Social Netwok Syndrome

Social Netwok Syndrome

Social Netwok Syndrome
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Social Netwok Syndrome

 

กิจกรรมอย่างสุดท้ายก่อนล้มตัวลงนอน และอย่างแรกเมื่อคุณตื่นนอนในตอนเช้าคืออะไรครับ? ถ้าคำตอบของคุณ คือการเช็คข้อความ หรือข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือท่องโลกอินเตอร์เน็ต คุณอาจเข้าข่ายเสพติดโซเชียลมีเดียซะแล้วนะครับ และนี่คือที่มาของเรื่อง Social Network Syndrome ที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ ที่สำคัญส่งผลทั้งต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจ โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่แยกไม่ค่อยได้ระหว่างโลกในความเป็นจริง และโลกออนไลน์
ผลเสียที่เกิดจากการเสพติดเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจเกิดได้ทั้งในระดับเล็กน้อย ปานกลาง ไปจนถึงร้ายแรงจนถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายไปเลยก็มี แต่ในที่นี้ผมขอพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางนะครับ

สมาธิสั้น (Short Attention Span)
ผมได้ยินคนยุคก่อนๆ พูดถึงเด็กหรือผู้ใหญ่สมัยใหม่นี้อยู่เสมอว่าคนยุคนี้สมาธิสั้น สนใจโน่นบ้างนี่บ้างหลายๆ อย่างให้ความสนใจสั้นๆ และทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน (Multi-tasking) เนื่องจากคนในยุคนี้มีสิ่งอำนวยการสื่อสารหลายอย่าง และมีทางเลือกมากมาย จึงชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น การเปิดหน้าต่างหลายๆ อันในหน้าจอคอมพิวเตอร์ อันหนึ่งไว้ทำงาน อีกอันเป็นเว็บบอร์ดเพื่อความสนุกสนานบันเทิงในเวลาเดียวกัน ทำให้สนใจแต่ละอย่างเพียงสั้นๆ หรือ การคุยผ่านโปรแกรมแชทหลายๆห้อง หลายๆกลุ่มในคราวเดียวกัน ซึ่งเมื่อหลายคนก้าวเข้าสู่วัยทำงาน ก็จะทำให้ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ทำหลายๆอย่างพร้อมกัน แต่ไม่สำเร็จสักอย่าง

เครียด (Stressful)
การติดต่อสื่อสารทำให้เรารู้สึกเครียด เพราะแทนที่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจะทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม กลับทำให้เรารู้สึกต้องเอาตัวเองไปผูกติดกับการสื่อสารตลอดเวลา เกิดความเครียด เช่น เครียดเพราะแฟนไม่ไลน์มาหาบ้าง เพื่อนไม่ tag ไม่ like รูปทางเฟซบุ๊คบ้าง ก็รู้สึกกังวล คิดมาก จิตตก บางคนไม่มีคนมากด like รูปภาพที่แชร์ก็รู้สึกน้อยใจ บางรายอาจถึงขั้นเครียด และพยายามหาทางออกด้วยการไปปรับเสริมเติมแต่ง อาจถึงขั้นศัลยกรรมเพื่อให้ตัวเองสวยขึ้น เพราะอยากให้มีคนมากด like รูปเยอะๆ ก็มีให้เห็นอยู่เนืองๆ อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย ดาราเองบางครั้งก็ลงทุนไปอัพสวย เพราะอยากให้มีคนมากด like ตาม follow เยอะๆ เหมือนกัน

ใจร้อน (Impetuous)
เคยมีผลงานวิจัยที่บอกว่า คนเราคาดหวังให้ผู้สนทนาด้วยตอบกลับข้อความทางไลน์หรือเมสเซจที่ส่งถามไปเพียงแค่ 7 วินาที หลังจากนั้นก็จะเริ่มหงุดหงิด ใจร้อน อยากทำอะไรไวๆ การพิมพ์ภาษาเพี้ยนก็มาจากความใจร้อนบวกความขี้เกียจ ไม่อยากกด Cap Lock เพื่อยกแป้นพิมพ์ ก็เลยเกิดเป็นการพิมพ์ “ไม่รุ้” “เทออยุ่ไหน” “ยังไม่เสดเลย” ภาษาก็เลยพลอยวิบัติเพราะความใจร้อนไปด้วย ครั้นพอจะไปทานอาหาร ก่อนจะกินก็ขอโพสต์รูปก่อน จะรอหลังกินไม่ได้เพราะหมดอารมณ์ ใจร้อน อยากให้เพื่อนรู้ว่าฉันอยู่ไหน ไฮโซที่สุดในสามโลก บางคนถ่ายรูปเสร็จ ไม่กิน

Social Netwok Syndrome

ลุ่มหลงตัวเอง (Narcissism)
โรคลุ่มหลงตัวเองนี้ เป็นเหมือนเอกลักษณ์ของคนยุคใหม่นี้ไปแล้ว เคยมั้ยครับ เข้าห้องน้ำ แทนที่จะไปทำธุระให้เสร็จๆ ไป ปรากฏว่าเจอแสงสวย ก็ขอแอ่นหน้าแอ่นหลังถ่ายรูปหน้ากระจกไปสามสิบกว่ารูป เผลอๆ เดินออกมา ลืมไปเลยว่าเข้าห้องน้ำไปทำไม แต่ขอออกมาแชร์ภาพก่อน เนี่ยล่ะครับ ความลุ่มหลงที่พูดถึง เพราะคนรุ่นใหม่เติบโตมาพร้อมกับรายการเรียลลิตี้ การประกวด แข่งขัน ทำให้รู้สึกว่าไม่ต้องทำงานเก่งก็ได้ ขอเพียงมีรูปลักษณ์ที่ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว แทนที่จะไปพัฒนาความสามารถในการเรียนหรือการทำงาน กลับไปมุ่งเน้นเรื่องการแต่งตัว แต่งหน้า และแต่งรูป เอาไปโพสต์ให้คนกด like แทน งงมั้ยครับ

เป็นอย่างไรครับ เข้าข่ายข้อไหนบ้าง อย่างไรซะถ้ารู้ตัวเร็ว เราก็สามารถถอนตัวได้เร็วนะครับ เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคเครียด วิตกกังวล และเก็บกด ปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเป็นอาการผิดปกติ (Disorder) ได้ ทางหนึ่งในการเยียวยาก็คือ การเข้าถึงธรรมะ อาจเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ลองตัดขาดจากการสื่อสาร ใช้เวลาพิจารณาใคร่ครวญกับตัวเอง ก็อาจทำให้เราใจเย็น และไม่พึ่งพาเทคโนโลยีเกินความจำเป็นนะครับ

ภาพจาก : www.socialmediaraw.com, www.cdn-www.i-am-bored.com

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ Social Netwok Syndrome

Social Netwok Syndrome
Social Netwok Syndrome
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook