คลอดยาก สาเหตุ อาการ และการจัดการที่คุณแม่ควรรู้

คลอดยาก สาเหตุ อาการ และการจัดการที่คุณแม่ควรรู้

คลอดยาก สาเหตุ อาการ และการจัดการที่คุณแม่ควรรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คลอดยาก เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงท้องแรกแทบทุกคน ฉะนั้น จึงไม่ต้องเป็นกังวลอะไร เนื่องจากในยุคนี้มีตัวช่วยดีๆ ที่จะช่วยให้การคลอดดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย และนี่คือรายละเอียด

ภาวะคลอดยากคืออะไร

ในช่วงที่ทำการคลอดผ่านทางช่องคลอดนั้น ทารกน้อยจะเลื่อนตัวผ่านมดลูกที่เปิดขยายและเชิงกราน เพื่อออกมาดูโลก แต่สำหรับทารกบางคนแล้ว หนทางที่จะเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดออกมานั้นกลับไม่ใช่หนทางที่ราบรื่นนัก นั่นจึงนำไปสู่ภาวะคลอดยากในผู้หญิงบางคนได้ ซึ่งการเรียนรู้ปัญหาเหล่านี้เอาไว้แต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้คุณสามารถคลอดลูกน้อยออกมาได้อย่างปลอดภัย

ทารกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดอย่างไร

ในระหว่างที่กำลังจะคลอดนั้น ศีรษะของทารกจะเอนต่ำลงไปทางกระดูกเชิงกรานของผู้เป็นแม่ ซึ่งศีรษะจะดันให้ผ่านช่องคลอดออกมา ซึ่งนั่นจะทำให้คอมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเป็นการดีกว่าถ้าหน้าของทารกหันไปทางด้านหลังของผู้เป็นแม่ เนื่องจากจะช่วยเอื้อให้ทารกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีทารกบางคนที่ไม่ใช้ท่าปกติในการเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยหรือไม่สะดวกต่อการคลอดได้ ท่าทางที่ไม่ปกติที่ว่านั้นก็คือ…

  • ทารกแหงนหน้าขึ้น: ซึ่งคอของทารกจะเงยไปทางด้านหลัง
  • เอาก้นลง: โดยทารกจะเอาก้นเป็นส่วนนำในการเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด
  • เอาไหล่ออกมาก่อน: โดยทารกจะงอตัวขวางเชิงกรานของผู้เป็นแม่

คุณหมออาจพยายามช่วยปรับท่าทางให้ทารกสามารถเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งถ้าทำสำเร็จศีรษะของทารกก็จะโผล่ออกมาจากช่องคลอดได้ ซึ่งเมื่อศีรษะผ่านออกมาได้แล้ว คุณหมอก็จะบิดไหล่ทารกเบาๆ เพื่อช่วยให้เคลื่อนตัวผ่านกระดูกเชิงกราน หลังจากนั้นท้อง เชิงกราน และขาของทารกก็จะเคลื่อนผ่านออกมา ซึ่งเมื่อถึงตอนนี้ลูกน้อยของคุณก็พร้อมจะลืมตาดูโลกแล้ว

ถ้าคุณหมอไม่สามารถปรับท่าทางให้ทารกได้ ก็อาจต้องใช้วิธีผ่าคลอด เพื่อช่วยให้คุณสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย

อาการของภาวะคลอดยาก

การสะดุดอยู่ในช่องคลอดนานเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ การบีบตัวของช่องคลอดอาจทำการบีบรัดศีรษะของทารก ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการคลอดลูกได้ ภาวะคลอดยากอาจส่งผลมาจากการเบ่งคลอดนานเกินไป หรือการเบ่งคลอดไม่มีความก้าวหน้า ซึ่งการเบ่งคลอดนานเกินไปนั้นมักใช้เวลานานกว่า 20 ชั่วโมง สำหรับคุณแม่ท้องแรก และนานกว่า 14 ชั่วโมงสำหรับคุณแม่ที่เคยคลอดลูกมาก่อน

คุณหมอและพยาบาลจะตรวจดูความก้าวหน้าของทารกผ่านทางช่องคลอดในระหว่างที่มีการเบ่งคลอด ซึ่งรวมทั้งการจับตาดูอัตราการเต้นของหัวใจ และการบีบรัดตัวของคุณในระหว่างที่ทำการคลอด คุณหมออาจแนะนำให้ทำการช่วยเหลือทารกตั้งแต่แรกเริ่ม ถ้าพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจทารกส่งสัญญาณว่ากำลังอ่อนแรง การช่วยเหลือทารกตั้งแต่แรกเริ่มนี้ก็มีทั้งการผ่าคลอด และการให้ยากระตุ้นการคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะคลอดยาก

  • การคลอดติดไหล่: ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทารกไม่สามารถเคลื่อนไหล่ผ่านช่องคลอดได้ แต่ศีรษะได้โผล่ออกไปแล้ว สภาวะเช่นนี้เป็นอะไรที่คาดเดาได้ยาก เนื่องจากทารกตัวใหญ่ๆ จะไม่เกิดปัญหาแบบนี้กันทุกคน
  • ทารกตัวใหญ่: ทารกบางคนก็แค่ตัวใหญ่เกินจนไม่สามารถเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดของผู้เป็นแม่ออกมาได้
  • ทารกอยู่ในท่าไม่ปกติ: ถ้าจะให้ดีนั้นทารกควรเอาหัวลงโดยหันหน้าไปทางด้านหลังของผู้เป็นแม่ แต่ถ้าเป็นท่าอื่นก็จะทำให้เคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดได้ลำบาก
  • ความผิดปกติของเชิงกราน: ผู้หญิงบางคนก็มีเชิงกรานที่ทำให้ทารกต้องหันกลับเวลาที่กำลังจะมาถึงช่องคลอด หรือไม่เชิงกรานก็แคบเกินไปที่จะทำการคลอดได้ ซึ่งโดยปกติคุณหมอจะทำการตรวจสอบเชิงกรานในระหว่างการตั้งครรภ์อยู่แล้ว
  • เนื้องอกมดลูก: เนื้องอกนี้ไม่ใช่เนื้อร้ายนี้อาจเป็นตัวขวางทางช่องคลอด ซึ่งในกรณีนี้ก็ต้องทำการผ่าคลอดสถานเดียว

คุณควรพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับความวิตกกังวลในขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ก็ควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วยถ้ามีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น

แพทย์จะทำการวินิจฉัยอย่างไร

คุณหมออาจทำการอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจสอบดูว่า ลูกน้อยของคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคลอดยากหรือเปล่า ซึ่งในระหว่างที่ทำการอุลตร้าซาวด์นั้น คุณหมออาจตรวจสอบในเรื่องต่อไปนี้

  • ลูกน้อยของคุณมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดหรือเปล่า
  • ทารกอยู่ในท่าที่พร้อมจะคลอดหรือเปล่า
  • ศีรษะของทารกน้อยมีขนาดใหญ่ขนาดไหน

แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะคลอดยากในบางกรณีก็ไม่สามารถตรวจจับได้จนกว่าจะมีการเบ่งคลอด และการเบ่งคลอดนั้นไม่มีความก้าวหน้า

แพทย์จะรักษาภาวะคลอดยากอย่างไร

การผ่าคลอดเป็นวิธีการแก้ปัญหาภาวะคลอดยากที่มักทำกันบ่อย ซึ่งตามสถิติแล้วหนึ่งในสามของการผ่าคลอดทั้งหมดนั้น เป็นการแก้ปัญหาในกรณีที่การคลอดตามธรรมชาติไม่ประสบผลสำเร็จ

คุณหมออาจแนะนำเรื่องการเปลี่ยนท่าทาง ถ้าท่ารกอยู่ในท่าที่จะทำให้เกิดภาวะคลอดยาก ซึ่งก็อาจจะเป็นท่านอนตะแคงข้าง การเดิน หรือการย่อเข่า เพื่อช่วยให้ทารกเปลี่ยนท่าเข้าไปในช่องคลอด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook