นโยบายโสเภณีจากผู้ว่า กทม.? รือพวกเธอ"ไม่มีตัวตน"

นโยบายโสเภณีจากผู้ว่า กทม.? รือพวกเธอ"ไม่มีตัวตน"

นโยบายโสเภณีจากผู้ว่า กทม.? รือพวกเธอ"ไม่มีตัวตน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า จำนวนสถานบริการอาบอบนวดที่มีการค้าบริการทั่วประเทศมีจำนวน 172 แห่ง จำนวนลูกจ้าง 5,195 คน

ส่วนฐานข้อมูลจาก Fondation Scelles ในปี 2012 เรื่อง ‘Rapport mondial sur l’exploitation sexuelle’ ซึ่งในหน้า 147 รายงานว่า

ประเทศไทยมี “200,000 personnes prostituées” (มีจำนวนพนักงานบริการทางเพศ สองแสนคน)

นอกจากนี้ข้อมูลของ "ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพ" พบว่า ปี 2553 มีจำนวนสถานบริการ "อาบ อบ นวด" ทั้งแบบแผนปัจจุบันและนวดแผนโบราณในกรุงเทพฯ จำนวน 508 แห่ง  ส่วนปี 2552 มีแค่ 389 แห่ง

โดยเขตที่มี "อาบ อบ นวด" มากที่สุดคือ เขตคลองเตย รองลงมาคือ เขตวัฒนา

เหล่านี่คือตัวเลขที่มีการใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ในการเก็บข้อมูล

 

แต่ที่มากกว่านั้น เกินกว่าที่จะบันทึกข้อมูลได้ก็คือ นอกจากภาพที่เ็ห็นในกรุงเทพฯ ยามค่ำคืนจะเต็มไปด้วยแสงไฟที่สว่างไสวตามอาคารต่าง ๆ แล้ว

แสงไฟที่มาจาก "อาบ อบ นวด" หรือ มุมมืดตามท้องถนนอย่างย่าน "สวนรถไฟ โรงแรมสยาม สถานีรถไฟหัวลำโพง โรงแรมย่านถนนเยาวราช ถนนราชดำเนิน"

ต่างก็คราคร่ำไปด้วยผู้คนที่จะมาใช้บริการ "พนักงานบริการทางเพศ" เหล่านี้ ทั้งที่ "มีสังกัดและไร้สังกัดยืนตามท้องถนน"

ถ้าวันใดสังคมและสื่อมวลชน "สนใจ" เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะ "แสดงภาพการจับกุมและปรับ"

แต่หลังจากนั้น "ภาพที่คนกรุงเทพฯ เคยชิน ก็จะปรากฎพนักงานบริการทางเพศมายืนอยู่ตามริมถนนกันทั่วไป"

สร้า้งความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นและ "ผู้ต้องการใช้บริการ"

แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ เหตุใดจึงยังไม่เห็น "นโยบายในการจัดการปัญหาพนักงานบริการทางเพศตามท้องถนน" จากผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

หรือ "พวกเธอ" อาจไม่ใช่คน (กรุงเทพฯ) จึงไม่จำเป็นต้องมีนโยบายสำหรับพวกเธอ

หรือ "พวกเธอ" มีอำนาจบางอย่างที่เหนือกว่าผู้ว่าฯ  กทม.ที่คอยจัดการและปกครองตัวเองอยู่แล้ว

 

แม้สังคมมองว่า "พนักงานบริการทางเพศ" เป็นอาชีพที่ต่ำต้อย แต่อาชีพเหล่านี้ก็สร้า้งกำไรและมูลค่าให้้แก่ประเทศไทยและกรุงเทพฯ อย่างมหาศาล

ทำให้ "นานาชาติ" รู้จักประเทศไทย (ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงหรือชื่อเสีย) ได้มากขึ้นอีกด้วย

 

ดังนั้นด้วยภาพลักษณ์ของกรุงเทพฯ เมืองแห่งวัฒนธรรมอันดีงาม

คงถึงเวลาแล้วสำหรับ "นโยบายจัดการกับพนักงานบริการทางเพศ"

เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อเมืองหลวง แล้วในขณะเดียวกันก็สร้างมูลค่าสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ดีกว่าที่จะต้องมาอ่านหนังสือพิมพ์แล้วเห็นข่าว "ฆาตกรรมต่อเนื่องพนักงานขายบริการ" หรือข่าวประเภท "ลูกค้าชาวต่างชาติถูกพนักงานบริการทางเพศปล้นทรัพย์"

หรือไม่งั้นวันดีคืนดี ขณะกำลังเดินกลับบ้านอาจจะได้ยินเสียงสาว สวย ใส พูดข้างๆ หูว่า "เที่ยวไหมคะ"

ทั้งๆ ที่ ไม่ค่อยอยากได้ยินเท่าไร...

 

                                                               พันธวิศย์  เทพจันทร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook