นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน? รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเก็บนมแม่

นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน? รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเก็บนมแม่

นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน? รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเก็บนมแม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นที่รู้กันดีว่าน้ำนมแม่เป็นอาหารสำหรับทารกที่อุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบถ้วน ซึ่งเราเชื่อว่าแม่ทุกคนอยากให้ลูกได้กินนมแม่อย่างสมบูรณ์จนครบ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น ดังนั้นเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับการเก็บน้ำนมแม่กันดีกว่า ว่าเก็บได้นานแค่ไหน และมีเรื่องอะไรบ้างที่ควรรู้ แต่ก่อนอื่นเราไปดูความสำคัญของนมแม่กันก่อนดีกว่า

นมแม่สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร

น้ำนมแม่เป็นอาหารชนิดเดียวที่สำคัญต่อการเลี้ยงทารกแรกเกิดอย่างมาก เนื่องจากในนมแม่นั้นมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตให้ลูกน้อยได้อย่างสมบูรณ์ โดยเด็กที่กินนมแม่อย่างต่อเนื่องจะมีการพัฒนาทางสมอง อารมณ์ และจิตใจที่ดีมาก แถมยังแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อยอีกด้วย

ลูกน้อยควรดื่มนมแม่นานเท่าไหร่

ทารกแรกเกิดหลังคลอดจะต้องได้รับนมเป็นอาหารหลักตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมงแรก และตลอดระยะ 6 เดือนแรกถึง 2 ขวบ เเต่เมื่ออายุครบ 6 เดือนควรได้รับอาหารเสริมตามโภชนาการตามวัยด้วย

ปั้มนมมากแค่ไหนจึงจะดี

บางคนอาจมีความจำเป็นที่จะต้องไปทำงานนอกบ้านจึงต้องปั้มนมเก็บไว้ให้ลูกน้อย แต่ก่อนอื่นคุณแม่จะต้องรู้ว่าลูกน้อยจะทานนม 1 ออนซ์ต่อ 1 ชั่วโมง ดังนั้นก่อนคุณแม่จะไปทำงานต้องปั้มนมแช่ไว้อย่างน้อย 10-12 ออนซ์ต่อวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้ทานนมแม่อย่างเต็มที่ และในเวลากลางคืนก็ปั้มเพิ่มอีกในปริมาณเท่าเดิมแค่นี้ก็เพียงพอต่อลูกน้อยแล้ว

ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่

  • หากวางไว้ในอุณหภูมิห้องปกติสามารถเก็บได้ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • เก็บในกระติกน้ำแข็งสามารถเก็บได้ 1 วัน
  • เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาสามารถเก็บได้ 1 ถึง 2 วัน
  • เก็บในช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียวเก็บได้นาน 2 อาทิตย์
  • เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็นสองประตูเก็บได้นาน 3 เดือน
  • เก็บในตู้เย็นชนิดตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 6 ถึง 12 เดือน

ข้อแนะนำสำหรับการนำนมแช่แข็งออกมาใช้

  • ควรนำมาวางไว้ในช่องเย็นปกติก่อนเพื่อละลายความแข็ง 12 ชั่วโมง จึงค่อยนำมาให้ลูกดื่ม
  • นำมาละลายความเย็นในน้ำอุณหภูมิปกติและแกว่งเบาๆ
  • ไม่ควรละลายนมในน้ำร้อนจัด เนื่องจากอาจทำให้สารอาหารและเม็ดเลือดขาวในนมแม่ถูกทำลาย

ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บนมแม่ และเรื่องที่ต้องรู้กันไปแล้ว  ก็อย่าลืมปั้มนมเก็บไว้ให้ลูกดื่มกันด้วยนะ ซึ่งไม่เพียงแต่คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านเท่านั้น คุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านก็สามารถปั้มนมเก็บไว้ได้เหมือนกัน เผื่อเวลาที่มีเหตุจำเป็นจะได้มีนมสำรองไว้ให้ลูกดื่มนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook