เจ้านายดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ

เจ้านายดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ

เจ้านายดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อคุณพิสูจน์ผลงานจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว ก็จะถึงวันที่คุณได้ก้าวขึ้นเป็นเจ้าคนนายคนกับเขาบ้าง แต่ตำแหน่งหัวหน้านั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบมากโข ที่ยากที่สุดคือการบริหารลูกน้องให้ทำงานได้สัมฤทธิ์ผลและมีความสุขในที่ทำงานด้วยถ้ายังไม่รู้ว่าการเป็นหัวหน้าที่ดีต้องทำอย่างไร ฟังทางนี้ แบ่งงานมิใช่โยนงาน เมื่อใดที่มีการทำงานเป็นทีมต้องมีการแบ่งงานเป็นธรรมดา ไม่ว่าหัวหน้าจะเก่งกาจเพียงใดเขาไม่สามารถทำงานได้สำเร็จเพียงคนเดียว หัวหน้าจะมีหน้าที่ในการแบ่งงานให้กับลูกน้องตามความเหมาะสม อาจดูจากความชำนาญเฉพาะด้านของลูกน้อง หรือดูจากปริมาณงานที่ลูกน้องถืออยู่ในมือ อย่างไรก็ดี การแบ่งงานไม่ใช่การโยนงานให้พ้นตัว คุณแบ่งงานเพื่อที่ตัวคุณจะได้มีเวลาให้กับเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่ารวมทั้งเพื่อให้ลูกน้องได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง อย่างไรก็ดีต้องจำไว้เสมอว่าเมื่อได้แบ่งงานไปแล้วแปลว่าคุณได้มอบหมายอำนาจตัดสินใจให้เขาด้วย มิใช่ว่าคุณให้งานเขาทำแต่ไม่ให้อำนาจใดเลย รวมทั้งงานที่แบ่งให้นั้นต้องเป็นงานที่มีความท้าทายอยู่ด้วยไม่ใช่งานเอกสารน่าเบื่อ หรืองานจุกจิกที่คุณขี้เกียจทำ ถ้าทำเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการที่คุณโยนงานใส่เขาเท่านั้นเอง บอกผลที่ต้องการมิใช่วิธีทำ ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า เมื่อคุณตัดสินใจเลือกรับพนักงานเข้ามาแล้ว แปลว่าคุณยอมรับในความสามารถของเขาแล้วในระดับหนึ่ง อีกทั้งต้องไม่ลืมว่าคนทุกคนมีศักดิ์ศรีในตนเองและล้วนอยากมีโอกาสได้แสดงศักยภาพของตน ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่คุณต้องสั่งงาน ขอให้ยึดผลลัพธ์เป็นตัวตั้ง โดยไม่ต้องบอกวิธีการทำโดยละเอียด คุณอาจให้กรอบหรือแนวทางในการทำงานเพื่อไม่ให้เขานอกลู่นอกทางนักแต่ควรให้เขาได้พยายามคิดหาหนทางด้วยตัวเอง วิธีเช่นนี้จะทำให้ลูกน้องกระตือรือร้นที่จะแสดงฝีมืออย่างเต็มที่เนื่องจากเขารู้สึกว่าคุณให้เกียรติและเชื่อใจ นอกเหนือจากนี้ยังทำให้ตัวคุณได้ตระหนักถึงความสามารถที่แท้จริงของลูกน้องอีกด้วย คุณอาจได้พบว่าคุณประเมินลูกน้องไว้ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร มันจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณรวมถึงบริษัท ในการที่คุณจะปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ควบคุมมิใช่บังคับ แม้ว่าการทำงานเป็นทีมจะมีการแบ่งงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบกันชัดเจนแล้ว แต่ในที่สุดทุกเรื่องต้องกลับมารายงานผลเพื่อให้หัวหน้างานเป็นผู้ตัดสินใจขั้นเด็ดขาดในที่สุด หรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามที่ควรจะเป็น หัวหน้างานต้องควบคุมงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ทีมอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องตลอดระยะเวลาที่โครงการดำเนินไป สิ่งที่ต้องระวังคือความเหมาะสมของระยะห่างระหว่างคุณกับลูกน้อง ต้องเว้นช่องวางให้ลูกน้องได้มีที่สำหรับหายใจบ้าง อย่าทำให้เขาต้องรู้สึกว่าถูกชี้นิ้วสั่งจนกระดิกตัวไปทำอะไรเองไม่ได้เลย วิธีการควบคุมที่ดีและไม่ทำให้ลูกน้องอึดอัดทำได้โดยการนัดประชุมอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องความคืบหน้าของโครงการและปัญหาที่พบ เพื่อที่หัวหน้าจะได้ยื่นมือเข้าไปช่วยได้ทันเวลาในกรณีมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น ให้แนวทาง มิใช่บงการ แน่นอนว่าหนึ่งในหน้าที่ของหัวหน้าก็คือการสั่งการลูกน้องเพื่อสื่อสารความต้องการของตนเองและขององค์กร อย่างไรก็ดีพึงระลึกไว้เสมอว่าในการสื่อสารใดๆ ก็ตาม ต้องระวังเรื่องโทนเสียงและคำพูดให้ดี อย่าใช้คำพูดหรืออารมณ์ที่แสดงออกในลักษณะบงการราวกับว่าลูกน้องเป็นข้าทาสบริวารของคุณ แม้ว่าคุณจะมีอำนาจมากเพียงใดหรือมีตำแหน่งสูงแค่ไหนก็ไม่ควรลืมในข้อนี้เป็นอันขาด ลูกน้องมักจะรู้สึกเกรงใจเจ้านายที่มีมิตรจิตมิตรใจห่วงใยลูกน้องมากกว่าเจ้านายเจ้าอารมณ์ที่เอาแต่ออกคำสั่ง ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องมีการสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ยึดหลักใจเขาใจเรา พูดจาให้น่าฟังอยู่เสมอ จำไว้ว่าการสั่งงานทุกครั้งเป็นเสมือนการแนะแนวทำงานให้แก่ลูกน้องหากลูกน้องสงสัยสามารถยกมือถามได้เสมอไม่ใช่การเอาแต่สั่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่รับฟังอะไรเลย แถมยังใช้อารมณ์อีกด้วย นั่นจะทำให้ลูกน้องกลัวคุณจนหงอ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อการทำงาน หรือความภักดีต่อองค์กรเลย ++ รับ sms อ่านเคล็ดลับ tips ดีๆ น่ารู้ Update ให้คุณทุกวัน รายละเอียด AIS กด *48880521118 Dtac กด *19888821118 True Move กด *48880521118

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เจ้านายดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ

เจ้านายดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ
เจ้านายดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook