พูดอย่างไรให้น่าฟัง

พูดอย่างไรให้น่าฟัง

พูดอย่างไรให้น่าฟัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สาวไทยอย่างเราๆ มักไม่ค่อยได้ฝึกพูดต่อหน้าคนเท่าไร และมักจะเกิดอาการอายหน้าแดง หรือไม่ก็ก้มหน้าก้มตาพูดให้จบๆ ไป แม้ไอเดียดีแค่ไหนถ้านำเสนอไม่ดีก็ทำให้งานพังราบคาบได้เหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในระดับการทำงานใดก็ตาม การพูดหรือนำเสนองานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คุณดูน่าเชื่อถือและดูดีต่อหน้าคนอื่นๆ เพราะการพูดต่อหน้าคนมากมายเป็นเครื่องวัดความเป็นผู้นำ ความมั่นใจในตัวเอง รวมทั้งพลังความสามารถที่ออกมาจากตัวคุณได้ ทำให้คุณมีภาพลักษณ์ที่มั่นคง ทำให้คนที่ตอบสนองงานจากคุณจะปฏิบัติตามอย่างเต็มกำลังและเชื่อถือในสิ่งที่คุณพูด การพูดที่ดีย่อมแสดงถึงความคิดเชิงเหตุผล การจัดลำดับความสำคัญบวกประสบการณ์ ความคิดเห็น และการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังอยากฟังพร้อมคิดตามต่อไป

งาน, คุยงาน, การพูด

สำคัญที่จุดเริ่มต้น ก่อนที่คุณจะเข้าสู่ข้อมูลที่เตรียมมา อาจเริ่มต้นด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ลม ฟ้า อากาศ คำคมจากคนดัง หรือประสบการณ์ตรงจากตัวคุณเอง เพราะจะทำให้คุณดูไม่แตกต่างและลดอคติกับคนที่ตั้งแง่ในตัวคุณได้ นอกจากนี้ ยังทำให้คุณเป็นส่วนหนึ่งในห้องประชุมได้ไม่ยากเย็น จากนั้นให้คุณกล่าวว่าวันนี้จะพูดเรื่องอะไรบ้าง และน่าจะเสร็จภายในเวลาเท่าไรเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ฟัง ทั้งนี้คุณสามารถระบุช่วงเวลาที่ผู้ฟังสามารถซักถามได้ด้วย พูดตรงประเด็นชัดเจน แม้จะปูพื้นด้วยเรื่องรอบๆ ตัวก่อน แต่คุณต้องวกกลับประเด็นให้รวดเร็ว และพูดเนื้อหาตามลำดับแทรกเรื่องราวภายนอกเล็กน้อย เพื่อป้องกันความน่าเบื่อและคุณเองก็จะได้รู้สึกผ่อนคลายขึ้นด้วย คนฟังจะฟังคุณอย่างเข้าใจและไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อคุณพูด เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ยิ่งคุณพูดนานเท่าไร ความสนใจก็จะไปอยู่ที่จุดอื่นมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น พูดกระชับและตรงประเด็นจะทำให้ภาพลักษณ์ดีกว่า ภาษากายสำคัญ ท่วงท่าที่คุณเดินออกไปยังหน้าห้องหรือบนเวที จะต้องเดินอย่างสง่างาม ไม่เดินเร็วหรือช้าเกินไป เพื่อให้ดูมั่นใจและพร้อมสำหรับการพูดในครั้งนี้ นอกจากนั้นหากไม่มีแท่นโพเดียม คุณอาจจะไม่รู้ว่าจะวางมือไว้ที่ไหนดี ให้คุณใช้มือให้เป็นประโยชน์ในการอธิบายสิ่งที่คุณกำลังพูด เช่น โครงการนี้มันใหญ่แค่ไหน มีกี่ปัญหาที่เราจะต้องแก้ เพื่อให้คนสนใจคุณมากขึ้น แต่อย่าเอามือล้วงกระเป๋า ไขว้หลัง หรือยืนตัวตรงราวกับเคารพธงชาติ มันดูไม่เป็นธรรมชาติ คุณไม่ต้องเก๊กจนหน้าตาดุและจริงจังเกินควร ปล่อยตัวตามสบาย ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่ผู้ฟัง แต่ก็ไม่ต้องทำตลกหรือดูขำขันจนเกินไปนัก เพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ในมือคุณดูไม่น่าเชื่อถือ ที่สำคัญที่สุด คือการสบตาผู้ฟัง หรือ Eye Contact เพราะเราจะทราบได้ว่าตอนนี้ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร เข้าใจสิ่งที่เราพูดหรือไม่ หรือกำลังง่วงนอนอยู่ คุณจะได้เน้นย้ำจุดที่สำคัญเพื่อให้ทุกๆ คนทราบในสิ่งที่คุณต้องการสื่อสาร ดังนั้น อย่าก้มหน้าก้มตาอ่านโน้นเด็ดขาด อุปกรณ์ช่วยคุณได้ นอกจากการเตรียมพร้อมตัวเองแล้ว อุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยคุณเสนองนได้ เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจ็กเตอร์ ไมโครโฟน คุณควรพูดคุยและเรียมอุปกรณ์กับช่างเทคนิค รวมทั้งลองใช้ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เปิดไฟล์ไม่ได้ หรือหน้าจอไม่ติด คุณควรสร้างข้อมูลให้น่าสนใจ มีรูปภาพประกอบไว้เพื่อให้ผู้ฟังได้พักสายตา เช่น ถ้าคุณพูดถึงยอดขายเครื่องดื่มในฤดูร้อน อาจจะใช้โปรแกรม Powerpoint ในการนำเสนอข้อมูลและแทรกรูปภาพ เช่น ชายหาด แหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้ฟังคิดตามหรือมีไอเดียเสนอแนะอย่างอื่นได้ด้วย

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ พูดอย่างไรให้น่าฟัง

พูดอย่างไรให้น่าฟัง
พูดอย่างไรให้น่าฟัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook