วิธีรับมือปัญหาสัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้าน

วิธีรับมือปัญหาสัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้าน

วิธีรับมือปัญหาสัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนึ่งในปัญหาที่กวนใจการอาศัยร่วมกันในสังคม คือ การที่เพื่อนบ้านไม่ดูแลสัตว์เลี้ยงจนรบกวนหรือสร้างความเสียหายกับบ้านใกล้เรืองเคียงอย่างที่หลายคนเคยได้ยินกันตามข่าว เช่น สุนัขกัดเด็กที่เดินผ่าน แมวขับถ่ายในบริเวณบ้านของเพื่อนบ้าน เป็นต้น ถ้าใครกำลังเผชิญกับสถานการณ์ “สัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้านก่อปัญหา” ไม่ต้องวิตกไป เพราะเรามีวิธีรับมือปัญหาแบบเบา ๆ จนถึงขั้นเด็ดขาดกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ไม่สนใจรับผิดชอบ

ดูแลสัตว์เลี้ยงในบ้านของเราอย่างดี

ทุกอย่างควรเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน ถ้าคุณเลี้ยงสัตว์ ก็ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้เขาไปรบกวนเพื่อนบ้านคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียง ความสะอาด กลิ่น และการดูแลไม่ให้ออกไปรบกวนคนอื่น สำหรับใครที่เลี้ยงน้องหมาน้องแมว อ่านวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักเพื่อไม่กระทบเพื่อนบ้าน

เจรจาขอความร่วมมือกับเจ้าของสัตว์เลี้ยง

ลองพูดคุยกับเพื่อนบ้านเพื่อให้รับรู้ถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น แต่ขอให้เป็นไปด้วยเหตุผล ความใจเย็น และความสุภาพ การใช้อารมณ์นอกจากอาจไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังอาจทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกัน และเพื่อนบ้านอาจไม่อยากปรับปรุงการดูแลสัตว์เลี้ยงหรือทำตามสิ่งที่คุณขอได้

ขอให้คนกลางช่วยเจรจา

เมื่อลองพูดคุยดูแล้ว ไม่ได้ผล หรือรู้ดีว่ามีความไปได้ยากที่จะเพื่อนบ้านรายนี้จะรับฟังและแก้ปัญหา ควรหาคนกลางมาช่วยเจรจา สำหรับผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโด ให้แจ้งปัญหาความเดือดร้อนกับนิติบุคคล ซึ่งจะส่งตัวแทนมาพูดคุยหรือทำจดหมายแจ้งให้แก้ไขปัญหา หากไม่ได้อยู่อาศัยในโครงการใดหรือนิติบุคคลช่วยแล้วก็ยังไม่ได้ผล ให้ร้องทุกข์กับสำนักงานเขตหรือเจ้าหน้าที่อำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงตรวจพื้นที่ และทำหนังสือตักเตือนเพื่อนบ้าน

พึ่งพากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง

เมื่อใช้วิธีต่าง ๆ ในข้างต้นแล้ว เพื่อนบ้านยังคงเพิกเฉยต่อปัญหาความเดือดร้อนจากสัตว์เลี้ยง ก็ถึงเวลาที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย

กรณีสัตว์เลี้ยงสร้างอันตราย

ไม่ว่าจะทำอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน เช่น พังรั้ว ไล่กัดคน ให้จัดการโดยบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้เป็นหลักฐานและแจ้งความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337

“ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

กรณีสัตว์เลี้ยงสร้างความเสียหาย

ไม่ว่าจะต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน เช่น ขับถ่ายในที่สาธารณะหรือเขตบ้านของบุคคลอื่น ทำร้ายคน กัดรองเท้า ผู้เสียหายสามารถนำหลักฐานเข้าแจ้งความโดยอาศัยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433

“ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น”

กรณีสัตว์เลี้ยงสร้างการรบกวน

ที่พบบ่อย คือ สุนัขเห่าหอนตอนดีก ๆ ซึ่งเป็นการส่งเสียงดังรบกวนการนอนหลับของเพื่อนบ้าน และเจ้าของไม่รักษาความสะอาดสัตว์เลี้ยงจนทำให้ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเพื่อนบ้าน สำหรับคนกรุงเทพฯ มีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร หมวด 3 เรื่องการควบคุมการเลี้ยงสุนัข พ.ศ. 2548

ข้อ 16 (3) ว่า “ควบคุมสุนัขมิให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ เช่น ก่อให้เกิดเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นต้น”

ข้อ 16 (4) ว่า
“รักษาสถานที่เลี้ยงสุนัขให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง”

สำหรับคนจังหวัดอื่น ๆ นั้น ต้องดูตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นที่บังคับใช้ แต่ก็มีกฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397

“ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท”

โดยการนำสุนัขมาเลี้ยงถือเป็นเจตนาที่เล็งผลได้ว่า สามารถก่อเสียงดังรบกวน และการไม่ดูแลรักษาความสะอาดสัตว์เลี้ยงก็ถือเป็นเจตนาที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นได้

อันที่จริง ปัญหาสัตว์เลี้ยงไม่ใช่เรื่องใหญ่และแก้ไขได้ไม่ยาก หากทั้งเราและเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ รับผิดชอบการเลี้ยงสัตว์อย่างใส่ใจ และให้ความร่วมมืออย่างดีต่อกันและกัน แต่ถ้าเจอเพื่อนบ้านตัวป่วน ก็จำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาช่วยจัดการ และถ้ายังมีเรื่องปวดหัวอื่น ๆ อีก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook