วิธีดูแบงค์ปลอม ด้วยตนเองง่ายๆ เพียง 9 จุดสังเกต รู้ผล "แท้-เทียม"

วิธีดูแบงค์ปลอม ด้วยตนเองง่ายๆ เพียง 9 จุดสังเกต รู้ผล "แท้-เทียม"

วิธีดูแบงค์ปลอม ด้วยตนเองง่ายๆ เพียง 9 จุดสังเกต รู้ผล "แท้-เทียม"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีดูแบงค์ปลอม ด้วยตนเอง แบบง่ายๆ กับ 9 จุดสังเกตบนธนบัตรรัฐบาลไทย แค่จับ ยกส่อง พลิกเอียงก็รู้ผลแล้ว

ธนบัตรปลอม เป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ของเหล่ามิจฉาชีพที่เอาไว้ลวงล้วงเงินจากผู้ที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยใช้ธนบัตรปลอม หรือแบงค์ปลอมมาแลกซื้อสินค้า ทำให้พ่อค้า แม่ค้าที่ค้าขายได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก และเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต Sanook Money จึงมีวิธีสังเกตแบงค์ปลอม แบบง่ายๆ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาฝากกัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คำแนะนำในการตรวจสอบแบงค์ปลอมได้ด้วยตนเอง แค่สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง และเพื่อความมั่นใจควรตรวจสอบอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป

วิธีดูแบงค์ปลอม ด้วยตนเอง แบบง่ายๆ 

1. เนื้อกระดาษ

ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนป​ระกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป

วิธีดูแบงค์ปลอม

2. ลายพิมพ์เส้นนูน

เกิดจากการพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ ภาพและลายเส้นที่ได้จึงมีรายละเอียดคมชัด ซึ่งใช้ในการพิมพ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ​จะรู้สึกสะดุด

 

two

​3. ลายน้ำ

เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ

ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 

three

4. ช่องใส

ช่องใส (ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท) ช่องใสทรงหยดน้ำ มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน และมีตัวเลข “20” ขนาดเล็กดุนนูน

ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และตัวเลขใส “20” ที่อยู่ด้านล่าง มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน มีการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นเป็นสีเหลือบแดง และมีตัวเลข “20” สีทองอยู่ตรงกลางช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

 

four

5. ภาพซ้อนทับ

เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพทั้งสองด้านได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์ สามารถสังเกตได้ด้วยการยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง

 

 

five

 

6. ตัวเลขแฝง

ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง

six

7. หมึกพิมพ์

ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ ภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสลับสี ส่วนชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นเป็นประกาย

seven

8. แถบสี

เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง และมีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะ จะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาขนาดเล็ก เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นอ่านได้ชัดเจน

 

eight

9. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง

พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง ลายประดิษฐ์บริเวณกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา หมวดเลขหมายจะเรืองแสง และเส้นใยที่ฝังในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง แดง และน้ำเงิน​

 

nine

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook