เกร็ดน่ารู้ของ ”ฉี่”กับ “อึ” ทารก

เกร็ดน่ารู้ของ ”ฉี่”กับ “อึ” ทารก

เกร็ดน่ารู้ของ ”ฉี่”กับ “อึ” ทารก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องชี้ "ฉี่" คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้เวลาหลายวันเพื่อรอให้ระบบขับถ่ายของลูกแรกคลอดเริ่มทำงาน ทารกจะค่อยๆ ฉี่มากขึ้นตามปริมาณน้ำนมที่ได้กิน กรณีเบบี๋ที่กินนมแม่ เมื่อน้ำนมแม่มาเต็มที่ จำนวนครั้งในการฉี่จะมากกว่า 6-8 ครั้งต่อวัน หรือสังเกตว่าคุณต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เขาแปดถึงสิบครั้งต่อวัน และหากสังเกตว่าลูกดูฉี่น้อยผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที



ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเรื่องการซึมซับไปมาก ทำให้การประมาณว่าเด็กฉี่มากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องยากได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเด็กที่ฉี่น้อย กุมารแพทย์มีคำแนะนำในการสังเกตคือ คุณควรสัมผัสผิวของผ้าอ้อมตอนแห้ง เปรียบเทียบกับตอนที่ลูกฉี่แล้ว ดูว่าพองขึ้นมาบ้างหรือไม่ หรือผ้าอ้อมจะหนักขึ้น หรือหากลูกเป็นเด็กที่ฉี่น้อย ยังพิสูจน์ได้ด้วยกลิ่น ถ้าฉี่หลายครั้งกลิ่นก็จะแรงขึ้น






เกี่ยวกับอึอึ๊ "อึ" ของทารกแรกคลอดจะมีลักษณะหนืดและเหนียวเหมือนน้ำมันดิน เรียกว่า "ขี้เทา" หลังจากนั้น น้ำนมแม่หรือนมชงที่ทารกได้กินจะทำให้ลักษณะของอึเริ่มเปลี่ยนไป โดยเด็กที่กินนมชงจะมีอึสีน้ำตาลและเหนียวคล้ายแป้งเปียก ขณะที่เด็กกินนมแม่ อึจะสีออกเหลืองและเหลวกว่า เบบี๋ที่กินนมแม่มักจะถ่ายในระหว่างหรือหลังกินนมแทบทุกครั้ง ส่วนทารกที่กินนมผสมจะอึน้อยครั้งกว่าอย่างเห็นได้ชัด



โดยอาจจะถ่ายสองวันต่อครั้ง เวลาถ่ายทารกอาจจะร้องเสียงดัง และออกแรงเบ่งจนหน้าแดง ลักษณะเหล่านี้อาจทำให้คุณปู่คนย่าหรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่หนักใจ แต่สำหรับกุมารแพทย์แล้วลักษณะดังกล่าวไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วง เพราะเด็กทารกก็มีพฤติกรรมการขับถ่ายเฉพาะตัวเช่นกับเดียวผู้ใหญ่ บางคนถ่ายยาก บางคนถ่ายง่าย บางคนหลายวันกว่าจะถ่าย ขณะที่บางคนถ่ายวันละหลายครั้งและเด็กทารกไม่ค่อยจะท้องผูก ที่สำคัญถ้า "อึ" ของลูกน้อยยังนิ่ม และสีสันเป็นปกติก็ยังไม่มีเหตุให้ควรกังวลใดๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook