การบริหารจิตใจในการลงทุน

การบริหารจิตใจในการลงทุน

การบริหารจิตใจในการลงทุน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อตอนที่แล้ว นิได้เล่าไปแล้วว่าในตลาดหุ้นจะมีหุ้นอยู่ 3 ประเภทคือหุ้นลงทุน หุ้นเก็งกำไร และหุ้นปั่น (ซึ่งเท่ากับเป็นการพนัน) ซึ่งเราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Mindset ของทั้ง 3 แบบ เพื่อเลือกกลยุทธ์ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ทว่าในความเป็นจริง นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้ตัวว่าตัวเองเป็นนักลงทุนแบบไหน ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ล้มเหลวจากการลงทุน การเรียนรู้ตัวเอง และทำความรู้จักกับตัวเอง จะทำให้การลงทุนเป็นไปตามเหตุผลมากกว่าอารมณ์

แล้วเจ้าอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น อารมณ์โลภ โกรธ หลง กลัว ผิดหวัง เสียใจ ใจร้อน วู่วาม งมงาย ฟุ้งซ่าน และกังวลใจ เป็นต้น

600x600px_240717

เคยบ้างมั้ยคะ ที่เรามีปากเสียง และระเบิดอารมณ์ใส่คนที่เรารัก แล้วเราก็มารู้สึกผิด รู้สึกเสียใจที่ไม่น่าทำเช่นนั้นออกไปเลย เห็นด้วยมั้ยคะว่า การใช้อารมณ์ในด้านลบมักทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเสมอ

แล้วเราลองมาจินตนาการดูว่า หากเราใช้อารมณ์ในการลงทุน มันจะส่งผลลบต่อการลงทุนของเราขนาดไหน ดังนั้นทักษะในการบริหารจิตใจตัวเองจึงเป็นทักษะที่สำคัญไม่แพ้ทักษะในการลงทุนเลยค่ะ

เชื่อหรือไม่ว่ากูรูการลงทุนหลายคนยกให้เรื่อง "การบริหารอารมณ์ตัวเอง" เป็นเรื่องใหญ่มากที่นักลงทุนต้องเรียนและฝึกฝนกันอย่างจริงจัง ห้ามเป็น Emotional Investor หรือนักลงทุนที่ใช้แต่อารมณ์ในการลงทุนเด็ดขาด ซึ่งคุณสมบัติของนักลงทุนที่ดี ต้องเป็นคนที่มีอารมณ์หนักแน่นมั่นคง นักลงทุนที่ดีจะไม่ใช้อารมณ์ในการลงทุน ไม่ว่าตลาดจะผันผวนขนาดไหน พวกเขาจะคงความสงบ มีเหตุผล สติมั่นคง มีกลยุทธ์และคำนวณอย่างดี

เราจะยังสามารถคงสติในการลงทุนได้ ก็ต่อเมื่อเรามีเป้าหมายและกลยุทธ์ในการลงทุนที่ชัดเจน และเชื่อมั่นในแนวทางของเราค่ะ หากเราลงทุนแบบไร้จุดหมาย เชื่อเขาเล่าว่า หรือไม่มีความรู้ในสิ่งที่ตัวเองลงทุนอย่างถ่องแท้ เราก็ไม่ต่างจากนักพนัน ซึ่งเมื่อเกิดความผันผวนขึ้นมา อารมณ์ด้านลบต่างๆ ก็จะมาแบบจัดเต็มอย่างแน่นอน

แต่ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่บอกว่า มีเป้าหมายการลงทุนก็แล้ว มีกลยุทธ์การลงทุนก็แล้ว ก็ยังมีอารมณ์ในการลงทุนอยู่ดี คำแนะนำคือ การใช้ระบบการลงทุนเข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งหนึ่งในระบบการลงทุนที่ดีและง่ายมากระบบหนึ่งก็คือ การทำ Dollar Cost Averaging หรือ DCA ซึ่งเจ้า DCA คืออะไร และทำไมต้อง DCA โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวางแผนการเงิน สามารถส่ง email มาได้ที่ nipapuntalk@hotmail.com แล้วพบกันในตอนต่อไปค่ะ

ผู้เขียน โค้ชนิ นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® เจ้าของผลงาน pocket book ‘เปลี่ยนชีวิตสู่ความมั่งคั่งด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘มีเงินล้านด้วยการวางแผนการเงิน’ ‘อยากรวยต้องรู้จักวางแผนการเงิน’ และ ‘รวยทะลุเป้า

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook