หนูดี วนิษา เรซ...ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ

หนูดี วนิษา เรซ...ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ

หนูดี วนิษา เรซ...ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

S!Women รวบรวมข้อมูลโดย miracle หลายคนอาจจะพอคุ้นๆ หน้าตา และชื่อของเธอกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากที่เธอได้มาออกรายการจับเข่าคุย (ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 ก.ค.50) ...ทำให้เธอดังข้ามคืนเลยทีเดียว เพราะหลายคนต่างทึ่งในความเก่ง ความคิด ความสามารถ และความน่ารักของเธอ ....มาทำความรู้จักเธอกันเลยค่ะ

วนิษา เรซ หรือ หนูดี หญิงเก่งของไทย (อเมริกัน) วัย 30 ปี จบปริญญาตรีเกียรตินิยมด้าน ครอบครัวศึกษา Family Studies มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเลจพาร์ค สหรัฐอเมริกา ปริญญาโทเกียรตินิยมด้านวิทยาการทางสมอง (Neuroscience) ในโปรแกรม Mind, Brain and Education มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน - เป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ (เพียงคนเดียวในไทย) ผู้ชนะล้านที่ 15 รายการ "อัจฉริยะข้ามคืน" ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด www.geniuscreator.com ผู้อำนวยการโรงเรียนวนิษา www.vanessa.ac.th เป็นผู้นำเสนอแนวคิด - คนทั่วไปก็สร้างและฝึกฝนให้เป็นอัจฉริยะได้เช่นกัน - เขียนหนังสือ "อัจฉริยะสร้างได้"

พื้นฐานที่คุณแม่สร้างให้ โรงเรียนวนิษา ตั้งขึ้นโดยมี คุณชุมศรี รักษ์วนิชพงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งภายใต้แนวความคิดซึ่ง คุณชุมศรีได้ให้สัมภาษณ์ ไว้ในเอกสารชื่อว่า ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด ของ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2543 ว่า ...ดิฉันไม่เชื่อวิธีที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทำอยู่ จับเด็กมาขังในคอก ไม่อยากจะใช้คำนี้ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ บังคับเด็กมานั่งนิ่ง ๆ จำกัดศักยภาพการเติบโตของสมอง

"โชคดีที่คุณแม่วางพื้นฐานทางความคิดมาให้ตั้งแต่เด็กๆ โดยริเริ่มเปิดโรงเรียนสอนหนูดีคนเดียวก่อน ชื่อโรงเรียนวนิษา เป็นโรงเรียนที่ไม่ให้เด็กต้องมานั่งท่อง ก.ไก่ ข.ไข่ แต่ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ คือให้เด็กคิดแบบอิสระ กล้าที่จะถาม ซึ่งตอนแรกคิดว่าไม่มีใครสนใจ แต่พอคนเริ่มเห็นกิจกรรมต่างๆ ที่ทางรร.สอนเด็ก อย่างวิชาวิทยาศาสตร์ก็จะมีการพาเด็กไปดูสวน ธรรมชาติ ก็เลยสนใจส่งลูกๆ มาเรียนกัน" "แต่พอขึ้นมัธยมหนูดีก็ย้ายมาเรียนรร.สตรีล้วน ปรากฏว่าเราเข้ากับระบบการศึกษาไม่ได้ พอจบมัธยมหนูดีก็เลยตัดสินใจขอคุณแม่ไปเรียนต่อป.ตรีที่มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ อเมริกา พอจะต่อโทก็ประจวบเหมาะได้ศึกษาแนวความคิดขอโปรเฟสเซอร์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ที่ว่าคนเรามีความอัจฉริยะที่แตกต่างกันไป ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง" "พอทราบว่าเขากำลังเปิดสอนปริญญาโทหลักสูตรเกี่ยวกับสมองเป็นหลักสูตรแรกที่ฮาร์วาร์ด หนูดีก็เลยสมัครเข้าไปเรียนเพื่อนำความรู้มาพัฒนาระบบความคิดของคนไทยใหม่ ซึ่งตอนนี้รร.วนิษาก็เริ่มใช้ระบบนี้แล้ว อีกทั้งหนูดียังเปิดบริษัทอัจฉริยะสร้างได้ ให้คำปรึกษา 3 ส่วน คือ ดูแลเรื่องหลักสูตรโรงเรียน เทรนนิ่งครูและผู้บริหาร" "เป็นที่ปรึกษาการพัฒนาศักยภาพองค์กรต่างๆ และหลักสูตรครอบครัวอัจฉริยะ เปิดสัมนาสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะหนูดีคิดว่าครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างอัจฉริยะภาพที่ดีที่สุดค่ะ"

ในช่วงปริญญาตรี
 ชีวิตแต่ละวันผ่านไปด้วยความหนักและเหนื่อย ท่องหนังสือเยอะมาก เวลาที่จะออกกำลังกาย ออกไปเที่ยวกับเพื่อนก็น้อย เมื่อมารวมกับวัฒนธรรมของเพื่อนอเมริกัน ที่ชอบไปค้างอ้างแรมในป่า ไปปีนเขา พายเรือ เข้าถ้ำช่วงสุดสัปดาห์ ทำให้หนูดีต้องแพ็คกระเป๋าตามไปด้วย แต่ไม่ว่าจะไปป่าลึกแค่ไหน หรือ พายเรือไปค้างบนเกาะที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในกระเป๋าแบ็คแพ็ค คือ หนังสือเรียน หยิบออกมาทีไร โดนเพื่อนฝรั่งหัวเราะใส่ตลอด ว่ามาเที่ยวนะ อีกอย่าง วันจันทร์ก็ไม่ได้มีสอบด้วย แต่หนูดีก็กลัวสอบได้คะแนนไม่ดี จนต้องท่องหนังสือแทบทุกเวลาที่ว่าง ประกอบกับเป็น นิสัยดั้งเดิมที่ติดไปตั้งแต่เมืองไทยด้วย คือ กลัวสอบตก กลัวทำให้พ่อแม่ผิดหวัง แถมเราเป็นเด็กสองภาษา ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษภาษาเดียวเหมือนเพื่อนฝรั่ง หนูดีจึงต้องพยายามเป็นสองเท่า เวลาต้องเรียนหนักและไม่ได้ทำอะไรที่อยากทำ หรือ ไม่มีชีวิตสบายๆแบบคนอื่น หนูดีก็จะปลอบใจตัวเองว่า เดี๋ยวก็จบตรีแล้ว แล้วก็ก้มหน้าท่องหนังสือต่อไป โดยไม่เคยได้รู้ว่าชีวิตมีตัวเลือกอื่น ที่ทำให้เราเรียนได้ดีขนาดนี้เหมือนกัน

เวลาผ่านไปจนหนูดีเรียนเกือบจบปริญญาตรี ใบรางวัลเรียนดีที่เพิ่มขึ้นทุกปี จนจำชื่อไม่ได้ว่าได้ใบประกาศเกียรติคุณด้านไหนบ้าง รู้แต่ว่าจะได้เกรดสลับกันไป บางเทอมได้ 4.00 บางเทอมได้ 3.9 รวมถึงจดหมายชมเชยจากอธิการบดี ที่จะส่งตรงมาถึงบ้านคุณแม่ที่เมืองไทยทุกครั้ง แต่ทั้งหมดนี้ ก็มาพร้อมความเครียดที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของหนูดี รวมถึงความรู้สึกว่า สมัยนี้แค่ปริญญาตรีคงไม่พอ โอ้โห ถ้าหนูดีต้องเรียนปริญญาโทด้วยความรู้สึกแบบนี้ คงต้องตายก่อนเรียนจบแน่ๆ คือ หนูดีอยากรู้ว่า ทำอย่างไรคนเราถึงจะฉลาด เป็นอัจฉริยะกันได้ โดยยังใช้ชีวิตดำเนินทางสายกลางอย่างมีความสุข ไม่ต้องหักโหม ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนที่หนูดีเคยทำมา และเหมือนเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยคนอื่นๆที่ได้เกียรตินิยมเหมือนกัน เช็คแล้ว ปรากฏว่า ที่เดียวในโลก ที่สอนด้านสมอง แต่ไม่ใช่ให้เราไปผ่าตัดนะคะ แต่เรียนให้รู้ว่า สมองคืออะไร ทำงานอย่างไร และรู้ว่า ทำตัวอย่างไร ถึงจะใช้สมองให้คุ้มค่า มีศักยภาพที่สุด ก็มีอยู่ที่เดียวในโลกเท่านั้น คือ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่บอสตัน สหรัฐ อเมริกา เห็นชื่อมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ตกใจ ถอยมาหนึ่งก้าว เพราะถึงจะเป็นนักเรียนระดับเกียรตินิยมมา แต่ก็ไม่ใช่ว่า เด็กคะแนนดีทุกคนจะเข้าเรียนที่นี่ได้ เพราะ เป็นมหาวิทยาลัย อันดับหนึ่งของโลก ใครๆก็เรียนเก่งมาทั้งนั้นตัวหนูดีเอง เรียนที่แมรี่แลนด์ ซึ่งก็จัดว่าอยู่ในระดับดี แต่ก็ได้แค่ประมาณอันดับที่ยี่สิบ อันดับที่ยี่สิบห้าของประเทศอยู่เท่านั้น.... ขนาดแค่นี้ ยังเรียนหนักจะตาย แล้วอย่างที่ฮาร์วาร์ด หนูดีมิต้องตายคาหนังสือหรือนั่น แถมเพื่อนๆ ก็คงเก่งระดับอัจฉริยะกันทุกคน...นึกๆไปว่า คงไม่มีใครคุยกันหรอก คงแข่งกันเรียน แข่งกันทำงาน ไม่มีใครมีเวลาเสวนากับใครแน่ๆ.....แถมสมัครไปก็ไม่รู้ว่าเขาจะรับเราหรือเปล่า เพราะนอกจากเรียนเก่งแล้ว ก็ต้องประวัติดี มีความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร มีจดหมายรับรองชั้นดี สารพัด แต่ก็เอาค่ะ ฮึดสุดชีวิต ตั้งหน้าตั้งตาสอบวัดมาตรฐาน เขียนจดหมายแนะนำตัวอย่างใช้ความคิดทุกหยด เตรียมตัวเป็นเดือน สมัครไป รอคำตอบอีกครึ่งปี......

ระหว่างที่รอคำตอบจากฮาร์วาร์ด เธอได้กลับมาพักผ่อนที่เขาหลัก และอยู่ในเหตุการณ์สึนามิ กลับมาเมืองไทยวันแรกก็บินไปเที่ยวเขาหลักกับน้องสาว (หนูหวาน) แล้วน้องสาวอยากมาหาดป่าตองก็ขับรถกันไป แล้วตอนแรกก็จะลงเล่นน้ำแต่เปลี่ยนใจไปปีนเขากัน เลยทำให้รอดจากเหตุการณ์นี้ จากนั้นได้ไปช่วยเป็นอาสาสมัครเป็นล่ามแปลภาษาอยู่ 3 วันที่โรงพยาบาลพังงา ...จากที่ได้พบเห็นเหตุการณ์เหล่านี้ หนูดีเลยกลับไปเขียนแนะนำตัวส่งให้ทางฮาวาร์ดใหม่หมดเลย...ซึ่งเขียนวิเคราะห์ระบบการศึกษาไทยผ่านเหตุการณ์สึนามินี้ ซึ่งหนูดีก็เคยเรียนโรงเรียนไทย หนูดีรู้ว่าเวลาปกติ ระบบการศึกษาไทยก็ไม่ได้สอนให้คนใช้ศักยภาพสมองเต็มที่อยู่แล้ว คนไทยไม่ได้ถูกฝึกกระบวนการคิด ไม่ได้ถูกฝึกในการที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ฉะนั้นในเวลาปกติเราก็ไม่ได้เก่งเป็นพิเศษอยู่แล้วพอเจอภาวะฉุกเฉินหรือเหตุการณ์คับขันซึ่งเราน่าจะลดภาวะการณ์สูญเสียชีวิต หรือสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ได้ เช่น สามารถจะเตือนภัยได้ สามารถลดการสูญเสียคนได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เลย เพราะคลื่นสึนามิป้องกันง่ายมากคนวิ่งหนีไป 10 นาทีก็รอดแล้ว แต่พอไม่มากก็มีคนสูญเสียบาดเจ็บล้มตายเยอะ ..ระบบโรงพยาบาลก็ไม่เพียงพอ ที่โรงพยาบาลพังงา 3 วันแรกติดเชื้อเยอะมาก ก็ต้องย้ายผู้ป่วย มีการขอรถพยาบาล ขอเฮลิคอปเตอร์ ทีนี้ขอไปแล้วไม่ส่งมา 1 วันก็แล้ว 2 วันก็แล้ว มีฝรั่งคนหนึ่งจากบาดแผลปกติกลายเป็นแผลติดเชื้อ ต้องตัดขา ซึ่งเราเสียความรู้สึกมากกับระบบตรงนี้ คือระบบของคนไทยแตกสลายลงทุกส่วนเลย เพราะระบบการศึกษามันไม่เอื้อให้คนคิด พอคนไม่คิดมันก็กระทบเป็นโดมิโนหมด ตอนท้ายจดหมายหนูดีก็เลยบอกว่าอยากเรียนด้านสมอง เพราะต้องการเอาตรงนี้มาช่วยเหลือคนในทุกสถานการณ์ของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และองค์กรต่างๆ ซึ่งหนูดีไม่เชื่อว่าคนในองค์กร ณ ปัจจุบันได้ใช้สมองอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในที่สุด ฟ้าก็ส่งคำตอบมาในรูปจดหมายว่า ยินดีด้วย คุณได้รับเลือกเป็นนักเรียนฮาร์วาร์ด สำหรับปีการศึกษาหน้า โอ้โห ตกใจอีกรอบ น้ำตาไหลด้วยความดีใจ แล้วก็แอบมาเครียดเล็กๆว่า เอาอีกแล้ว ถึงเวลาจมอยู่กับกองหนังสือเรียนอีกแล้ว คราวนี้คงยิ่งหนักเป็นสองเท่า เฮ้อ คิดแล้ว ภูมิใจปนกลุ้ม แต่วันเดินทางก็มาถึง แล้วหนูดีก็ไปโผล่ที่ ฮาร์วาร์ด สแควร์ ในฐานะ นักศึกษาใหม่ หน้าตาตื่นเต้น ในต้นฤดูใบไม้ร่วง อากาศสดใสที่บอสตัน แต่ในใจก็ยังกังวลและเครียดไม่วาย จนได้มานั่งอยู่ในห้องปฐมนิเทศ มีรุ่นพี่ของปีที่แล้วมาให้คำแนะนำว่า จะเรียนอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จที่ฮาร์วาร์ด โดยมีเหตุผลว่า พวกเราทุกคนที่นั่งอยู่ในห้องนี้ ถือว่าเป็นผู้ชนะของสังเวียนที่ยากที่สุด คือการฝ่าด่านสิบแปดอรหันต์เข้ามาเป็นนักเรียนใหม่ที่นี่ได้ แต่หลายคนคงเรียนมาด้วยวิธีผิดๆ คือ เรียนหนักเข้าว่า โดยไม่ได้ เรียนอย่างฉลาด วันนั้น หนูดีได้เกร็ดจากรุ่นพี่มาเยอะมาก ซึ่งก็รวมอยู่ใน เทคนิคเรียนเก่งอย่างอัจฉริยะ ที่หนูดีตัดสินใจเปิดเพื่อให้ความรู้ดีๆ ส่งต่อไปถึงน้องนักเรียนรุ่นหลังๆ เหมือนที่หนูดีได้รับมาจากรุ่นพี่ระดับอัจฉริยะ ทุกคน แล้วตลอดเวลาที่เข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ด หนูดีก็ได้เรียนรู้เทคนิคดีๆ ที่มหาวิทยาลัยชั้นหนึ่งแห่งนี้ ได้คิดและทำวิจัยมาใช้กับเด็กของเขาโดยเฉพาะ เพราะคนกลุ่มนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่เรียนหนักมาก เรียนยากมาก และการค้นพบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลก ก็มักถูกค้นพบที่นี่ หรือ โดยนักศึกษา และคณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ทั้งนั้น หนูดีได้เรียนรู้เทคนิคการจัดหมวดความคิด การสรุปย่อให้ตรงประเด็น การอ่านเร็วและจับใจความโดยไม่ตกหล่น การเขียนบทความวิชาการระดับโลก การเขียนรายการชนิดเอาไปนำเสนอกับคองเกรสได้เลย หรือ การอภิปรายแสดงความคิดแบบผู้นำระดับโลก คือทุกอย่างที่เราถูกสอน จะถูกสอนประหนึ่งว่า พรุ่งนี้ เราต้องไปรับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดีนั่นเชียว
เพราะมหาวิทยาลัยนี้ ผลิตผู้นำในทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำประเทศ ผู้นำองค์กร ผู้นำทางการแพทย์ ผู้นำวงการการศึกษา ประธานาธิบดีอเมริกาหลายคนก็เป็นศิษย์เก่าที่นี่ รวมถึงว่าที่กษัตริย์ ที่เป็นเป็นขวัญใจชาวไทย อย่างองค์มกุฎราชกุมารจิกมี แห่งภูฐาน ซึ่งมาเรียนเรื่องการปกครอง ที่โรงเรียนเคนเนดี้ ฝั่งข้ามแม่น้ำชาร์ลส์ของหอง ดังนั้น อาจารย์ จะฝึกเราไว้เตรียมรับทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น แต่เมื่อการเรียนโดยเนื้อหา ถือว่ายากมากแล้ว กระบวนการเรียน ก็เลยถูกคิดค้นให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด เพราะไม่เช่นนั้น ทั้งมหาวิทยาลัยคงไม่มีใครได้นอนกันแน่ เพราะงานเยอะมาก แม้แต่วิธีการอ่านก็ต้องย่นย่อ ให้อ่านได้มากที่สุด ในเวลาที่ประหยัดที่สุด เพราะเราอ่านกันในปริมาณมหาศาล เป็นตั้งๆทุกคืน แถมต้องตีความและอภิปรายอย่างฉลาดด้วย ทั้งๆที่แค่อ่านให้จบนับว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้วิธีการอ่านอย่างปรกติที่หนูดีใช้สมัยเรียนปริญญาตรี คงไม่ได้ทำอะไรอื่นๆในชีวิตอีกเลย พอมาเรียนรู้กระบวนการเรียนใหม่ ที่ใช้ข้อมูลทางสมองเป็นพื้นฐาน ทำให้หนูดีเรียนได้อย่างมีความสุขอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในชีวิต และนอกจากเรียนได้ดี โดยเทอมแรกก็คว้าเกรดเฉลี่ย 4.00 มาครองเหมือนเดิม ทั้งๆ ที่โดนขู่ไว้ตลอดว่า เรียนที่นี่ ใครจะเก่งมาจากไหน ยากมากที่เทอมแรกจะได้ เอ ทุกตัว แต่หนูดีก็ทำได้มาแล้ว ด้วยสุขภาพจิตที่เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เรียนไปยิ้มไป เรียนที่นี่ เรียนด้วยความมั่นใจ เพราะเรา เรียนเป็น แล้ว และที่น่าทึ่ง คือหนูดีได้นอนหลับประมาณ แปดชั่วโมงทุกคืน และได้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ สามครั้งเป็นประจำ จิตใจแจ่มใส สมองก็ปลอดโปร่ง เรียนได้ดีจนไปติวเพื่อนได้เป็นกลุ่มๆ ทุกคนน่ารักและเป็นมิตร จนเราได้เพื่อนกลุ่มใหญ่ติดมือกลับมาเมืองไทย

และในที่สุด วันรับปริญญาโทก็มาถึง ซึ่งหนูดีก็ได้ร่วมกับงานรับปริญญาที่ขลังและเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอีกแล้ว (แต่การจะจบจากมหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ดได้ต้องใช้ทุนในการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่อปีไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่ง "หนูดี" ยอมรับการเป็นคนเรียนดี และรู้จักใช้สมองอย่างถูกวิธีทำให้สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนี้โดยได้รับทุนการศึกษาตลอดจนจบการศึกษา) แต่คราวนี้ที่ต่างไป คือความสุข ความมั่นใจของหนูดี ที่รู้แล้วว่า เรียนเก่งระดับอัจฉริยะแบบนี้ ไม่ต้องเครียด ก็ทำได้ แถมมีเวลาใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากมาย แล้วก็กลายเป็นความตั้งใจว่า หนูดีจะต้องนำความรู้ที่ดีๆ ที่คนไทยน้อยคนจะมีโอกาสได้ไปรับรู้ มาให้เด็กไทย คนไทย ได้นำไปใช้ เพราะประเทศของเราก็เรียนกันหนัก แข่งกันเรียน แข่งกันสอบ...ถ้าเรา คิดเป็น เราก็จะ เรียนเป็น และเมื่อทำงานก็จะ ทำงานเป็น แบบที่พวกอัจฉริยะเขาเป็นกัน

ครูหนูดี ตั้งใจว่า ก่อนจะบินกลับไปเก็บตัวในห้องวิจัยเพื่อเรียนต่อปริญญาเอกเธอจะใช้เวลา 2 ปี "ติวเข้ม" ให้คนอีก 4 กลุ่มเรียนรู้ในการพัฒนาตัวเอง นั่นคือ กลุ่มนักเรียนม.ปลาย ที่กำลังเตรียมตัวเอนทรานซ์อย่างหน้าดำคร่ำเครียด นักศึกษาเรียนหนัก กลุ่มพ่อแม่ฝึกลูกให้เป็นอัจฉริยะ และกลุ่มยังก์โปร หรือคนทำงานรุ่นใหม่ ผ่านงานเขียนหนังสือ และการฝึกอบรม ภายใต้บริษัทจัดอบรม "อัจฉริยะสร้างได้" เริ่มจากการปั้นเด็กๆ ในโรงเรียนวนิษาที่เธอนั่งบริหารอยู่ให้เป็นเด็กน้อยแสนอัจฉริยะ และมีความสุข หลายคนบอกว่าเธอหน้าคล้ายกับเยลหลี + แหม่ม คัทลียา, อยากให้เธอได้มีโอกาสมาดูแลกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาหลักสูตร ระบบการศึกษาของไทย แต่เร็วๆ นี้แว่วข่าวมาว่าเธอจะมาร่วมทำงานในรายการเรื่องเล่าเช้านี้..ต้องคอยติดตามกันต่อไปนะคะ
++

คลิกชมคลิปรายการจับเข่าคุย วนิษา เรซ ในหัวข้อ "อัจฉริยะสร้างได้"

++ 3 วิธีการทำงานของอัจฉริยบุคคล

++ 5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี/ ทิปส์ในการพัฒนาสมอง

++ อัจฉริยะสร้างได้ วิทยาการใหม่ฝึกสมอง ++ วิธีค้นหาความเป็นอัจฉริยะ
เปิด 3 วิธีการทำงานสร้างอัจฉริยภาพในคน ทำองค์กร, ร.ร., ครอบครัวอัจฉริยะ ชู Howard Gradner เจ้าทฤษฎีสร้างอัจฉริยะ เชื่อทฤษฎีนี้ตื่นตัวไม่น้อยกว่า 10 ปี แต่สร้างเป็นหลักสูตรได้ 5 ปีที่ผ่านมา ยังใหม่สำหรับตลาดบ้านเรา ขาดบุคลากรสูง เผย 5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี

3 วิธีการทำงานของอัจฉริยบุคคล "วนิษา เรซ" หรือ หนูดี ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด เล่าถึงวิธีการทำงานว่าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.การเป็นเทรนเนอร์เพื่อให้ความรู้ และ 2.เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพมาให้ความรู้ โดยหลักการทำงานของ "หนูดี" จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.องค์กรอัจฉริยะ ซึ่ง "หนูดี" จะเป็นผู้จัดประชุมสัมมนา หรือพัฒนาคนในองค์กร ภายใต้หลักสูตรสร้างทีมงานอัจฉริยะเพื่อสร้างพนักงานในบริษัทให้ได้ใช้สมองอย่างเต็มที คือจำแม่น พรีเซนต์งานเก่ง คิดนอกกรอบ มีการสื่อสารกันถูกหลักสมอง และนำกลุ่มไปสู่เป้าหมายได้โดยไม่ทะเลาะกัน ด้านการพัฒนาความเป็นอัจฉริยะในผู้ใหญ่ก็เพื่อให้เขาได้รู้ระบบการทำงานของสมอง ซึ่งเขาจะเข้าใจว่าสมองไม่สามารถรับข้อมูลได้เกินกว่า 7 สิ่งในความทรงจำระยะสั้น ดังนั้น ถ้าหัวหน้าจะสั่งงานจะต้องให้ลูกน้องจดคำสั่ง และจะต้องทวนคำสั่งทุกครั้ง หรือการไปพรีเซนต์งานหน้าห้องประชุมจะต้องกวาดตา และจ้องตาผู้ฟังเพื่อเป็นการสะกดก่อน เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าผู้พูดเป็นผู้มีอำนาจ พร้อมกับบอกว่า "นี้คือสิ่งสำคัญที่ดิฉันอยากจะพูดมี 3 สิ่ง" ซึ่งคนฟังเขาจะตั้งใจและจำได้ว่าเรื่องที่พูด 3 เรื่องคือเรื่องใด ตรงนี้ก็เป็นผลของการทำงานของสมอง "หนูดี" ยังสอนวิธีการทำ Mind Mapping เพื่อให้เห็นว่าสมองมีการทำงานแบบใด หรือในด้านพัฒนาผู้นำองค์กรจะมีการเทรนเรื่อง Creative Leaders : From Finding Solutions to Creating Opportunities เพราะผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่แก้ปัญหาให้กับองค์กรได้เท่านั้น แต่ต้องสามารถหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ด้วย

2.โรงเรียนอัจฉริยะ จะทำหน้าที่สองอย่าง คือ การพัฒนาบุคลากรครูและนักเรียน เพราะถ้ารู้จักเรื่องของสมองจะทำให้สมองของเด็กทำงานอย่างเต็มที ซึ่งโรงเรียนอัจฉริยะจะเทรนเด็กถึงวิธีเรียนแบบใดให้เรียนเก่ง ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ เพราะ "หนูดี" ยังสามารถเรียนเก่งและทำทุกอย่างได้ แถมยังได้นอนอีก 7-8 ชั่วโมง เพราะถ้ามีวิธีที่ถูกต้องในการท่องจำจะลดการใช้เวลาได้

3.ครอบครัวอัจฉริยะ คือ การเป็นที่ปรึกษาหรือเปิดอบรมให้กับพ่อแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะ ซึ่ง "หนูดี" จะแนะนำพ่อแม่ว่าการให้ลูกเรียนหนักไม่ได้ช่วยให้เด็กเก่ง และไม่ใช้วิถี่ แต่ถ้าพ่อแม่รู้จักการทำงานของสมองจะเข้าใจการสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ ทั้งเรียนเก่งและยังมีเวลาทำกิจกรรมอื่นๆ หรือแนะวิธีการอ่านหนังสือแบบเร็ว พร้อมทั้งเทคนิคเรียนเก่งที่ไม่ต้องบังคับให้ลูกอ่านหนังสือทุกหน้า แต่พ่อแม่ต้องช่วยอ่านหนังสือ และสรุปเนื้อหา พร้อมทั้งเล่าให้ลูกฟัง เพื่อให้เกิดการถามตอบระหว่างพ่อแม่ลูก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ครอบครัวได้ใกล้ชิดกัน และยังทำให้ลูกจดจำได้ง่ายขึ้น โดยรูปแบบการทำงานให้คำปรึกษาเพื่อสร้างเด็กอัจฉริยะนั้น "หนูดี" จะเริ่มจากการดูว่าเด็กมีแววอัจฉริยะด้านใด ซึ่งถ้าไม่มีมาแต่เกิด ความอัจฉริยะของเขา ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องการสร้างให้กับเขา เพราะเด็กจะสนองตอบความต้องการของพ่อแม่ ซึ่ง "หนูดี"จะปรับความต้องการของเด็กและพ่อแม่ให้ใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างให้เด็กเก่งและมีความสุขในความเก่งของตัวเอง โดยจะให้คำแนะนำกับพ่อแม่ในการซัปพอร์ตเพื่อสร้างให้ลูกเป็นอัจฉริยะ ซึ่งจะเห็นผลได้ประมาณ 1 เทอมสำหรับเด็กเล็กๆ

'Howard' ต้นแบบพัฒนาอัจฉริยะ สำหรับการเข้าสู่วงการผู้เชี่ยวชาญด้านสมองของ "หนูดี" นั้นเกิดจากการมีโอกาสอยู่ในวงการการศึกษามานาน เพราะที่บ้านทำธุรกิจโรงเรียน ประกอบกับเมื่อครั้งที่เรียนอยู่ในไทยจะไม่ชอบการเรียน เพราะเป็นการเรียนที่เครียดมาก และต้องติวหนังสือตลอด ซึ่งเธอมองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่วิถี่ ไม่ใช่คำตอบของชีวิต ถึงได้คะแนนดี แต่ไม่มีความสุข เมื่อมีโอกาสเข้าวงการการศึกษาคิดว่า "ทำยังไงเด็กถึงจะฉลาดและสมองดีโดยไม่ต้องเสียความสงบในใจ และความสุขในชีวิต ก็มาค้นพบว่าสมองมีส่วนสำคัญ ถ้ารู้จักใช้สมองไม่ว่าจะเรียน ทำงานสาขาใด ก็จะทำได้เต็มที่ แต่ที่สอนส่วนใหญ่เป็นการเรียนด้านผ่าตัดสมอง" ซึ่ง "หนูดี" ได้มีโอกาสค้นพบคำตอบในเรื่องนี้ขณะกำลังจะศึกษาปริญญาโท ได้พบนักทฤษฎีผู้หนึ่งชื่อ Howard Gradner ซึ่งคิดค้นทฤษฎี Multiple intelligences หรือทฤษฎีพหุปัญญา หรืออัจฉริยภาพหลายประการ ในหนังสือที่ชื่อว่า Frames of Mind เป็นหนังสือที่นักศึกษา และนักธุรกิจด้านการพัฒนาสมองอ่านเพื่อเปลี่ยนวิธีการมองอัจฉริยภาพของคน จากเดิมที่คนจะบอกว่าอัจฉริยภาพของคนมีแค่ภาษากับการคำนวณ แต่ Howard Gradner บอกว่าไม่ถูกต้อง งานวิจัยของเขาชี้ ว่าอัจฉริยภาพของคนมีเรื่องดนตรี, ร่างกาย, การเข้าใจตนเอง, การเข้าใจผู้อื่น, ด้านพื้นที่สัมพันธ์, ภาษาและคณิตศาสตร์, เข้าใจธรรมชาติ และการมองไกลกว่าตัวเอง ซึ่งทฤษฎีของเขาถือเป็นทฤษฎีที่ตรงกับ "หนูดี" เพราะคนเรียนเก่งยังสามารถทำอย่างอื่นได้อีก อย่าง "หนูดี" เรียนเก่ง แต่ยังเป็นนักเต้นบัลเลย์ ครูสอนยิงธนู ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะคนเก่งไม่ควรจะเก่งทุกอย่าง ซึ่งตรงนี้ทฤษฎีเก่าตอบไม่ได้ ซึ่งพบว่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกที่สอนโปรแกรมประสาทวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ และการศึกษา หรือ My Brand Education โดยได้ Howard Gradner เป็นเจ้าของหลักสูตร แม้ว่าทฤษฎีนี้จะมีการตื่นตัวมานานถึง 10 ปีแล้ว แต่มีการเอาโปรแกรมนี้มาใช้เมื่อ 5 ปีก่อน เนื่องจากต้องแยกหลักสูตรออกจากมหาวิทยาลัยแพทย์ เพื่อเอามาสอนในมหาวิทยาลัยการศึกษา เพราะการจะเอาไปพัฒนาคนจะต้องให้นักการศึกษาเอาไปใช้ สำหรับปัจจุบันที่ "หนูดี" เลือกเข้ามาตั้งบริษัทในไทยนั้น เนื่องจากทฤษฎีนี้ประเทศจีนนำเอาไปใช้ทั้งประเทศประมาณ 90% ส่วนในไทยเอาไปใช้ในโรงเรียนแต่ไม่มีการใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ จึงเกิดความคิดที่จะเอาทฤษฎีนี้มาใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ และต้องการนำความรู้ในวงการสมองจากมหาวิทยาลัยเข้ามาเผยแพร่ในไทย และยังอยากเป็นตัวเชื่อมระหว่างวงการสมองอันดับ 1 ของโลกกับคนไทย เพราะ "หนูดี" สามารถเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจากต่างประเทศเข้ามาในไทยได้ และในอนาคตจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตื่นตัว และพัฒนาศักยภาพวงการอัจฉริยภาพให้กับคนไทยได้ สำหรับหลักสูตรนี้ยังไม่มีการเปิดสอนในไทย แต่ "หนูดี" มีความคิดที่จะไปเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเปิดหลักสูตรนี้ ซึ่งอาจจะเป็นประมาณกลางปีหน้า ส่วนในต่างประเทศก็มีอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นอกจากนี้จะขยายไปยังออกซ์ฟอร์ด , นิวยอร์ก ยูนิเวอร์ซิตี้ และเคมบริดจ์

ตลาดยังไม่รู้จัก-อาชีพนี้ยังขาดแคลน กระแสการพัฒนาสมองเพื่อก้าวสู่การเป็นอัจฉริยบุคคล เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อ 2-3 ปีก่อน ซึ่งคนไทยรู้จักน้อยมาก และยังไม่เคยมีการทำวิจัยอย่างจริงจัง พร้อมทั้งยังเป็นการรู้ในเชิงตื้นไม่ใช่เชิงลึก ซึ่ง "หนูดี" เชื่อว่าการเข้าไปเอาข้อมูลปฐมภูมิจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเข้ามาในไทยได้ จะเป็นการพัฒนางานตรงนี้ให้กับคนไทย เพราะงานวิจัยที่จะเอาเข้ามาเป็นงานที่ใหม่ ส่วนการขยายตัวสู่อาชีพอื่นนั้น เชื่อว่าทำได้ ทั้งในสายธุรกิจเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท, การศึกษาเพื่อเป็นที่ปรึกษากับนักการศึกษา หรือจิตวิทยาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคคลทั่วไป สำหรับรายได้ของผู้ที่ทำงานด้านนี้ถือว่าอยู่ในระดับสูง และมีผู้ทำอยู่น้อย ซึ่งคาดว่ารายได้จากการทำอาชีพนี้ในต่างประเทศถึงปีละ 5-10 ล้านบาท เพราะคนที่จะทำได้ต้องมีพื้นฐานการศึกษาที่ดี ซึ่งถ้า "หนูดี" ไม่จบทางด้านนี้โดยตรงจากมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งคงจะไม่กล้าเข้าสู่วงการนี้

แต่การจะจบจากมหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ดได้ต้องใช้ทุนในการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่อปีไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ซึ่ง "หนูดี" ยอมรับการเป็นคนเรียนดี และรู้จักใช้สมองอย่างถูกวิธีทำให้สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนี้โดยได้รับทุนการศึกษาตลอดจนจบการศึกษา 5 คุณสมบัตินักสร้างอัจฉริยะที่ดี "หนูดี" ยังแนะผู้ที่ต้องการเข้าสู่วงการนี้ว่า

1.มีคุณธรรมและรู้จริง เพราะวงการนี้เป็นการสร้างคนซึ่งมีความละเอียดอ่อนสูง การให้ข้อมูลผิดเท่ากับเป็นการทำบาป นอกจากนี้ ความรู้ที่มีไม่ใช่แค่ความรู้ที่อ่านจากหนังสือต้องรู้ลึกถึงข้อมูลที่แท้จริง
2. ชื่อธุรกิจบอกแล้วว่าสร้างอัจฉริยะ คนที่จะทำต้องมีปูมหลังชีวิตที่ดี ต้องเรียนเก่ง ทำงานเก่ง และบริหารชีวิตส่วนตัวได้ เพราะถ้าจะไปสอนคนอื่นต้องทำชีวิตตัวเองให้ดีก่อน
3.รู้จักเอื้อคนอื่น
4.รู้กติกาสากลในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามา
5.เก่งทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

ทิปส์ในการพัฒนาสมอง

1. จิบน้ำบ่อย ๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดี คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึก ๆ สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 % การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม วนิษากล่าวว่า คนทั่วไปมักมองว่าคนที่เป็นอัจฉริยะมักจะหมกมุ่นอยู่กับตำรากองโต ใส่แว่นหนาเตอะและไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมักเกิดกับคนในวงแคบ เช่น คนที่เก่งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือดนตรี แต่ความจริงแล้ว อัจฉริยภาพมีมากกว่านั้น ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเสนอว่ามนุษย์มีอัจฉริยภาพอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแต่บางด้านอาจเด่นกว่าด้านอื่นและขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก อัจฉริยภาพ 8 ด้านที่ว่า ได้แก่ อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์ อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจในตนเอง อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจผู้อื่นและมนุ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ หนูดี วนิษา เรซ...ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook