“ยากันยุงแบบขด” หนึ่งในสัญลักษณ์ฤดูร้อนของญี่ปุ่น

“ยากันยุงแบบขด” หนึ่งในสัญลักษณ์ฤดูร้อนของญี่ปุ่น

“ยากันยุงแบบขด” หนึ่งในสัญลักษณ์ฤดูร้อนของญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกปีเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ยุงเป็นหนึ่งในแมลงที่ก่อความรำคาญให้คนญี่ปุ่นไม่น้อย ปัจจุบันแม้จะมียากันยุงหลากหลายแบบแต่ยากันยุงแบบขดก็ยังเป็นยากันยุงที่ได้รับความนิยมจากคนญี่ปุ่นว่ามีประสิทธิภาพในการฆ่าและไล่ยุงได้เป็นอย่างดี มารู้จริงเรื่องยากันยุงแบบขดของคนญี่ปุ่นกันนะคะ

ความเป็นมาของยากันยุงแบบขด

ยากันยุงแบบขดมีชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า คาโทริเซ็นโค (蚊取り線香) ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยเมจิ ที่เริ่มจากการใช้ยากันยุงที่เป็นแท่งคล้ายธูปขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามยากันยุงแบบแท่งนั้นเผาไหม้เร็วและหักได้ง่าย จนภายหลังจึงได้มีการคิดยากันยุงขดแบบก้นหอย ซึ่งธูปมีความยาวและความหนาเพิ่มขึ้นโดยไม่เปลืองพื้นที่และทำให้จุดได้ต่อเนื่องยาวนาน 6-8 ชั่วโมง

สารประกอบในยากันยุง

ยากันยุงแบบขดทำจากส่วนผสมของไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) ที่มีฤทธิ์ยาฆ่าแมลงที่สกัดมาจากดอกไพรีทรัม (Pyrethrum) ซึ่งเป็นดอกไม้ในตระกูลเบญจมาศ เมื่อยากันยุงถูกจุดไพรีทรอยด์จะลอยออกมาพร้อมกับควันกระจายไปในอากาศซึ่งฆ่ายุงและไล่ไม่ให้ยุงเข้ามา นอกจากจะมีฤทธิ์ในการฆ่ายุงแล้วไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงปีกแข็งและปลาน้ำจืด เช่น ปลาทอง ด้วย

ยากันยุงแบบขดเป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่

ไพรีทรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่ายุงโดยการเข้าไปทำลายระบบประสาทของยุงและเป็นเหตุให้ยุงตายจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เนื่องจากสารไพรีทรอยด์จะถูกย่อยสลายในร่างกายมนุษย์อย่างรวดเร็ว จึงปลอดภัยต่อเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้หญิงมีครรภ์ด้วย อย่างไรก็ตามไม่ควรจุดยากันยุงพร้อมกันหลายขดและวางไว้ในที่ไม่ระบายอากาศเพราะอาจจะมีผลเสียต่อร่างกายได้  อีกทั้งไม่ควรใช้ยากันยุงแบบขดหากมีผู้ป่วยโรคหอบหืดอยู่ด้วย

วิธีการใช้ยากันยุงแบบขดให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

วิธีการใช้ยากันยุงแบบขดให้มีประสิทธิภาพทำได้โดยการวางยากันยุงไว้กลางห้องเพื่อให้ควันกระจายไปทั่วพื้นที่ห้อง และควรวางไว้ในทิศทางลมเพื่อให้ลมพัดควันไปได้ในวงกว้าง

หลังจากการจุดยากันยุงแบบขดแล้วควรวางไว้ให้ห่างจากวัสดุที่ติดไฟง่าย และหากวางไว้ในบ้านก็ควรวางไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

อุปกรณ์ที่ใช้วางยากันยุงแบบขด

การจุดยากันยุงแบบขดแล้ววางไว้เฉยๆ บนเหล็กที่บรรจุมากับกล่องนั้นนอกจากจะไม่สวยแล้วก็อาจจะเป็นอันตรายหากเผลอไปโดนไฟที่จุดอยู่ จึงมีการทำภาชนะแบบต่างๆ สำหรับวางยากันยุงเพื่อรองรับขี้เถ้าจากเผาไหม้ยากันยุง ป้องกันการสัมผัสโดนไฟ สร้างความสวยงามให้แก่บ้านเรือ นและเพื่อความสะดวกในการพกพา คนญี่ปุ่นเรียกภาชนะเหล่านี้ว่าคายาริคิ (蚊遣り器) ซึ่งมีทั้งแบบกล่องโลหะพร้อมฝาที่ให้ควันกระจายได้ดีและแบบที่เป็นเครื่องปั้นดินเผา

ที่วางยากันยุงแบบขดทำจากเครื่องปั้นดินเผาที่วางยากันยุงแบบขดทำจากเครื่องปั้นดินเผา

ที่วางยากันยุงแบบขดทำจากโลหะที่วางยากันยุงแบบขดทำจากโลหะ

ที่วางยากันยุงแบบขดทำจากโลหะ แบบวางตั้งและพกพาที่วางยากันยุงแบบขดทำจากโลหะ แบบวางตั้งและพกพา

สมัยก่อนเรามักจะรู้สึกรำคาญกลิ่นคล้ายธูปที่ติดตัวหลังจากใช้ยากันยุงแบบขด แต่ปัจจุบันนี้สามารถเลือกซื้อยากันยุงที่ผสมน้ำมันหอมกลิ่นต่างๆ ได้แก่ กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นตะไคร้และกลิ่นเปลือกส้ม เป็นต้น ได้ง่าย นอกจากไล่ยุงแล้วยังให้กลิ่นหอมด้วยค่ะ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook