป้องกันอาการสำลักนม"

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook