"ทริส"ติดดาวกลุ่มธุรกิจเรตติ้งเด่น ครึ่งปีหลัง"อุตฯอาหาร-นิคม-พลังงาน"อนาคตรุ่ง

"ทริส"ติดดาวกลุ่มธุรกิจเรตติ้งเด่น ครึ่งปีหลัง"อุตฯอาหาร-นิคม-พลังงาน"อนาคตรุ่ง

"ทริส"ติดดาวกลุ่มธุรกิจเรตติ้งเด่น ครึ่งปีหลัง"อุตฯอาหาร-นิคม-พลังงาน"อนาคตรุ่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทริสฯชี้ครึ่งปีหลัง กลุ่มธุรกิจอาหาร-พลังงาน-นิคมอุตสาหกรรมโดดเด่นสุด ยึดเรตติ้งเหนือ A อย่างเหนียวแน่น สะท้อนแนวโน้มผลประกอบการและงบการเงินแข็งแกร่ง พร้อมแนะจับตากลุ่มส่งออก-โลจิสติกส์-อสังหาฯน่าห่วง เพราะทิศทางธุรกิจไม่สดใส คู่แข่งเยอะ หนี้สูง ต้นทุนพุ่ง

นาย สันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการประเมินของทริสฯมีความเห็นว่า กลุ่มธุรกิจดาวเด่นที่มีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง

ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอาหาร เช่น บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นราคาเนื้อสัตว์หน้าฟาร์มกว่า 10% ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 1/56

โดยพบว่าในกลุ่มธุรกิจดัง กล่าวโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดใหญ่ได้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้และลดความเสี่ยงทางการเงิน อาทิ CPF ที่หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจอาหาร (Food) ซึ่งมีโอกาสในการทำกำไรดีกว่า เมื่อเทียบกับธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ (Farm) รวมถึง TUF ใช้วิธีบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน โดยทำธุรกรรมเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งช่วยให้งบการเงินโดยภาพรวมของกลุ่มธุรกิจนี้ค่อนข้างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ประเมินว่า กลุ่มธุรกิจพลังงานที่มีรายได้แน่นอนจากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมที่มีโอกาสการเติบโตต่อเนื่องจากการขยายตัวของ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน จึงทำให้กลุ่มธุรกิจทั้งหมดนี้ได้รับการจัดอันดับเรตติ้งสูงกว่า A

"กลุ่ม ธุรกิจพวกนี้ได้รับเรตติ้งในระดับสูงกว่า A ทั้งนั้น เพราะไม่ใช่แค่เรื่องผลประกอบการที่ดีอย่างเดียว แต่เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตในอนาคต มีฐานะงบการเงิน กระแสเงินสดที่น่าสนใจ จึงทำให้เรามีมุมมองเป็นบวกต่อในช่วงครึ่งปีหลัง"

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจที่น่าเป็นห่วงและอยู่ระหว่างการจับตาของทริสฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมการส่งออก ซึ่งแม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะพยายามลดสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดที่ซบเซา แต่ต้องยอมรับว่าปัจจัยลบของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อเนื่อง และภาคส่งออกไทยหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ขณะเดียวกันในระยะกลางถึงระยะยาวก็จะต้องเผชิญกับความผันผวนของค่าเงินด้วย ส่งผลให้ธุรกิจดังกล่าวไม่สดใสนัก

ต่อมาคือกลุ่มโลจิสติกส์ ทั้งบก เรือ และอากาศ ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันแพง และคู่แข่งทางธุรกิจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีผลเสียต่อการปรับขึ้นค่าบริการหรือต่อรองราคกับลูกค้า

รวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพบว่ามีบางบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะผู้พัฒนาอสังหาฯประเภทคอนโดมิเนียมโครงการขนาดใหญ่ อาคารสูงกว่า 8 ชั้น เนื่องจากต้องใช้เวลามากในการโอน ทำให้ครึ่งแรกของปีนี้มีบางบริษัทที่ถูกปรับลดเครดิต (Down Grade) เนื่องจากมีภาระหนี้สูงกว่ารายได้ ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้ระยะเวลาราว 3-5 ปี กว่าจะพลิกฟื้นธุรกิจได้อีกครั้ง

นายสันติกล่าวว่า สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังประเมินว่า น่าจะมีบริษัทต่าง ๆ เข้ามาใช้บริการจัดอันดับเรตติ้งเพื่อออกตราสารหนี้ (บอนด์) มากขึ้น เนื่องจากตลาดคาดการณ์ล่วงหน้าว่า สหรัฐอเมริกาใกล้จะลดการใช้มาตรการทางการเงินเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งทำให้เงินทุนที่เคยหมุนเวียนในระบบลดลง และมีบางส่วนไหลออกจากตลาดทุนไทย กดดันให้ผลตอบแทนตราสารหนี้ (Yield) พุ่งสูง ดังนั้นหากบริษัทใดต้องการจะใช้เงินทุน ก็จะต้องเร่งออกตราสารเพื่อล็อกต้นทุนทางการเงินไว้ก่อน

"ครึ่ง ปีแรกมีลูกค้าใหม่เข้ามาให้จัดอันดับเครดิตแล้ว 12 ราย ซึ่งถือว่าได้ตามเป้าหมายทั้งปีแล้ว ส่วนครึ่งปีหลังน่าจะมีเข้ามาเพิ่มอีกโดยกระจายในทุกอุตสาหกรรม เพราะผู้ประกอบการจำเป็นต้องล็อกต้นทุนทางการเงินไว้ เนื่องจากภายใน 1-2 ปีนี้ เชื่อว่ายีลด์ในบอนด์จะปรับตัวสูงขึ้นอีก" นายสันติกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook