Walk Rally แผนที่แม่ท้อง 12 ด่าน

Walk Rally แผนที่แม่ท้อง 12 ด่าน

Walk Rally แผนที่แม่ท้อง 12 ด่าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Start จุดเริ่มต้นเส้นทางเดิน
จุด เริ่มต้นที่ควรทํา คือ การฝากครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกในครรภ์ คุณแม่จะได้รับการดูแลจากแพทย์ที่ทําการตรวจครรภ์เป็นประจํา อาจมีการตรวจพิเศษบางกรณี ซึ่งมักเป็นการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม เพื่อค้นหาความผิดปกติของทารก ส่วนจะมีการตรวจพิเศษอะไรบ้าง มาเริ่มเดินทางไปแต่ละจุดเลยค่ะ

จุด ที่ 1 ด่านตรวจน้ำคร่ำ ค้นหาโครโมโซมผิดปกติ
วิธีนี้ใช้ในแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แม่ที่เคยคลอดลูกที่มีโครโมโซมผิดปกติ มีประวัติการแท้งบ่อย ได้รับการตรวจโดยวิธีการ ชีวเคมีจากการตรวจเลือดแม่แล้วได้ผลผิดปกติ ตรวจพบความพิการ ภายนอกของทารก ตรวจพบว่าทารกในครรภ์เติบโตช้า ตรวจหาโรคที่มีความผิดปกติของกระบวนการดูดซึมของร่างกาย การตรวจ ดีเอ็นเอ การติดเชื้อในทารก ตรวจความสมบูรณ์ของปอด ที่สําคัญแม่ที่อายุมากมักเกิดอาการแทรกซ้อน ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน ทําให้โครโมโซมผิดปกติจนเกิดภาวะ Down Syndrome ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญของทารกที่ต้องแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะ


จุด ที่ 2 ด่านตรวจปลายโครโมโซม โดยใช้เทคนิค FISH
เป็น การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกายเพื่อบําบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และป้องกันการเกิดซ้ำ โดยใช้เทคนิค Fluorescence in situ Hybridization หรือ FISH แม่ที่คลอดลูกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม มีญาติเป็นภาวะนี้ แล้วถ้าตั้งครรภ์อีก จะสามารถตรวจได้ว่าทารกจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ ซ้ำหรือไม่ เพียงเจาะเลือดแม่ส่งตรวจ โดยใช้ชุดน้ำยาตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซม ที่เรียกว่า FISH probe แล้วนําไปวิเคราะห์การเรืองแสงด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ ก็จะทราบว่าโครโมโซมของแม่มีความผิดปกติหรือไม่

จุดที่ 3 ด่านตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ ของทารก
เป็นการตรวจเพื่อให้รู้ผลการมีชีวิตของทารก การคํานวณอายุครรภ์ การวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูกและปีกมดลูก ดูตําแหน่งที่รกเกาะ เลือกตําแหน่งที่เหมาะสมในการตรวจ เช่น เลือกตําแหน่งรกในการเจาะเลือดจากสายสะดือ บอกทิศทางตําแหน่งของปลายเข็ม ติดตามการเต้นของหัวใจทารก ติดตามทารกในครรภ์ วินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน


จุด ที่ 4 ด่านตรวจ Embryoscope และ Fetoscope ส่องกล้องดูความผิดปกติของทารกในครรภ์
เป็นวิธีวินิจฉัยความผิดปกติของทารกอย่างหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยีการส่องกล้องดูทารกในครรภ์ แพทย์จะใช้เข็มติดกล้อง ขนาดจิ๋วที่ส่วนปลาย แล้วสอดผ่านปากมดลูกเข้าไปดูตัวอ่อนในโพรงมดลูก หรือใช้วิธีเจาะผ่านผนังหน้าท้อง โดยทําเป็นแผลเล็กๆ บริเวณเหนือหัวหน่าว แล้วใช้กล้องขนาดประมาณ 0.8 มม. เจาะผ่านผนังหน้าท้องเข้าไป ทําให้เห็นภาพจริงของทารก สามารถ มองเห็นรายละเอียดของทารก วิธีนี้ตรวจหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในไตรมาสแรก


จุด ที่ 5 ด่านตรวจ Pre implantation diagnostic เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่
เป็นการตรวจสําหรับแม่ที่ต้องการมีลูก หรือตนเองมีโรคประจําตัว เช่น ธาลัสซีเมีย แต่ต้องการจะมีลูก สามารถใช้การตรวจนี้ได้ เพื่อดูว่าลูกมีโอกาสจะเป็นโรคเดียวกับแม่มากแค่ไหน


จุด ที่ 6 ด่านตรวจเลือดจากสายสะดือ เพื่อดูความผิดปกติของทารก
วิธีนี้ใช้เพื่อวินิจฉัยหาโครโมโซมที่ผิดปกติ และประเมินสุขภาพโดยรวมของทารก แพทย์ยังตรวจด้วยวิธีนี้ในรายที่ทารกในครรภ์มีภาวะซีดและโลหิตจาง รวมทั้งเมื่อจะต้องถ่ายเลือดให้ทารกผ่านทางสายสะดือ ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์โดยตรง


จุด ที่ 7 ด่านตรวจเนื้อเยื่อรก เพื่อวิเคราะห์โครโมโซมของทารกในครรภ์
การตรวจนี้จะช่วยวิเคราะห์โครโมโซมของทารกได้ในครรภ์อายุน้อย มักตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเม็ดเลือดแดงผิดปกติ


จุด ที่ 8 ด่านตรวจ Triple screen เจาะเลือดหาค่าชีวเคมี
เป็นการเจาะเลือดตรวจหาค่าชีวเคมี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงในการให้กําเนิดทารกที่เป็นดาวน์-ซินโดรมหรือมีความ พิการจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 28 รวมทั้งโรคเกี่ยวกับประสาทที่เรียกว่า นิวรอน ทิว ดีเฟกต์ (Neural tube defect) สําหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ตรวจโดยการเจาะเลือดในช่วงอายุครรภ์ 15-21 สัปดาห์

จุด ที่ 9 ด่านตรวจการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
เป็นการใช้เครื่องตรวจการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ ปกติขณะที่ทารกหลับ หรือดิ้นอยู่ในครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง การเต้นของหัวใจทารก มักใช้วิธีนี้ตรวจเมื่อแม่มีอายุครรภ์เกินกําหนด ทารกในครรภ์เติบโตช้า มีความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง แม่เป็นเบาหวาน ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง และน้ำคร่ำ ลดน้อยลง อายุครรภ์ที่เริ่มตรวจควรอยู่ระหว่าง 30-32 สัปดาห์



จุด ที่ 10 ด่านตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ Fetal Biophysical Profile (FBP)

• ตรวจการหายใจ ใช้ เวลา 30 นาทีขึ้นไป ปกติทารกมักหายใจประมาณร้อยละ 30-40 ของเวลาทั้งหมด ช่วง 28 สัปดาห์แรก ทารกใช้เวลาในการหายใจร้อยละ 12 หลัง 28 สัปดาห์ ใช้เวลาหายใจเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50
• ตรวจการดิ้น แม่รับความรู้สึกทารกดิ้นได้ดี แต่บางครั้งไม่สามารถ บอกการดิ้นเบาๆ ของทารกได้ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะช่วยบอกการดิ้นของทารกได้
• ตรวจแรงดึงกล้ามเนื้อ เป็นการทดสอบคร่าวๆ แรงดึงปกติ คือ ทารกมีการหดกลับอย่างเร็วของแขน ขา ลําตัวหลังการยืดของกล้ามเนื้อ
• ตรวจปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าลดลงแสดงว่ามีความผิดปกติ มีความพิการ หากเกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง น้ำคร่ำจะลดลง


จุด ที่ 11 ด่านตรวจอัลตร้าซาวนด์ เพื่อติดตามการเติบโตทารก
แม่ที่ทําอัลตราซาวนด์เพื่อวัดอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ดูความผิดปกติ ขณะตั้งครรภ์ เช่น ท้องนอกมดลูก หรือเมื่อสงสัยว่ามีการแท้งบุตร ตั้งครรภ์แฝด ส่วนลูกใช้ตรวจดูท่าและตําแหน่งที่เกาะของรก ดูสภาพของทารกและรกกรณีที่ตั้งครรภ์เกินกําหนด ดูท่าของทารกเมื่อใกล้ครบกําหนดคลอด ดูความผิดปกติอื่นๆ เช่น กระดูกสันหลังไม่ปิด และใช้ร่วมกับการตรวจอื่นๆ


จุด ที่ 12 ด่านคําถามส่งท้าย ‘การตรวจ Triple Test และการตรวจน้ำคร่ำอะไรดีกว่ากัน'
การตรวจทั้งสองชนิดนี้มีการใช้เครื่องมือในการตรวจร่วมกัน และมีความเหมาะสมด้วยกันทั้งสองชนิด ดังนั้น ควรพิจารณาอายุของแม่ การเจาะน้ำคร่ำจะใช้ตรวจภาวะดาวน์ซินโดรมเหมาะกับแม่ที่อายุมาก มีความเสี่ยงสูง และยังสามารถวิเคราะห์โครโมโซมทุกโครโมโซมทั้ง 23 คู่ รวมถึงโครโมโซมเพศด้วย ส่วน Triple Test เหมาะกับการใช้ในแม่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น แม่ที่มีอายุน้อย แล้ววิธีนี้ ยังสามารถใช้ตรวจกรองทารกที่มีความเสี่ยงเฉพาะอาการ 3 อย่างเท่านั้น คือ ทารกที่เสี่ยงต่อภาวะดาวน์ซินโดรม (มีความผิดปกติโครโมโซมคู่ที่ 21), ทารก Edward (มีความผิดปกติโครโมโซมคู่ที่ 18) และกลุ่มกระดูกสันหลังไม่ปิด (Neural Tube Defect) เป็นต้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook