จอดรถขวางหน้าบ้าน ปัญหากวนใจที่ใช้กฎหมายแก้ได้

จอดรถขวางหน้าบ้าน ปัญหากวนใจที่ใช้กฎหมายแก้ได้

จอดรถขวางหน้าบ้าน ปัญหากวนใจที่ใช้กฎหมายแก้ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บ่อยครั้งปัญหาเรื่องเล็ก ๆ รอบตัว ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่และเกิดความขัดแย้งขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพียงเพราะเผลอไปละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้อื่น หรือคิดแค่ว่าเรื่องที่ทำลงไปนั้นใคร ๆ เขาก็ทำกัน อย่างเช่นกรณีการจอดรถริมถนนหรือการจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น

บางครั้งผู้จอดอาจจะมองว่าไม่เป็นอะไร จอดเพียงแค่แป็บเดียว หรือระยะเวลาสั้น ๆ แต่บ่อยครั้งกลับสร้างความหงุดหงิดและความลำบากใจให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงเจ้าของบ้านที่ต้องการใช้พื้นที่ในการขับรถเข้า-ออกภายในบ้านเป็นอย่างมาก จนเกิดข้อพิพาทและเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมา เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว

ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดการทะเลาะเบาะแว้งและการเกิดข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้น ผู้ใช้รถทั้งหลายไม่ควรทำการจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น มิเช่นนั้นอาจทำให้เสี่ยงเสียค่าปรับโดยไม่รู้ตัว

ข้อกฎหมายควรรู้ เมื่อมีรถจอดขวางหน้าบ้าน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันก่อนดีกว่าว่ามีคำไหนบ้างที่เราควรรู้ นั่นก็คือ

1. ถนน คือ ทางสัญจรทางบก เพื่อใช้ในการเดินทางทั้งเดินเท้าและการเดินทางด้วยยานพาหนะ โดยแบ่งเป็นถนนทางเดียว (สัญจรทิศทางเดียว) และถนนสวนทางกัน (สัญจรไปมาสวนทางกัน)

2. ทาง คือ แนวหรือวิถีที่ใช้สัญจรไปมา เช่น ทางเท้า สะพาน ทางเดินรถ

3. สัญจร คือ การผ่านไปมา

ดังนั้น ความหมายโดยรวมของถนนนั้นก็คือ ใช้เพื่อสัญจรไปมา ซึ่งสามารถหยุดรับ-ส่งผู้คนได้ แต่ไม่สามารถจอดพักรถ หรือใช้เพื่อเป็นลานจอดรถได้ ดังนั้นคนที่จอดรถริมถนนขวางทางจราจรหรือจอดรถขวางทางบ้านคนอื่นถือว่ามีความผิด

นอกจากนั้นการจอดรถขวางทางหน้าบ้านคนอื่นยังถือว่าเป็นการรบกวนผู้อื่น ทำให้เจ้าของบ้านได้รับความเดือนร้อนและผลกระทบอันเนื่องมาจากการขัดขวางทางสัญจร อีกทั้งยังเกิดความรำคาญใจ เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 ระบุไว้ว่า

“ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือนร้อนรำคาญ ต้องระว่างโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณะสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชานายจ้างหรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท [ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558]”

เมื่อรู้กันอย่างนี้แล้ว หากใครที่ยังจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่นอยู่ อาจจะต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคสอง โดยการกระทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญและเดือดร้อน เพราะไม่สามารถขับรถเข้า-ออกภายในบ้านได้อย่างสะดวก

การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

เมื่อเกิดปัญหาขอพิพาทขึ้นในกรณีที่มีการจอดรถขวางประตูหน้าบ้าน ให้ทำการแก้ปัญหาดัวยวิธีขั้นต้นดังต่อไปนี้

กรณีเจ้าของบ้าน

1. ติดต่อเจ้าของรถแจ้งเตือนหรือบอกกล่าวให้รับทราบในกรณีเจอรถจอดขวางหน้าบ้าน

2. ติดป้ายประกาศห้ามจอดที่รัวประตูบ้าน พร้อมระบุข้อความแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับรถที่ผ่านมาได้ทราบ

3. กรณีมีธุระเร่งด่วน ทำการเลื่อนรถออกจากบริเวณหน้าบ้าน (กรณีเคลื่อนย้ายได้)

4. เขียนโน้ตกระดาษแจ้งให้ทราบด้วยข้อความสุภาพ

กรณีเจ้าของรถ

1. หากมีความจำเป็นที่จะต้องจอดรถหน้าบ้านคนอื่นเพื่อทำธุระ ควรทิ้งเบอร์ติดต่อไว้ที่หน้ารถ เผื่อมีกรณีฉุกเฉิน หรือเจ้าของบ้านต้องการให้ขยับรถของจากหน้าบ้าน เจ้าขอบ้านจะได้ติดต่อได้สะดวก

2. เมื่อได้ที่จอดแล้วและรู้ว่าจะต้องจอดขวางทางเข้า-ออก หรือจอดซ้อนคัน จะต้องมั่นใจว่ารถของเราสามารถเคลื่อนที่ได้ และผู้อื่นสามารถเลื่อนรถของเราได้ตลาดเวลา ในกรณีที่เขามีธุระเร่งด่วนและเราไม่ได้อยู่บริเวณนั้น

3. เข้าเกียร์ N หรือเกียร์ว่าง เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเลื่อนรถเราให้ย้ายตำแหน่งพ้นระยะทางกีดขวาง

4. หากไม่จำเป็นหรือมีธุระเร่งด่วนจนต้องจดรถหน้าบ้านคนอื่น ควรจอดรถในบริเวณลานจอดรถที่จัดเตรียมไว้ให้

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขั้นต้นของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อป้องกันและไม่ให้เกิดกรณีหรือข้อพิพาทหรือเกิดความขัดแย้งดังกล่าว

แต่หากเกิดกรณีที่ยังมีเหตุการณ์จอดรถขวางหน้าบ้านอยู่หลังจากมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นไปแล้ว ควรแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทหรือได้รับบาดเจ็บและเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ดำเนินการขั้นสุดท้าย แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 

หากไม่สามารถพูดคุยกันได้ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดความรุนแรง ควรแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและหาทางออกในเรื่องที่เกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงระหว่างเจ้าของบ้านและเจ้าของรถที่จอดขวางหน้าบ้าน เพื่อป้องกันการบันดาลโทสะและใช้ความรุนแรง

โดยเจ้าของบ้านสามารถแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับอื่นผู้เกี่ยวข้องช่วยเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาได้ดังนี้

1. เจ้าของรถ เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรพาเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน หรือนิติบุคคลไปช่วยในการเจรจา

2. นิติบุคคล เป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดการดูแลความเรียบร้อย และจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้กับลูกบ้าน รวมถึงคอยประสาน อำนวยความสะดวกเรื่องต่าง ๆ ให้กับลูกบ้าน ดังนั้นหากเกิดกรณีจอดรถขวางหน้าบ้านเป็นประจำ แจ้งแล้วก็ยังมีการจอดรถขวางหน้าบ้านอยู่ ควรแจ้งเรื่องให้ฝ่ายนิติบุคคลให้ทราบและทำการแจ้งว่ากล่าวตักเตือน

3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน หากหมู่บ้านไหนที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี จะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยดูแลลูกบ้าน รวมถึงคอยช่วยเหลือให้เรื่องอื่น ๆ ของลูกบ้าน

4. ตำรวจ ถือเป็นคนกลางในลำดับสุดท้าย เนื่องจากอาจเกิดเป็นคดีความกันได้ ทางที่ดีควรพูดคุยเจรจาตกลงกันได้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แต่ถ้าพูดคุยกันไม่ได้จริง ๆ ก็ให้เจ้าของบ้านแจ้งความดำเนินคดี

5. ศาลยุติธรรม หากเกิดกรณีร้ายแรงจนเกินขอบเขต ร้ายแรง และไม่สามารถยอมความกันได้ ควรทำการแจ้งทนายดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม เพื่อหาข้อยุติกรณีที่เกิดขึ้น

ตัวเลือกข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเท่านั้น และการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหานั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่พบเจอด้วยเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook