ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่?

ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่?

ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคโลหิตจาง อาจเป็นโรคที่คนทั่วไปคิดว่าเกิดขึ้นจากคนที่มีความเสี่ยงด้านพันธุกรรมที่สืบทอดกันมา หรือคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของระบบเลือด แต่ทราบหรือไม่คะว่าในคนท้องที่ไม่เคยมีประวัติหรืออาการเกี่ยวข้องกับโรคนี้มาก่อน ก็เสี่ยงจะเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากในช่วงนั้นร่างกายจะขาดธาตุเหล็กสูง อาการนี้จึงสามารถกระทบไปยังทารกในครรภ์ได้ด้วย ดังนั้นสาวๆ ที่กำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่ ไม่ควรมองข้ามกับการตรวจสุขภาพและการฝากครรภ์ พร้อมควรทำความรู้จักกับโรคโลหิตจางในคนท้องให้มากขึ้น จะได้ตระหนักถึงความอันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้องตามมานั่นเองค่ะ

โลหิตจาง คืออะไร

ภาวะโลหิตจางคือ การที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงที่น้อยเกินไป จึงทำให้ร่างกายขาดความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนในระดับที่เหมาะสม ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลียผิดปกติ หายใจเร็ว หรือถี่และภูมิต้านทานในการป้องกันการติดเชื้อลดน้อยลงไปด้วย ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ จึงทำให้ร่างกายเจอกับภาวะโลหิตจางได้นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเข้าข่ายที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะเผชิญกับภาวะนี้ได้ง่ายๆ เลยทีเดียว


สาเหตุที่ทำให้เกิดภาละโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาแทรกซ้อนทางสุขภาพของคนท้อง ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายตกอยู่ในภาวะโลหิตจางคือ การขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์ปริมาณเลือดในร่างกายของคนท้องนั้นจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 ซึ่งการเลือดที่มีปริมาณมากขึ้นนี้ก็เพื่อให้ร่างกายของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้รับเลือดที่เพียงพอ จึงทำให้ร่างกายต้องผลิตเลือดให้มากขึ้นกว่าเดิมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คนท้องส่วนใหญ่เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินลดลง โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่คุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กที่มากขึ้นกว่าปกติจึงจะดีที่สุด


อันตรายจากภาวะโลหิตจาง ห้ามมองข้ามเด็ดขาด!

ภาวะโลหิตจางของคนท้องนั้นอาจส่งผลเกิดการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวแรกเกิดของทารกต่ำกว่าเกณฑ์ได้ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด เช่น หัวใจล้มเหลว อีกทั้งทารกแรกเกิดยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางด้วย เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ทารกได้รับธาตุเหล็กที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดความบกพร่องในการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาในระยะยาวได้


ดังนั้น หากคุณแม่ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับลูกน้อย ก็ควรเพิ่มการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาเสริมธาตุเหล็กไปรับประทานจึงจะดีที่สุดค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook