มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! ถูกเลิกจ้าง ลาออก ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมอย่างไร

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! ถูกเลิกจ้าง ลาออก ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมอย่างไร

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ! ถูกเลิกจ้าง ลาออก ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดหลักเกณฑ์เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ การรับเงินชดเชยจากกองทุนประกันสังคม ของมนุษย์เงินเดือน กรณีถูกออกจากงาน พร้อมขั้นตอน วิธีการของรับสิทธิดังกล่าว แบบนำไปใช้ได้จริง

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ความไม่แน่นอนของชีวิตการทำงานโดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำงานมีค่อนข้างสูง บางครั้งภาวะเศรษฐกิจอาจไม่เป็นใจ หรือ มีการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย อาจทำให้มีการปลดหรือลดจำนวนพนักงานลงได้ หรือ แม้กระทั้ง มีเหตุจำเป็นต้องลาออกจากงาน ซึ่งหาก ท่านได้เป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม รู้หรือไม่ว่า มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุนประกันสังคมด้วย

วันนี้เราเอา หลักเกณฑ์เงื่อนไขของการเกิดสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย และ วิธีการขั้นตอนต่างๆ สำหรับขอเงินชดเชยมาฝากกัน ทุกท่านสามารถนำไปขอรับเงินชดเชยตามกรณีได้นะครับ

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย

ทั้งนี้ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมในบางอย่าง เช่น


มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง


อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานได้ เช่น
- ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
- ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
- ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39


สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน


กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท


เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)


ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
4. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
5. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)

***ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ http://www.sso.go.th***

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook