“มติชน” กัดฟันลดคน ท่ามกลางภาวะสื่อมวลชนฟองสบู่แตก!

“มติชน” กัดฟันลดคน ท่ามกลางภาวะสื่อมวลชนฟองสบู่แตก!

“มติชน” กัดฟันลดคน ท่ามกลางภาวะสื่อมวลชนฟองสบู่แตก!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าวงการสื่อสารมวลชนเข้าขั้นระส่ำกันต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2561 ยาวมาจนถึงต้นปี 2562 อย่างเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โพสต์ทูเดย์ บริษัทในเครือบางกอก โพสต์ ประกาศโครงสร้างองค์กรด้วยการลดจำนวนคนลงเพื่อลุยทำสื่อดิจิทัลเปิดผนึก! “โพสต์ทูเดย์” แจงเหตุจำใจลดคน ลั่นคัดทีมบุกดิจิทัล

>> เปิดผนึก! “โพสต์ทูเดย์” แจงเหตุจำใจลดคน ลั่นคัดทีมบุกดิจิทัล

ล่าสุดพิษสื่อดิจิทัล ได้ล่ามมายังสื่อใหญ่ย่านประชาชื่นด้วย โดยเว็บไซต์ THE BANGKOK INSIGHT รายงานว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมบอร์ดของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และในเครือ มีมติเห็นชอบเรื่องการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กร ซึ่งจะทำให้พนักงานบางส่วนได้รับผลกระทบและเข้าร่วมโครงการในการปรับครั้งนี้ โดยบริษัทฯ มีมาตรการและแผนช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 3 แนวทาง ดังนี้

  1. การจ่ายเงินชดเชย ช่วยเหลือเมื่อบริษัทเลิกจ้างด้วยเหตุจำเป็นทางธุรกิจ โดยมีการจ่ายเงินชดเชยให้ตามอายุงาน เริ่มต้นที่พนักงานที่มีอายุงานน้อยสุด ตั้งแต่ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปีจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย 1 เดือน และเงินชดเชยพิเศษเพิ่มอีก 1 เดือน ไปจนถึงอายุงานตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย 10 เดือน และเงินชดเชยพิเศษเพิ่มอีก 10 เดือน
  2. การช่วยเหลือเรื่องประกันชีวิตและสุขภาพ จะให้สิทธิพนักงานใช้ประกันชีวิตและสุขภาพถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562
  3. การช่วยเหลือเรื่องการศึกษาบุตรของพนักงานที่ได้รับทุนการศึกษาจากบริษัท โดยให้สิทธิพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลือกจ้างครั้งนี้ต่อไปอีก 3 ปี (ถึงปี 2564) โดยรายละเอียดของเงินทุนจะเป็นไปตามนโยบายที่แจ้งพนักงานก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ เว็บไซต์ THE BANGKOK INSIGHT ยังระบุว่า สาเหตุของการลดพนักงานทั้งคนข่าว และพนักงานทั่วไปที่มีอายุงานมากนั้น เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายโดยตรง ต้องยอมรับว่าแม้สื่อมติชนจะเป็นสื่อใหญ่ที่อยู่มานานหลายสิบปี แต่การถูกสื่อดิจิทัล หรือสื่อออนไลน์เข้ามาแทนทีก็ส่งผลให้สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบไปไม่น้อย Sanook! Money ได้ตรวจสอบข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบรายละเอียดดังนี้

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2532 โดยมีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งหมด 25 รายชื่อ แต่เราขอหยิบยกเพียง 5 รายชื่อที่มีสัดส่วนการถือหุ้นมากที่สุดมานำเสนอ ดังนี้

  • นายขรรค์ชัย บุนปาน ถือหุ้น 95%
  • นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ถือหุ้น 33%
  • บริษัท ไซเบอร์ เวนเจอร์ จำกัด ถือหุ้น 50%
  • นายแพทย์วิชรัตน์ ชวาลอัมพร ถือหุ้น 52%
  • นางสาวปานบัว บุนปาน ถือหุ้น 45%

ดำเนินธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 908.21 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการย้อนหลัง ดังนี้

  • ปี 2558 รายได้ 1,076 ล้านบาท ขาดทุน 103.34 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 983.14 ล้านบาท ขาดทุน 63.67 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 1,036 ล้านบาท กำไร 89.78 ล้านบาท

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงการสื่อมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตทั้งเครื่องพิมพ์ ค่ากระดาษ ค่าขนส่ง ด้วยแล้ว ยังถือเป็นการ Disrupt บุคลากรในสายอาชีพอีกต่างหาก

ดังนั้น คนทำสื่อเองก็ควรที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอีกทั้งต้องต้องสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เน้นความสะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือได้อีกด้วย หากคนทำสื่อไม่ปรับตัว “อาชีพพนักงานสื่อสิ่งพิมพ์” ก็อาจจะสูญพันธ์ไปเลยก็ได้ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้

>> รวม 7 อาชีพ ที่ดับสูญ! เหตุถูกเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook