1. ประเด็นด้านกฏหมาย
การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร ตามรายละเอียดต่อไปนี้ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจกาทางราชการ
อาคารจะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
จะ เห็นได้ว่าตามกฏหมายนั้น ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฏหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้องก็ต้องมีการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้ หากไม่มีปัญหาใด ๆ กับบ้านข้างเคียง
2.ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียง
จาก ประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าการที่จะสามารถต่อเติมได้อย่างไม่มีปัญหานั้น จำเป็นจะต้องมีการ พูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไป ร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก แต่หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียง ด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย
3.การต่อเติมบ้าน
เป็น งานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม
1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรม
โดย ทั่วไปการออกแบบบ้าน ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอาคารแล้ว สิ่งที่ เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มักจะมองเฉพาะต้องการพื้นที่ใช้งานสูงสุด โดยเฉพาะ ทาว์เฮาส์ที่มีพื้นที่ด้านหลังชิดกับบ้านข้างเคียงทั้ง 3 ด้าน เมื่อต่อเติมแล้วมีปัญหาว่าร้อน ลมไม่พัดเข้าบ้าน ภายในบ้านมืด ต้องติดตั้งระบบปรับอาการศ และต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน รูปแบบที่แนะนำสำหรับการต่อเติมพื้นที่หลังบ้านก็คือ พยายามให้เปิดช่องระบายอากาศ โดย ให้อากาศสามารถถ่ายเทจากหน้าบ้านมาออกที่ช่องที่เปิดไว้ในส่วนหลังบ้าน หากมีพื้นที่จำกัด ให้ออกแบบหลังคาเป็น 2 ชั้น เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หรือหากมีพื้นที่หลังบ้านกว้างพอ ก็ให้เปิดเป็นพื้นที่่ว่างโดยไม่มีผนัง เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นที่ซักล้างให้แห้ง และลมสามารถ เข้าถึงได้ ก็จะทำให้ภายในบ้านไม่มีปัญหาอับลมและมีตลอดเวลาได้
2. รูปแบบทางด้านโครงสร้าง
หลัก การในการต่อเติมจะต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมใหม่ให้เป็นโครงสร้างต่างหาก ที่สามารถอยู่ได้โดยตัวเอง การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจริง ๆ โดยต้องเว้นให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอาคาร ถ้ามีพื้นที่พอ แต่ถ้าไม่มีก็ให้กั้นด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้างเดิม กับโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงห้ามเชื่อมต่อวัสดุปูผิว และผนังก็ควรเว้นช่องไว้ แล้วอุดด้วยวัสดุยาแนว ประเภท โพลียูรีเทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึม ส่วนหลังคาก้ให้ทำปีกนอกยึดติดกับตัวอาคารเดิม ยื่นมาคลุมอาคารที่ต่อเติม เพื่อป้องกันน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ
ข้อมูลจาก : สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
01 สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว
1. ประเด็นด้านกฏหมายในการต่อเติมบ้านใหม่
การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร ตามรายละเอียดต่อไปนี้ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจกาทางราชการ
-การขยายพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใด ตั้งแต่ 5 ตร.ม.
-เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
-เพิ่ม-ลด จำนวน หรือ เปลี่ยนเสา คาร บันได และผนัง
อาคารจะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
-สำหรับทาวน์เฮาส์และตึกแถว พื้นที่ว่างด้านหลังกว้าง 2 ม. จะต้องเว้นว่างไว้เพื่อเป็นทางหนีไฟ
-ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิด 9 ม. ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.0 ม. สำหรับ ที่สูงเกิน 9.0 ม. ต้องห่าง 3.0 ม. ผนังที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 ม. ยกเว้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง
จะเห็นได้ว่าตามกฏหมายนั้น ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฏหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้องก็ต้องมีการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้ หากไม่มีปัญหาใด ๆ กับบ้านข้างเคียง
2.ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียง
จากประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าการที่จะสามารถต่อเติมได้อย่างไม่มีปัญหานั้น จำเป็นจะต้องมีการ พูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไป ร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก แต่หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย
3.การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว
เป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม
02 ข้อแนะนำในการต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์
1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรม
โดยทั่วไปการออกแบบบ้าน ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอาคารแล้ว สิ่งที่ เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มักจะมองเฉพาะต้องการพื้นที่ใช้งานสูงสุด โดยเฉพาะ ทาว์เฮาส์ที่มีพื้นที่ด้านหลังชิดกับบ้านข้างเคียงทั้ง 3 ด้าน เมื่อต่อเติมแล้วมีปัญหาว่าร้อน ลมไม่พัดเข้าบ้าน ภายในบ้านมืด ต้องติดตั้งระบบปรับอาการศ และต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน รูปแบบที่แนะนำสำหรับการต่อเติมพื้นที่หลังบ้านก็คือ พยายามให้เปิดช่องระบายอากาศ โดย ให้อากาศสามารถถ่ายเทจากหน้าบ้านมาออกที่ช่องที่เปิดไว้ในส่วนหลังบ้าน หากมีพื้นที่จำกัด ให้ออกแบบหลังคาเป็น 2 ชั้น เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หรือหากมีพื้นที่หลังบ้านกว้างพอ ก็ให้เปิดเป็นพื้นที่่ว่างโดยไม่มีผนัง เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นที่ซักล้างให้แห้ง และลมสามารถ เข้าถึงได้ ก็จะทำให้ภายในบ้านไม่มีปัญหาอับลมและมีตลอดเวลาได้
2. รูปแบบทางด้านโครงสร้างบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว บ้านใหม่
หลักการในการต่อเติมจะต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมใหม่ให้เป็นโครงสร้างต่างหาก ที่สามารถอยู่ได้โดยตัวเอง การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจริง ๆ โดยต้องเว้นให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอาคาร ถ้ามีพื้นที่พอ แต่ถ้าไม่มีก็ให้กั้นด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้างเดิม กับโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงห้ามเชื่อมต่อวัสดุปูผิว และผนังก็ควรเว้นช่องไว้ แล้วอุดด้วยวัสดุยาแนว ประเภท โพลียูรีเทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึม ส่วนหลังคาก้ให้ทำปีกนอกยึดติดกับตัวอาคารเดิม ยื่นมาคลุมอาคารที่ต่อเติม เพื่อป้องกันน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ
ข้อมูลจาก : สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
03 ปัญหาการต่อเติมบ้านผิดวิธี
1. ทำให้อาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน
2. ทำให้อาคารฉีกขาดจากโครงสร้างที่เชื่อมกัน
04 หลักการต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธีต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธี
1.โครงสร้างอาคารส่วนต่อเติม
-ต้องแยกจากอาคารเดิม (บ้านของโครงการ) ต้องแยกจากรั้วรอบด้าน โดยเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสียหายที่เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับระหว่างอาคารเดิมกับอาคารส่วนต่อเติม
2. ลักษณะฐานรากของอาคารส่วนต่อเติมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
-ต่อเติมโดยใช้ Micro Pile ที่มีความยาวเท่ากับความยาวเสาเข็มของอาคารบ้านเดิม
-ต่อเติมโดยใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ความยาวประมาณ 6 เมตร (ยกเว้น เขตกรุงเทพฯ โซนใต้ เช่น ปากน้ำ พระประแดง แนะนำให้ใช้เข็มยาวเท่านั้น)
ต่อเติมบ้านแล้วดูใหม่เวลาขายบ้านก็ได้ราคาจริงหรือเปล่าค่ะ :)
[Advertorial]
ภาพและข้อมูลจาก :http://www.pruksa.com