ทำไม การฝากครรภ์ ถึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณและลูกในท้อง
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/wo/0/ud/23/119869/119869-thumbnail.jpgทำไม การฝากครรภ์ ถึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณและลูกในท้อง

    ทำไม การฝากครรภ์ ถึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณและลูกในท้อง

    2018-11-25T08:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    คุณเพิ่งจะตั้งครรภ์ และไม่ทราบว่าจะทำอะไรต่อไปใช่หรือไม่? บทความนี้เขียนขึ้นสำหรับคุณ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่คุณจะได้รับจาก การฝากครรภ์

    ช่วงไตรมาสแรก – จากเริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12

    ในการฝากครรภ์ครั้งแรกของคุณ แพทย์มักจะแนะนำการตรวจร่างกาย แล้วจึงทำการประเมินสภาพร่างกาย คุณจะได้รับเอกสารที่ระบุวันแรกของการตั้งครรภ์ และอายุครรภ์ของคุณ คุณจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณไม่เป็นโรคหนองใน หรือโรคคลามีเดีย (หนองในเทียม) นอกจากนี้ หากคุณยังไม่ได้รับการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) มาก่อน แพทย์ก็จะสั่งให้มีการตรวจดังกล่าว ตามปกติแล้ว คุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ทุกสามหรือสี่สัปดาห์ แพทย์จะทำการตรวจวัดความดันโลหิต น้ำหนัก และปัสสาวะของคุณ เพื่อหาโปรตีนและกลูโคส นอกจากนี้ แพทย์อาจซักถามเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 12 ถึง 13 แพทย์จะตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจของลูกของคุณ และให้มีการตรวจอัลตราซาวด์ หากคุณมีอายุเกินกว่า 35 ปี มีเนื้องอกในมดลูก หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ แพทย์อาจแนะนำให้นัดหมายเพื่อเข้าพบผู้เชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว

    ช่วงไตรมาสที่สอง – จากสัปดาห์ที่ 12 ถึงสัปดาห์ที่ 24

    ช่วงไตรมาสที่สองนี้ เป็นช่วงเวลาสามเดือนที่ดีที่สุด สำหรับการผ่าตัดที่จำเป็นใดๆ ก็ตาม (ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดถุงน้ำดี) แพทย์จะแนะนำให้มีการตรวจสาร Alpha-fetoprotein (AFP) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การตรวจ Triple Screen หรือการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติของทารก ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 15 และ 20 นอกจากนี้ ลูกของคุณจะได้รับการตรวจเกี่ยวกับพัฒนาการขณะที่อยู่ในมดลูก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี

    ช่วงไตรมาสที่สาม – จากสัปดาห์ที่ 24 ถึงช่วงคลอด

    คุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ทุกๆ สองถึงสามสัปดาห์ ในช่วงจากสัปดาห์ที่ 24 ถึงสัปดาห์ที่ 30 กำหนดการปกติสำหรับการฝากครรภ์มักมีดังต่อไปนี้

    • ในสัปดาห์ที่ 26 คุณจะเข้ารับการตรวจกลูโคส เพื่อตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • ในสัปดาห์ที่ 28 แพทย์จะตรวจหาสัญญาณบ่งชี้ของการคลอดก่อนกำหนด โดยยึดตามผลการเพาะเลี้ยงเชื้อสเตรปโตค็อคคัสกลุ่มบีจากช่องคลอด คุณอาจได้รับการเฝ้าระวังอาการ หากมีความจำเป็น
    • คุณจำเป็นต้องได้รับการอัลตราซาวด์ เพื่อให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งของทารกในครรภ์ ในระหว่างสัปดาห์ที่ 32
    • ในสัปดาห์ที่ 36 คุณอาจจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์บ่อยขึ้น ซึ่งอาจเพราะความเสี่ยงบางประการ เช่น ตำแหน่งของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ หรือทารกในครรภ์ท่าก้น (breech) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
    • การตรวจคอมดลูกประจำสัปดาห์ จะมีการดำเนินการจากสัปดาห์ที่ 37 ถึง 38
    • คุณอาจคลอดในสัปดาห์ที่ 39 หากปากมดลูกสุก
    • ในสัปดาห์ที่ 40 ทารกในครรภ์พร้อมที่จะคลอดออกมา หากคุณยังไม่คลอด คุณจะได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
    • เมื่ออายุครรภ์ของคุณเข้าสู่สัปดาห์ที่ 42 แพทย์อาจแนะนำการเร่งคลอด (induction) เนื่องจากนับจากนี้เป็นต้นไป การรอต่อไปหมายความถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :ธีรวิทย์ บุญราศรี