เกษตรกรต้นแบบแนะ ปลูกผักให้มีกินทั้งปี ด้วยเทคนิคหลอกแมลง ปล่อยระบบนิเวศจัดการกันเอง

เกษตรกรต้นแบบแนะ ปลูกผักให้มีกินทั้งปี ด้วยเทคนิคหลอกแมลง ปล่อยระบบนิเวศจัดการกันเอง

เกษตรกรต้นแบบแนะ ปลูกผักให้มีกินทั้งปี ด้วยเทคนิคหลอกแมลง ปล่อยระบบนิเวศจัดการกันเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในงานเปิดนิทรรศการ “Enjoy Science Careers: สนุกกับอาชีพวิทย์ 3” ที่ผ่านมา หนึ่งในบูทที่มาจัดนิทรรศการครั้งนี้คือบูทเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Smart Famer ที่นำโดยคุณปลิว-พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เกษตรกรรุ่นใหม่เจ้าของฟาร์มผักออร์แกนิคแก้วพะเนาว์ในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งคุณปลิวสนใจและอยากเป็นเกษตรกรตั้งแต่ตนเองอายุ 15 ปี ปัจจุบันอายุ 27 ปี สามารถขยายพื้นที่ปลูกผักในจังหวัดมหาสารคามได้หลายร้อยไร่ แถมยังสร้างความยั่งยืนด้วยการให้ความรู้กับเกษตรกรที่ชินกับการปลูกผักตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้หันมาใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการทำการเกษตรจนปัจจุบันทั้งคุณปลิว และชาวบ้านต่างประสบความสำเร็จในการทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดอย่างจังหวัดมหาสารคาม

จากที่ได้มีการพูดคุยจึงถือโอกาสขอเทคนิคง่ายๆ หากใครคิดอยากจะปลูกผักข้างบ้านให้มีกินตลอดทั้งปี ทำอย่างไรให้โรคและแมลงต่างๆ ไม่มารบกวนคุณปลิวมีคำแนะนำพร้อมเทคนิคมาฝาก โดยก่อนอื่นใครที่อยากปลูกผักไว้ทานเองต้องเริ่มต้นจาก

1.เช็ทว่าตัวเองอยากกินผักอะไรบ้าง ซึ่งปกติผักข้างบ้านก็มักจะปลูกพริกขี้หนู คะน้า ผักบุ้ง ต้นหอม มะเขือ ถั่วฝักยาว

2.ตรวจสอบสภาพดินว่ามีความเหมาะสมในการปลูกผักหรือเปล่า สามารถซื้ออุปกรณ์วัดคุณภาพดินได้จากร้านค้าอุปกรณ์เกษตร

3.บำรุงดินให้มีความสมบูรณ์โดยการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพอัดลงไปผสมให้ได้มากที่สุด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักคลุกเคล้า สิ่งเหล่านี้จะทำให้ดินเกิดสิ่งมีชีวิตและคุณภาพดินดีขึ้น

4.ปลูกผักแบบผสมผสานเพื่อความหลากหลาย ทั้งแมลงและโรคต่างๆ จะได้งง ซึ่งอาจจับคู่ผักเหล่านี้ปลูกใกล้กัน เพราะผักที่เป็นคู่บัดดี้กันแมลงที่มากินผักประเภทหนึ่งก็จะไม่ชอบผักอีกประเภทหนึ่ง

5.คู่บัดดี้ของผักประเภทต่างๆ คือ

ผักบุ้ง-ต้นหอม

สลัด-ขึ้นช่าย

คะน้า-สลัด

พริกขี้หนู-ต้นหอม

อย่างเช่นปลูกพริกในกระถางข้างล่างปลูกต้นหอม เพราะโรคคนละตัว เพลี้ยไฟไม่ชอบต้นหอม แต่ชอบพริก แมลงวันทองไม่ชอบพริก แต่ชอบต้นหอม ดังนั้นมันจะช่วยกันในระบบนิเวศไม่ให้ระบาด การปลูกแบบผสมผสานทำให้ระบบนิเวศตัวดีตัวร้ายมากินกันเอง อย่างเช่นเต่าทองต้องกินเพลี้ย ทำให้เราไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง ผักที่ปลูกทานจึงปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์

ส่วนใครที่คิดอยากขยายจากการปลูกผักข้างบ้านไปสู่ภาคอุตสาหกรรมก็สามารถติดตามรายละเอียดต่างๆ จากเพจ บ้านสวนต้องชม ฟาร์มอินทรีย์ ของคุณพงษ์พัฒน์ได้เลยนะคะ ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอยู่เรื่อยๆ เช่นกัน

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook