โครงการ ไม่เสี่ยงแพ้ ไม่เสี่ยงดื้อยา ฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ

โครงการ ไม่เสี่ยงแพ้ ไม่เสี่ยงดื้อยา ฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ

โครงการ ไม่เสี่ยงแพ้ ไม่เสี่ยงดื้อยา ฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

แถลงข่าวความร่วมมืออย่างเป็นทางการไปแล้ว ในโครงการ "ไม่เสี่ยงแพ้ ไม่เสี่ยงดื้อยา ฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ" ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดย บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สเตร็ปซิล ที่ได้ร่วมกับ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งโครงการนี้ เป็นโครงการ ที่จะช่วยส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนชาวไทยได้มีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

โดยมี รถเมล์-คนึงนิจ จักรสมิทธานนท์, ครอบครัว เจ-เจตริน และปิ่น-เก็จมณี วรรธรนสิน, โบ-ชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ และ น้องอชิ ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน, ร่วมเล่าประสบการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะให้ฟังกันด้วย พร้อมด้วยพิธีกรสาวสวยมากความสามารถ เจ้าสาวป้ายแดงอย่าง นาเดีย นิมิตรวานิช รับหน้าที่ดำเนินการแถลงข่าว

 

 

แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โครงการ "ไม่เสี่ยงแพ้ ไม่เสี่ยงดื้อยา ฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ" นี้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลราชวิถี ในการให้หลักปฏิบัติกับคนไข้ เพื่อดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม โดยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
โครงการนี้จะช่วยรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า อาการเจ็บคอนั้น 85% มักเกิดจากไวรัส ซึ่งมักหายเองได้ ขึ้นกับการดูแลตัวเอง แต่คนมักใจร้อน คิดว่าต้องได้รับยา จะได้หายเร็ว ที่จริงถ้าเป็นการติดเชื้อไวรัส จะกินหรือไม่กินยาปฏิชีวนะระยะเวลาที่ทำให้อาการหายไปก็เท่ากัน ถึงกินยา ยาก็ไม่ได้ช่วยอะไรและอาจทำให้เกิดผลเสีย เพราะจริงๆ แล้วในร่างกายเราต้องมีเชื้อแบคทีเรียที่ดีเอาไว้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียจากนอกร่างกายมารุกราน ถ้าเรากินยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นบ่อยๆ มันก็จะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดีไปด้วยทำให้ ยิ่งป่วยง่ายมากขึ้นเพราะติดเชื้อง่ายยิ่งขึ้น อีกข้อที่ควรรู้คือยาปฏิชีวนะนั้นใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ บางครั้งการรับประทานยาปฏิชีวนะจึงไม่ช่วยและอาจ

ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นคนไข้จึงควรรู้จักวิธีรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมว่ามีวิธีการรักษาอื่นในการรักษาอาการเจ็บคอนอกจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ใช้ยาอม, ดื่มนํ้ามากๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่น, น้ำมะนาว อยู่ห่างจากควันและมลพิษ พักผ่อนให้เพียงพอ, ใช้เสียงให้น้อยลง เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา ก็ควรใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและจำเป็นเท่านั้น สิ่งนี้จะช่วยลดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะลงได้
นอกจากในงาน จะแถลงข่าวความร่วมมือแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านอาการเจ็บป่วยของเหล่าคนดัง รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และรับฟังคำแนะนำโดยตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขด้วย

รถเมล์ ‘โดยส่วนตัวแล้วบางทีไม่มีเวลาไปหาคุณหมอ ก็ใช้วิธีไปพบเภสัชกรให้เค้าเป็นผู้จ่ายยาให้ เพราะมันสะดวกสบาย แต่จะเป็นคนที่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือ บางทีเคยกินยาตัวนี้หาย คราวหน้าใช้ยาตัวเดิมอีกไม่หายแล้ว ส่วนมากอาการจะเริ่มจากเจ็บคอก่อน แล้วน้ำมูกไหล แล้วเป็นไข้ เป็นทีเป็นนาน ไอทีไอนาน เรื้อรังมาก เลยรู้สึกว่ากินยาแล้วก็ไม่หาย ไม่รู้ว่าดื้อยารึเปล่าคะ ถ้ากินแล้ว ในอาการที่เคยเป็นและขนาดของยาเท่านี้จะหาย แต่พอรอบหน้ามาป่วยเหมือนเดิม ใช้ยาตัวเดิมแต่มันจะไม่หาย แต่อาการก็ตามสเต็ปเลยคะ เจ็บคอ ต่อจากนั้นก็น้ำมูกไหล และเป็นทีก็จะเป็นนาน และรู้สึกว่าไอเรื้อรังมากเลยคะ และบางครั้งกินยาแล้วก็ไม่หายด้วยค่ะ อาการแบบนี้เรียกว่าดื้อยารึเปล่าคะ แล้วถ้าเจ็บคอช่วงแรกๆ ก็จะทานน้ำอุ่น หรือมยาสมุนไพร ยาอม ถูกวิธีไหมคะ'

แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์ ถ้าถามถึงยาถ้าต้องปรับขนาดขึ้นเรื่อยๆ นี่น่าจะเป็นการดื้อยา แต่อาการคุณรถเมล์เล่าให้ฟังมันน่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส ซึ่งถ้าเป็นช่วงแรกๆ ทานยาปฏิชีวนะหรือไม่ทานก็มีค่าเท่ากันคะ การทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัส จึงเหมือนเป็นการทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ซึ่งเกิดผลเสียคือเกิดการดื้อยา พอคราวหน้าเกิดติดเชื้อแบคทีเรียจริง ๆ ยาปฏิชีวนะก็อาจไม่ช่วย ต้องเพิ่มขนาดยา อย่าลืมว่ายามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ให้ลองสังเกตุตัวเองว่า ถ้าเราเจ็บคอ มีไข้ แต่ไม่มีเสมหะ น่าจะเป็นไวรัสมากที่สุด ถ้ามีเสมหะ ให้ดูสี ถ้าเขียวเหลือง ก็ติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเป็นสีใสๆ ขาวๆ ยังเป็นไวรัสอยู่ แล้วยังไม่พักผ่อนฝืนทำงาน ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียในที่สุด และยิ่งถ้าเป็นอะไรนิดนึงก็กินยาปฏิชีวนะ อีกหน่อยก็จะดื้อยา กินยาตัวเดิมไม่ได้ผล

สำหรับการเจ็บคอที่เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย แต่การทานยา ก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะถูกจำกัดมาว่า ต้องทานกี่เม็ด เพราะเวลาทานยาแล้วอาการดีขึ้นหรือหายแล้วก็ต้องหยุดยาทันที ส่วนการดูแลเบื้องต้นที่ทานน้ำอุ่น หรืออมยา ถูกต้องแล้วค่ะ แต่ถ้ามีเสมหะต้องมาดูว่าสีอะไร เพราะพกวนี้จะเป็นเชื้อแบคทีเรีย แต่มันจะมีทั้งดีและไม่ดี ทั้งนี้หากไม่มั่นใจควรไปพบแพทย์คะ'

 

 

ด้าน โบ-ชญาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ ‘ตัวโบไม่ได้ดื้อยา หรือแพ้ยาอะไร เมื่อก่อนอยากใช้อะไรก็ใช้ ตอนอยู่เมืองนอก ต้องมียาปฏิชีวนะติดบ้านไว้เลย เหมือนเป็นยาวิเศษจริง ๆ แต่พอมีลูกต้องระวังยิ่งขึ้น เพราะเวลาพาลูกไปหาหมอ อย่างเป็นหวัด ทำไมหมอมักให้ยาลดไข้ ลดน้ำมูก แต่อยากทราบว่าตัวยาพวกนี้ มียาปฏิชีวนะอยู่ด้วยไหมคะ'

แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์ ‘โดยทั่วไปไม่ว่าจะยาลดไข้ หรือยาลดน้ำมูก จะไม่มียาปฏิชีวนะอยู่ และไม่จำเป็นจะต้องทานยาจนหมด เมื่อร่างกายเราหายดีแล้ว เราต้องหยุดซึ่งมัน ซึ่งไม่เหมือนกับยาปฏิชีวนะ ที่ควรจะทานให้ครบ ไม่งั้นอาจดื้อยา

ปิ่น-เก็จมณี เพิ่มเติมว่า ‘ปิ่นก็เป็นคนนึงที่เคยแพ้ยาค่ะ พอจะใช้ยาอะไรก็เลยต้องระวังให้มาก ถ้าไม่แน่ะใจก็ไปหาหมอดีกว่า'

ซึ่งหลังจากเปิดตัวโครงการไปแล้วก็จะมีกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มวิชาชีพแพทย์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้บริโภคทั้งหมด เริ่มต้นด้วยกิจกรรมสัมมนาที่ให้ข้อมูลข่าวสารเชิงวิชาการกับเภสัชกร ที่เป็นผู้จ่ายยาให้กับผู้บริโภคโดยตรง ตามจังหวัดใหญ่ๆ อาทิ กรุงเทพฯ ชลบุรี ขอนแก่น ภูเก็ต นอกจากนี้ยังมีในส่วนของกิจกรรมภาคสนาม ไปตามร้านขายยาต่างๆ ในกรุงเทพและปริมณฑล โดยวางเป้าหมายไว้ถึง 500 ร้าน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook