เทคนิคก่อนการเลือกซื้อ และติดตั้งกระเบื้อง

เทคนิคก่อนการเลือกซื้อ และติดตั้งกระเบื้อง

เทคนิคก่อนการเลือกซื้อ และติดตั้งกระเบื้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันนี้ ยังคงมีเจ้าของบ้านหลายท่านที่ต้องการปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ใช้งานในบ้าน ให้แลดูสวยงาม และทันสมัยมากขึ้น แต่มักไม่ค่อยมีข้อมูลเรื่องการเลือกซื้อ และติดตั้งกระเบื้องมากเท่าที่ควร เจ้าของบ้านส่วนใหญ่จึงเลือกซื้อกระเบื้อง จากความชื่นชอบส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น สีสัน พื้นผิว หรือ ลวดลาย โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติ และประเภทของกระเบื้องที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่ใช้งานที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป



วีคนี้ จึงมาพร้อมเทคนิคเบื้องต้นสำหรับการเลือกซื้อ และติดตั้งกระเบื้องแต่ละน้อยๆ มาแนะนำกันอีกเช่นเคย

คุณสมบัติของกระเบื้องแต่ละประเภท

ก่อนการเลือกซื้อกระเบื้องทุกครั้ง ควรคำนึงถึงการใช้งานว่า กระเบื้องประเภทใดเหมาะสมกับพื้นที่แบบไหน? เพื่อความสวยงาม และช่วยยืดอายุการใช้งานกระเบื้อง ให้มีความทนทานมากยิ่งขึ้น โดยคุณสมบัติของกระเบื้องแต่ละประเภทมีดังนี้

กระเบื้องบุผนัง (Wall Tiles)

เป็นกระเบื้องที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำสูง เหมาะสำหรับการกรุผนังภายในอาคารที่พักอาศัย ไม่ควรนำมาปูพื้น เพราะไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และผิวหน้ากระเบื้องไม่คงทนต่อการขูดขีด

กระเบื้องปูพื้น (Floor Tiles)

เป็นกระเบื้องที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำปานกลาง เหมาะสำหรับการปูพื้นทั่วไปภายในอาคารที่พักอาศัย โดยการติดตั้งกระเบื้องในพื้นที่เดียวกัน ควรใช้ขนาดเดียวกันทั้งหมด

กระเบื้องโมเสค (Mosaic Tiles)

เป็นกระเบื้องมี อัตราการดูดซึมน้ำต่ำ มีขนาดเล็กไม่เกิน 4”x4” เหมาะสำหรับใช้ปูสระว่ายน้ำ หรือ งานตกแต่งเฉพาะพื้นที่ โดยการนำกระเบื้องโมเสคมาปูร่วมกับกระเบื้องประเภทอื่นๆ นั้น ควรคำนึงถึงความหนา และลักษณะของขอบกระเบื้องที่นำมาปูร่วมกันด้วย

กระเบื้องเกลซพอร์ซเลนด์ (Glazed Porcelain)

เป็นกระเบื้องเคลือบสีที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำต่ำมาก แข็งแรง และทนทานต่อการขีดข่วน เหมาะสำหรับการติดตั้งทุกพื้นที่ทั้งภายใน และภายนอกของอาคาร รวมทั้งในพื้นที่สาธารณะที่มีปริมาณการสัญจรสูง อาทิ ห้างสรรพสินค้า ห้องโถงโรงแรม และพื้นที่บริเวณทางเดิน เป็นต้น

กระเบื้องแกรนิต (Granito)

เป็นกระเบื้องที่มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำต่ำมาก มีพื้นผิวมันวาว แต่แข็งแรง และทนทานต่อการขีดข่วน จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งทุกพื้นที่ทั้งภายใน และภายนอกของอาคาร รวมทั้งในพื้นที่สาธารณะที่มีปริมาณการสัญจรสูง อาทิ ห้างสรรพสินค้า ห้องโถงโรงแรม และพื้นที่บริเวณทางเดิน เป็นต้น

กระเบื้องแก้ว (Glass Tiles)

เป็นกระเบื้องที่มีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำมาก มีความมันวาว เนื้อโปร่งแสง เหมาะสำหรับตกแต่งผนังภายในทั่วไป มีทั้งแบบเป็นแผ่น และแบบโมเสคเม็ดเล็ก แต่ไม่เหมาะสำหรับการนำมาปูพื้น เพราะอาจเกิดรอยขูดขีดได้ง่าย

เมื่อคุณเลือกกระเบื้องที่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งานได้แล้ว ต่อมา คือการคำนวณปริมาณของพื้นที่ดังกล่าว เพื่อหาจำนวนของแผ่นกระเบื้องที่จะต้องใช้ในการกรุผิว โดยให้ซื้อเผื่อไว้ประมาณ 5-10% จากปริมาณที่คุณคำนวณไว้ เพราะต้องใช้ในการเก็บเศษกระเบื้องตามขอบ และมุมห้อง หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ควรเก็บเศษกระเบื้องที่เหลือไว้ สำหรับการซ่อมแซมในอนาคต เพื่อให้พื้นที่ที่ปูกระเบื้องเป็นเฉดสีเดียวกันทั้งหมดนั่นเอง

เทคนิคก่อนการติดตั้งกระเบื้อง

1.ตรวจสอบรายละเอียดสินค้า ที่ระบุไว้ข้างกล่องกระเบื้อง เช่น เฉดสี ขนาด ก่อนทำการติดตั้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการใช้สินค้าต่างรุ่น ติดตั้งในพื้นที่เดียวกัน

2.ควรใช้ปากกาเคมี ที่สามารถลบทำความสะอาดได้ ทำเครื่องหมายก่อนการตัด หรือ เจาะกระเบื้อง

3.ควรใช้วิธีการปูแห้ง โดยใช้กาวซีเมนต์ และเกรียงหวีในการติดตั้ง และไม่ควรใช้วิธีการปูเปียก หรือ ใช้ปูนทรายเป็นวัสดุในการยึดเกาะ เนื่องจากการยุบตัวของปูนทราย  จะทำให้ผิวหน้ากระเบื้องเซรามิคเรียบไม่เท่ากัน และมีโอกาสหลุดล่อนได้ง่ายขึ้นในภายหลัง

4.สำหรับการเลือกใช้เกรียงหวี ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของกระเบื้อง ตามข้อกำหนดของผู้ผลิตแต่ละราย

5.ในการตัดกระเบื้อง ควรใช้เครื่องตัดไฟฟ้า หรือ เครื่องตัดแท่น ที่มีความยาวของแท่นมากกว่ากระเบื้อง ทั้งนี้ควรเลือกใช้หัวกรีด หรือ ใบตัด ให้เหมาะสมกับความแข็ง และความขรุขระของผิวหน้ากระเบื้องแต่ละชนิดด้วย

6.ควรใช้กระดาษทรายน้ำ หรือ ใบเจียรทั่วไป สำหรับขัดกระเบื้องที่บิ่นจากการตัด เพื่อตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น

สำหรับเจ้าของบ้านที่สนใจ และต้องการปรึกษาด้านการออกแบบ ปรับปรุง หรือ วางระบบอุปกรณ์ภายในบ้าน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ COTTO STUDIO ทุกสาขา หรือ โทร. 02-521-7777

ขอบคุณภาพ และข้อมูลจาก COTTO Press Center

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ เทคนิคก่อนการเลือกซื้อ และติดตั้งกระเบื้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook