รักม้า รักระวัง

รักม้า รักระวัง

รักม้า รักระวัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รักม้า รักระวัง โรคติดต่อที่สำคัญของม้าในประเทศไทย ที่สำคัญๆ 2 โรคได้แก่




โรคเซอร่า (Surra) เป็นโรคติดต่อในม้าที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trypanosoma evanis (T. evanis) โดยมีแมลงดูดเลือด เช่น เหลือบ ยุง แมลงวันคอก เป็นพาหะนำโรค

อาการของโรค

ระยะเวลาของการเกิดโรคจะเกิดขึ้นภายใน 5-60 วันหลังจากถูกแมลงดูดเลือด

     ในรายเฉียบพลัน เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะมีอาการไข้สูง (104-160 F) ซึ่งอาจ เป็นๆ หายๆ น้ำหนักลด สุขภาพอ่อนแอ มีจุดเลือดออกบริเวณเยื่อเมือก บางรายมีอาการเดินหมุนเป็นวงกลม บวมน้ำที่บริเวณส่วนล่างของลำตัว ต่อมน้ำเหลืองบวม หรือผืนแดงขึ้นตามลำตัว

     ในรายเรื้อรัง มักมีไข้สูง ขึ้นๆ ลงๆ นานหลายสัปดาห์ โลหิตจาง อ่อนเพลีย ซูบผอม ขาหลังไม่ค่อยมีแรง โดยจะพบลักษณะของอาการเหงาและง่วงนอนตลอดเวลา ม้าส่วนใหญ่มักตายภายหลังจากแสดงอาการ
การควบคุมป้องกัน เราจึงควรมีอยสังเการกำจัดพาหะของโรคดังกล่าวข้างต้น และแยกสัตว์ที่สงสัยว่าป่วยออกจากฝูงและคอยสังเกตอาการ ที่สำคัญไม่ควนนำม้าจากแหล่งที่มีการระบาดมาเลี้ยง

โรคโลหิตจางติดต่อ(Equine Infectious Anemia:EIA )

     โรคนี้ไม่มีการรักษา และไม่มีวัคซีนป้องกัน เป็นโรคตัดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส Retrouirus โดยมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกัน การอยู่รวมกันของสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิดในระยะติดต่อ รวมถึงการติดต่อจากแม่สู่ทารก การเกิดโรคจะเกิดใน 1-3 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 3 เดือน ภายหลังจากติดเชื้อ

อาการขอโรค
     
      แบบเฉียบพลัน จะมีอาการ ไข้สูง ขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตขาหลัง บวมน้ำตามเยื้อเมือกต่างๆ ชีพจรเต้นเร็วแต่อ่อน และตายภายใน 1 สัปดาห์
     แบบกึ่งฉียบพลัน มีไข้สูง 3-5 วัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ มีเลือดคั่งที่เยื่อบุตา ดีซ่าน
     แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด หัวใจเต้เร็ว มีอาการโลหิตจางอย่างมาก
     แบบไม่แสดงอาการ สัตว์ที่ป่วยมักฟื้นตัวและหายจากโรคได้โดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะเป็นตัวแพร่เชื้อสู่สิ่งแวดล้อม และสัตว์อื่นได้นาน 3-14 ปี

การควบคุมป้องกัน จึงต้องตรวจสอบม้าทุกตัว ด้วยวิธี Coggin s test แยกสัตว์ป่วยและควรกำจัดทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่นำสัตว์จากแหล่งที่มีอาการป่วยมาเลี้ยงควรมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงดูดเลือด ที่สำคัญห้ามใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกัน



ภาพประกอบจาก photos.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook