'ช่องว่างทางรายได้' ระหว่างเพศชายและเพศหญิงต้องใช้เวลา 217 ปี ถึงจะเท่าเทียมกัน

'ช่องว่างทางรายได้' ระหว่างเพศชายและเพศหญิงต้องใช้เวลา 217 ปี ถึงจะเท่าเทียมกัน

'ช่องว่างทางรายได้' ระหว่างเพศชายและเพศหญิงต้องใช้เวลา 217 ปี ถึงจะเท่าเทียมกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายงานของ World Economic Forum (WEF) ระบุว่า เพศหญิงอาจต้องใช้เวลานานถึง 217 ปี กว่าที่ความเท่าเทียมด้านการจ่ายเงินค่าแรงระหว่างเพศชายและเพศหญิงในที่ทำงานจะหมดไป

ทั้งนี้ตัวเลข 217 ปี ที่ World Economic Forum นำเสนอนั้นเป็นตัวเลขที่มากกว่าการศึกษาเมื่อปีที่แล้ว ที่มีการเปิดเผยว่า จะต้องใช้เวลา 170 ปีความเท่าเทียมจะมาถึงจุดที่สมดุลกัน

อย่างไรก็ดี หากมีการเพิ่มตัวแปรด้านหลักประกันสุขภาพ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง ช่องว่างระหว่างรายได้ของเพศชายและเพศหญิงจะอยู่ที่ 100 ปี ซึ่งตัวเลขนี้ก็ยังเป็นตัวเลขที่มากกว่าการรายงานเมื่อปีก่อนที่ 83 ปี

Saadia Zahidi ตัวแทนของ World Economic Forum ยอมรับว่า นับตั้งแต่มีการรายงานช่องว่างทางรายได้ระหว่างเพศชายและเพศหญิงครั้งแรกเมื่อปี 2006 พบว่า ตัวเลขในปี 2017 กลับมีช่องว่างที่ขยายตัวถ่างออกไปมากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมุ่งเน้นแก้ปัญหากันต่อไป

สำหรับประเทศที่มีช่องว่างด้านการจ่ายเงินระหว่างเพศชายและเพศหญิงน้อยที่สุด ได้แก่ ประเทศไอซ์แลนด์ ตามมาด้วยนอร์เวย์ และฟินแลนด์ อันดับสี่เป็นรวันดา และอันดับห้าคือสวีเดน ทางด้านประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 75 จากจำนวนผลสำรวจทั้งหมด 144 ประเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook