ริมฝีปากดำ สาเหตุอาจมาจากเรื่องง่ายๆ ที่คุณไม่เคยรู้

ริมฝีปากดำ สาเหตุอาจมาจากเรื่องง่ายๆ ที่คุณไม่เคยรู้

ริมฝีปากดำ สาเหตุอาจมาจากเรื่องง่ายๆ ที่คุณไม่เคยรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อยู่ดีๆ ปากที่เคยสีชมพูน่าจุ๊บ ก็เปลี่ยนสีคล้ำขึ้นแบบไม่ทันได้ตั้งตัวทั้งที่ก็คิดว่าดูแลอย่างดี แล้วใครจะไปคิดว่า สิ่งที่เราทำเป็นประจำในทุกวัน จะย้อนกลับมาทำร้ายเราแบบไม่รู้ตัว นี่คือพฤติกรรมต้องสงสัยทำให้ ริมฝีปากดำ ที่คุณต้องรีบเช็ค 

การรับประทานอาหารบางชนิด

มันเป็นเรื่องยาก ที่จะป้องกันไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่สัมผัสกับริมฝีปาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารบางชนิดที่คุณรับประทานเป็นตัวการสำคัญ ในการทำให้ริมฝีผากของคุณคล้ำขึ้น เช่น หอม ขิง กระเทียม หรือผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อย่างมะนาว มะกรูด สัปปะรด ซึ่งอาหารเหล่า อุดมไปได้วยสารที่ชื่อว่า โซราแลน (Psoralen)  เป็นสารที่มีความไวต่อแสงแดด และสามารถเกิดฏิกิริยาทางเคมีกับรังสีอัลตราไวโอเลต เรียกว่า ปฏิกิริยาแพ้แดด ส่งผลให้ริมฝีปากของเรามีสีคล้ำขึ้นอย่างเห็นได้ ซึ่งปฏิกิริยานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณริมฝีปากเท่านั้น แต่หากสารโซราแลนตกค้างอยู่บนผิวหนัง เมื่อทำปฏิกิริยากับแสงแดดจะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นำปัญหา ฝ้า กระ หรือจุดด่างดำมาให้หนักใจอีกหนึ่งปัญหา

ยาสีฟัน

ใครจะไปคิดว่าการแปรงฟัน จะส่งผลให้ริมฝีปากของเราดำคล้ำได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากสารประกอบในยาสีฟัน อย่างเช่น ผงขัดละเอียด สารที่ทำให้เกิดฟอง สารแต่งสี กลิ่น รส สารให้ความชุ่มชื้น สารกันเสีย อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวบริเวณริมฝีปาก ซึ่งเป็นผิวที่บอบบาง เมื่อใช้เป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาริมฝีปากคล้ำขึ้นได้  อีกทั้งยาสีฟันบางชนิดมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ (Fluorine) และแอลกอฮอล์ (Alcohol) ที่สูงมากเกินไป อาจทำให้ริมฝีปากที่สัมผัสกับฟองของยาสีฟัน เกิดอาการแห้ง แตก และเกิดเป็นปัญหาสีปากคล้ำในอนาคต

การทาลิปสติก

ลิปสติกที่ผู้หญิงทากันอยู่ทุกวันนี่แหละ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาริมฝีปากคล้ำแบบไม่รู้ตัว เนื่องจากระคายเคืองกับสารบางอย่างที่ผสมอยู่ในสลิปสติกสีสวยเหล่านั้น โดยสารส่วนใหญ่ที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือ สารประกอบที่ทำให้เกิดสี กลิ่น และสารกันบูด และอีกหนึ่งสารสำคัญที่สาวๆ อาจนึกไม่ถึงว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ นั่นก็คือ ลาโนลิน (Lanolin) สารคัดหลั่งจากใต้ต่อมไขมันของแกะ เพื่อหล่อเลี้ยงผิวหนังและขนของแกะ ซึ่งถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมความงามหลากหลายรูปแบบ ทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม รวมไปถึงเครื่องสำอาง เนื่องจากลาโนลินเป็นไขมันที่ใกล้เคียงกับไขมันมนุษย์ อีกทั้งยังให้ความชุ่มชื้นอย่างยอดเยี่ยม แต่อันตรายที่ต้องระมัดระวังจากการใช้ลิปสติกที่มีส่วนประกอบของลาโนลิน ก็คือ เนื่องจาลาโนลินเป็นสารสกัดมาจากแกะ ซึ่งในฟาร์มเลี้ยงแกะที่มักใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลง อาจทำให้สารเคมีเหล่านั้นปนเปื้อนอยู่ในลาโนลีน ที่นำมาผสมกับเครื่องสำอาง จนอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกับริมฝีปาก

การเลียริมฝีปาก 

เชื่อว่าหลายคนคงติดนิสัยเลียริมฝีปากอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะด้วยความเคยชิน หรือความจำเป็นที่ต้องเลียเมื่อรู้สึกว่าริมฝีปากแห้ง แต่รู้หรือไม่ว่า ขณะที่คุณเลียริมฝีปากนั้น น้ำลายของเราที่ประกอบไปด้วยเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร อย่างเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ที่ทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการย่อยอาหาร จะรบกวนเนื้อเยื่อบริเวณริมฝีปาก เมื่อถูกรบกวนด้วยเอนไซม์บ่อยครั้งเป็นระยะเวลานาน เนื้อเยื่อเหล่านั้นจะเริ่มเปลี่ยนสีทำให้ริมฝีปากของเรามีสีคล้ำและดำขึ้น 

แสงแดด

แสงแดดไม่ใช่เพียงตัวการทำร้ายผิวอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เป็นศัตรูกับริมฝีปากสีสวยสดใสด้วย เนื่องจากรังสียูวีที่มาพร้อมกับแสงแดดทั้งรังสีอัลตราไวโอเลตเอ (UVA) อัลตราไวโอเลตบี (UVB) ได้กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ส่งผลให้ริมฝีปากของเรามีสีคล้ำและดำขึ้น การพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีแสงแดดจัดโดยไม่ได้รับการปกป้องเท่าที่ควรถือเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง 

ทำแบบนี้ช่วยได้

  • หลังจากเรารับประทานอาหารที่คาดว่ามีสารโซราแลน ให้ทำความสะอาดด้วยการเช็ดหรือล้างริมฝีปากทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่สาเหตุ 
  • การระมัดระวังระหว่างการแปรงฟัน ไม่ให้ฟองที่เกิดจากยาสีฟันเปื้อนบริเวณริมฝีปากมาก หรือเป็นระยะนาน รวมถึงการเลือกยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และแอลกอฮอล์ไม่มากเกินไป พร้อมทั้งบำรุงริมฝีปากให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อผิวบริเวณริมฝีปากแห้งมากเกินไป  
  • หลีกเลี่ยงลิปสติกที่อาจมีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแริมฝีปาก 
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากที่ให้ความชุ่มชื้นอย่างเต็มที่
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากที่ผสมสารกันแดด
  • สครับริมฝีปาก เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออก 

  Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook