ไขปัญหา ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร?

ไขปัญหา ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร?

ไขปัญหา ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าลดหย่อน คืออะไรและมีอะไรบ้าง

ค่าลดหย่อน หมายถึง “รายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้น หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งมีการปรับปรุงค่าลดหย่อนในปีภาษี 2560 ไว้ดังนี้

– ค่าลดหย่อนคู่สมรส คนละ 60,000 บาท และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน

–  ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท

– ค่าลดหย่อนบิดา-มารดา คนละ 30,000 บาท (กรณีนี้บิดา-มารดาต้องไม่มีรายได้)

– ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพคนละ 60,000 บาท (สำหรับคนที่ต้องดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ)

– เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

– เบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

– เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

– ค่าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท

– ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)/กบข./กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

–  เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท 

–  เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท

– โครงการบ้านหลังแรก 2558-2559 สูงสุดปีละ 120,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี (เฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังแรกระหว่าง 13 ต.ค. 2558 – 31 ธ.ค. 2559)

– กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท 

– ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

– ช้อปช่วยชาติตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

– ค่าซ่อมบ้านน้ำท่วมตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (เฉพาะค่าซ่อมบ้านระหว่าง 1 ธ.ค. 2559 ถึง 31 พ.ค. 2560 หรือระหว่าง 5 ก.ค. 2560 ถึง 31 ธ.ค. 2560)

– ค่าซ่อมรถน้ำท่วมตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท (เฉพาะค่าซ่อมรถระหว่าง 1 ธ.ค. 2559 ถึง 31 พ.ค. 2560 หรือระหว่าง 5 ก.ค. 2560 ถึง 31 ธ.ค. 2560)

–  เงินบริจาคน้ำท่วม 2560 จำนวน 1.5 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

– เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

– เงินบริจาคทั่วไปตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook