โรคกลัวสังคม คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรับมืออย่างเหมาะสม

โรคกลัวสังคม คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรับมืออย่างเหมาะสม

โรคกลัวสังคม คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรับมืออย่างเหมาะสม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โดยปกติเวลาที่เราต้องออกไปพรีเซนต์งาน หรือการออกไปพูดหน้าชั้นเรียนย่อมต้องมีความประหม่าอยู่แล้ว แต่หากว่าความประหม่านั้นไม่ได้มีแค่ในห้องเรียนหรือที่ทำงาน แต่เกิดขึ้นกับการใช้ชีวิตทั่วๆ ไปด้วย เช่น การออกไปกินข้าวทั้งการไปกินคนเดียวหรือกับเพื่อนฝูง หรือแค่การเดินทางไปที่ต่าง ๆ ก็มีความประหม่าเกิดขึ้นมาทันที นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าเราอาจป่วยเป็นโรคกลัวสังคมอย่างไม่รู้ตัวแล้วล่ะ

โรคกลัวสังคม คืออะไร

โรคกลัวสังคมจัดอยู่ในหมวดหมู่ของโรคความวิตกกังวล มักเกิดได้ในช่วงวัยเด็กคาบเกี่ยวเข้าสู้วัยรุ่น หรืออาจจะเริ่มตั้งแต่เด็กเลยก็ได้ โดยหากผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้และไม่ได้รับการรักษาในทันที โรคกลัวสังคมจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอกับคนมากๆ

สาเหตุของโรค

ส่วนใหญ่โรควิตกกังวลนี้มักจะเกิดได้ในช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ต้องการความสนใจและเป็นวัยที่ให้ความสำคัญกับการเข้าสังคม เช่น ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่เจอกับประสบการณ์ที่แย่ในชั้นเรียน จากการถูกบูลลี่ในห้อง ทำให้เกิดอาการประหม่าจนกลายเป็นโรคกลัวสังคมในเวลาต่อมา ซึ่งโรคนี้ยังสามารถพบได้ในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยส่วนมากมักจะมีอาการมาจากช่วงวัยรุ่น แต่ไม่ทราบว่าตัวเองกำลังป่วยนั่นเอง

อาการของโรค

จะรู้ได้อย่างไรว่าป่วยเป็นโรคกลัวสังคม สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้ (มีเกริ่นนำด้วยนะ ถ้าเนื้อหาเป็นข้อๆ)

  • ผู้ป่วยจะไม่สบตากับใครในขณะที่พูดคุยกัน มักจะหลบดา พูดน้อยหรือตัดบทให้จบไวๆ
  • หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนมากๆ ไม่อยากไปโรงเรียนเพราะมีคนเยอะ ไม่อยากทำงานในบริษัทที่มีคนมากๆ
  • ไม่ชอบการไปห้างสรรพสินค้า หรืองานเลี้ยงต่างๆ
  • มักจะเหงื่อออก หน้าแดง กระวนกระวาย หอบหายใจถี่ พูดตะกุกตะกัก ใจเต้นแรงจนอยู่นิ่งไม่ได้ ในบางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะถึงขั้นอาเจียนได้เลยทีเดียว
  • เราจะสังเกตได้หากผู้ป่วยมีการปลีกตัวเวลาที่มีคนเยอะๆ มักจะไม่ทำตัวโดดเด่นชอบที่จะอยู่คนเดียวเงียบๆ หากพบเจอคนก็พยายามออกห่างไปอยู่คนเดียว
  • ผู้ป่วยมักจะมีมนุษย์สัมพันธ์ต่ำ ไม่มีเพื่อนเพราะไม่ชอบการพูดคุย ไม่ชอบการออกไปข้างนอก เป็นคนที่สานสัมพันธ์ต่างๆ ไม่เก่ง

ทำอย่างไร เมื่อพบว่าเป็นโรคกลัวสังคม

จากอาการข้างต้น ให้ลองสังเกตดูว่าคุณเป็นโรคกลัวสังคมหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเป็นโรคนี้จะต้องพบจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่วิธีต่อไป และครอบครัวคนรอบข้างเองก็ต้องเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

โรคกลัวสังคม เป็นโรคที่หลายคนมักจะเป็นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจไม่ได้ร้ายแรงแต่ก็ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากทีเดียว ดังนั้นหากพบว่าเป็นโรคนี้ควรรีบทำการรักษาในทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook