วิธีแก้ปัญหาหย่าร้าง

วิธีแก้ปัญหาหย่าร้าง

วิธีแก้ปัญหาหย่าร้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หย่าร้าง

ควรจะเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่แต่งงานกันแล้ว การแต่งงานนั้นจะต้องมีความรักอย่างน้อยอยู่ที่เกรด 2 ความรักจะแบ่งออกเป็น 4 เกรด คือ

เกรดที่ 1 รักใคร่ใฝ่กามา
เกรดที่ 2 รักหวังวิวาห์มาคู่กัน
เกรดที่ 3 รักปันแบ่งความสุข
เกรดที่ 4 รักยอมทุกข์เพื่อสุขเธอ

ความรักก่อนแต่งงานอย่างน้อยจะต้องอยู่ที่เกรด 2 คือ
คิดว่าเวลาที่เราใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันนี่แล้วน่าจะใช้ชีวิตคู่กัน อย่างมีความสุขมากกว่าการ ที่จะใช้ชีวิตอยู่คนเดียว และการที่สื่อสารทางบวกจะนำไปสู่การ Upgrade ความรักเกรด 2 มาเป็นเกรด 3 เป็นรัก แบ่งปันความสุขที่เราเรียกว่า "ความเมตตา" คือก่อนแต่งงานอาจจะเป็นรักแบบเสน่หาแต่พออยู่ ด้วยกัน ไปสัก 10 ปี 20 ปี มันก็จะเปลี่ยนมาเป็นความเมตตา ซึ่งการสื่อสารทางบวกจะเป็นเครื่องมือในการ Upgrade

รักใคร่ใฝ่กามา เป็นเกรดที่ 1 ถือว่าตก เพราะเป็นความรักที่เรียกว่า "เซ็กส์เพียว ๆ เสียวล้วน ๆ" ก็คือเป็นความใคร่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Lust

ก่อนแต่งงานก็จะอยู่ที่เกรด 2 รักหวังวิวาห์มาคู่กัน เกรดที่ 2 นี้ก็จะเป็นเรื่องของการวิวาห์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Eros ก็ยังอยู่ในช่วงของความรัก ความเสน่หา

พอครองชีวิตคู่อยู่กันไปนาน ๆ ต้องขึ้นเป็นเกรด 3 รักปันแบ่งความสุข ภาษาอังกฤษเรียกว่า Well wish คือมีความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน แต่ปัญหาที่เจอบ่อย ๆ ก็คือ ตอนที่เริ่มต้นแต่งงานกันความเสน่หายังคงอยู่ แต่พออยู่กินกันไปสักพักหนึ่ง ความเสน่หาก็เริ่มหมดไป คือ ผู้ชายที่เคยหล่อเคยทำตัวดี  เคยเอาอกเอาใจก็เลิกเอาอกเอาใจ และผู้หญิงที่เคยแต่งหน้าแต่งตาแบบว่าเวลาที่เคยเจอกันตอนที่เป็นแฟนเวลาที่นัดกันเที่ยวผู้หญิงก็จะแต่งหน้าแต่งตา แต่งตัวสวย ๆ ไปหา แต่พอมาใช้ชีวิตคู่อยู่บ้านเดียวกันนอนร่วมเตียงเดียวกัน ก็จะเจอความไม่มีเสน่หาของกันและกัน ชีวิตก็จืดชืดไปแล้ว และถ้าทางการสื่อสารมันไม่ได้เป็นไปในทางบวก ไม่ได้ Upgrade ขึ้นมาเป็นเกรด 3 ความเมตตานี่ ชีวิตคู่ของทั้งสองคนก็จะจบลง และหลายคู่ที่เคยมีความรักต่อกันก็จะกลายมาเป็นความแค้นต่อกัน

เกรดที่ 4 รักยอมทุกข์เพื่อสุขเธอ คือ การอุทิศ รักอย่างอุทิศ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Devoted Loveเช่น ความรักที่พ่อแม่มีให้แก่ลูกยอมที่จะทำทุกอย่างทุ่มเททุกอย่างก็เพื่อลูก เป็นความรักอย่างอุทิศของพ่อ แม่ ที่มีให้กับลูก ตัวเอง

หมอ พยาบาลรักคนไข้จะเป็นเกรด 3 ครู นักเรียนก็เกรด 3 เราเลี้ยงสุนัขไว้ที่บ้านความรักของเราที่มีต่อสุนัข ของเราก็เกรด 3 แต่ความรักของเกรด 2 นี่จะนำไปสู่ความหึงหวง เวลาที่เป็นแฟนกันเกิดหึงหวงกันนี่ก็ยังสุข ๆทุกข์ ๆ และถ้าสามารถที่จะ Upgrade ขึ้นมาที่เกรด 3 นี่ก็จะเป็นความเมตตา การให้อภัยซึ่งกันและกัน ความรักของเกรดที่ 3 จะมีคุณสมบัติอยู่ 3 ข้อ ก็คือ

ข้อ 1 อะไรก็ตามที่ทำให้คนรักของเรามีความสุข เราก็จะทำสิ่งนั้นบ่อย ๆ
ข้อ 2 อะไรก็ตามที่ทำให้คนรักของเรามีความทุกข์ เสียใจ เจ็บใจ ไม่ชอบ เราก็จะหลีกเลี่ยง
ข้อ 3 เมื่อไหร่ก็ตามที่คนรักของเราทำให้เรามีความทุกข์ เสียใจ เจ็บใจ ไม่ชอบ เราก็พร้อมที่จะให้อภัย

เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตแบบสามี ภรรยานี่จะต้องไปให้ถึงเกรดที่ 3 ก่อน ถ้าไปได้แค่เกรดที่ 2 เกิดความหึงหวง ทะเลาะตบตีกัน ชีวิตคู่ก็จบลงไม่มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่เมตตาต่อกัน ถ้าคนไม่รู้หลักการ ใช้ชีวิตคู่ ชีวิตคู่ก็จะจบลง ทันที ความสัมพันธ์นั้นเข้ากับความรู้สึกจะบวกด้วยการสื่อสารและบวกด้วยการปรับตัว
- ความรู้สึก ก็คือ ความรัก
- การสื่อสาร ก็คือ บวกกับลบ
- การปรับตัว ก็คือ การที่คนสองคนมีความแตกต่างกัน และก็สามารถใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทุกข์

์ คนเราสามารถอยู่กับความไม่เหมือนกันได้ การปรับตัวจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. คนหนึ่งปรับพฤติกรรมของตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของอีกฝ่าย เช่น เป็นคนที่สูบบุหรี่ แต่ภรรยา เราไม่ชอบ เราก็เลิกบุหรี่ เลิก เหล้า เลิกรับประทานอาหารมุมมาม เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่ปรับตัวได้

2. ถ้าคนที่เราอยู่ด้วยแล้วเขาไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเขาได้ เพราะว่าเขาเป็นอย่างนี้ด้วย นิสัยใจคอ ด้วยบุคลิกภาพของเขา เอง เราก็ต้องปรับใจยอมรับในพฤติกรรมของเขาว่าเรายอมรับเขาได้ไหม

การปรับใจของตัวเราเองนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราไม่ชอบ อย่างไม่เป็นทุกข์มากนักก็เหมือนกับ เวลาเราอยู่กรุงเทพฯ อย่างนี้มีหลายอย่างที่เราไม่ ชอบ เช่น รถติด เราเองก็แก้ไขอะไรไม่ได้แต่ว่าเราสามารถปรับใจยอมรับมันได้ไหม ในขณะที่เรายังต้องแสวงหาประโยชน์ต่อการอยู่กรุงเทพฯ ต่อไปซึ่งเราก็ต้องยอมรับกับสภาพรถติด ให้ได้ ถ้าเผื่อว่า สิ่งไหนเราสามารถเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยน เปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของอีกฝ่าย หรือไม่ก็ปรับใจตัวเอง ให้อยู่กับสิ่งนั้นอย่างไม่เป็นทุกข์ ก็คล้าย ๆ กับการยอมรับ

 

 

ข้อมูลจาก : ผศ.นายแพทย์ พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ
สูตินารีแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญการตอบปัญหาเพศศึกษา

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook